ทั่วไป

ทวงคืนตั๋วรายเดือนจาก BTS คนกรุงเทพต้องจ่ายค่าเดินทางแพง

The Story Thailand
อัพเดต 21 ต.ค. 2564 เวลา 00.00 น. • เผยแพร่ 21 ต.ค. 2564 เวลา 00.00 น.

เมื่อช่วงสิ้นเดือนกันยายน บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี ประกาศหยุดขายโปรโมชั่นเที่ยวเดินทาง 30 วันทุกประเภท (ตั๋วรายเดือน) โดย BTS ให้เหตุผลในการยกเลิกโปรโมชั่นนี้ว่า จากสถานการณ์โควิด-19 แพร่ระบาด ทำให้พฤติกรรมการเดินทางของผู้โดยสารมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ผู้โดยสารไม่สามารถวางแผนการเดินทางล่วงหน้าได้นาน และโปรโมชั่นตั๋วเที่ยวเดินทางไม่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้ดังเดิม ส่งผลให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าก็เพิ่มขึ้น

ที่ผ่านมาอาจจะมีจำนวนผู้โดยสารลดลง เพราะรัฐบาลมีนโยบายการทำจากบ้าน (Work from Home) รวมทั้งการจำกัดเวลาการอยู่นอกบ้าน แต่สถานการณ์โดยรวมดีขึ้น จากการผ่อนปรน และเปิดประเทศ ซึ่งขณะนี้หลายองค์กรมีการประกาศให้พนักงานกลับมาทำงานที่ออฟฟิศ และเชื่อว่าเดือนพฤศจิกายนนนี้ จะมีการใหเพนักงานกลับมาทำงานเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งสถานศึกษาเปิดให้นักศึกษาเข้ามาในมหาวิทยาลัย  ดังนั้นจะทำให้การเดินทางเพิ่มมากขึ้น การยกเลิกตั๋วรายเดือนจึงส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ก่อนหน้านี้ อัตราค่าโดยสาย แบบโปรโมชั่นเที่ยวเดินทาง 30 วัน  สามารถเลือกได้ 4 แบบ คือ 

จำนวน 15 เที่ยว ราคา 465 บาท เฉลี่ย 31 บาท/เที่ยว 

จำนวน  25 เที่ยว  ราคา 725 บาท เฉลี่ย 29 บาท/เที่ยว 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

จำนวน 40 เที่ยว ราคา  1,080 บาท เฉลี่ย 27 บาท/เที่ยว 

จำนวน 50 เที่ยว ราคา 1,300 บาท เฉลี่ย 26 บาท/เที่ยว

*ไม่รวมส่วนต่อขยายที่ต้องจ่ายเพิ่ม  

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ประหยัดกว่าการ การคิดราคาแบบ สถานีแรก ราคา 16 บาท  สถานีที่ 2 ราคา 23 บาท  สถานีที่ 3 ราคา 26 บาท สถานีที่ 4 ราคา 30 บาท สถานีที่ 5 ราคา 33 บาท   สถานีที่ 6 ราคา 37 บาท  สถานีที่ 7 ราคา  40 บาทสถานีที่ 8 ขึ้นไป ราคา 44 บาท  และจ่ายส่วนต่อขยายเพิ่มอีก

ดร.สุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัย นโยบายด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ และ ภัทราภรณ์ วัฒนผดุงศักดิ์ นักวิจัย นโยบายด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เผยว่าตั๋วรายเดือนของ  BTS นั้นช่วยลดเวลาในการต่อคิวแลกบัตรโดยสารเที่ยวเดียวหน้าสถานี เป็นการลดต้นทุนการบริหารจัดการความแออัดหน้าสถานี และเพิ่มแรงจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น จากราคาค่าโดยสารเฉลี่ยที่ถูกลงอยู่ที่ 26 บาทต่อเที่ยวเมื่อใช้ตั๋วรายเดือน แต่เมื่อรัฐบาลใช้มาตรการควบคุมโรคระบาดที่เข้มงวดส่งผลให้ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ ส่งผลให้รายได้จากค่าโดยสารลดลงถึงร้อยละ 45.5 ทำให้ BTS ต้องประกาศยกเลิกตั๋วโดยสารรายเดือน เพื่อเพิ่มรายได้เฉลี่ยต่อเที่ยวของการเดินรถ ส่งผลให้ภาระค่าโดยสารที่สูงขึ้นต้องตกมาที่ผู้ใช้บริการ  ดังนั้นรัฐบาลจึงควรพิจารณาให้งบประมาณเพื่อเยียวยา ผู้ประกอบการเอกชนจะได้สามารถดำเนินธุรกิจต่อได้โดยไม่ผลักภาระเป็นการขึ้นค่าโดยสาร หรือลดการให้บริการซึ่งทำให้ผู้ใช้บริการได้รับความเดือดร้อน 

ขณะที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) ร่วมกับศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้เคยสำรวจความคิดเห็น เรื่อง การใช้บริการขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร จากกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,200 ตัวอย่าง  

ผลการสำรวจในครั้งนั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ เผยว่า บริการขนส่งมวลชนที่สามารถเลือกได้มากที่สุด อันดับแรก คือ รถโดยสารประจำทาง ขสมก. (รถเมล์) 84% อันดับที่ 2 คือ รถจักรยานยนต์รับจ้าง 72.7% อันดับที่ 3 คือ รถไฟฟ้า 51.7% อันดับที่ 4 คือ รถเมล์เอกชนร่วมบริการ  48.4% อันดับที่ 5 คือ รถสองแถว  44.7% และอันดับสุดท้ายคือ เรือโดยสาร 33.5% 

โดยในชีวิตประจำวันของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้บริการขนส่งมวลชนประเภท รถโดยสารประจำทาง ขสมก. (รถเมล์) มากที่สุด 68% อันดับที่ 2 คือ รถไฟฟ้า 45.5%  อันดับที่ 3 คือ รถจักรยานยนต์รับจ้าง 42.6% อันดับที่ 4 คือ รถเมล์เอกชนร่วมบริการ  30% อันดับที่ 5 คือ เรือโดยสาร 28.2% และอันดับสุดท้ายคือ รถสองแถว 23%

สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ใบริการรถไฟฟ้า ระบุข้อมูลจากการสำรวจว่า

47.1%  เห็นว่าราคาค่าโดยสารขนส่งมวลชนทุกระบบรวมกัน ต้องไม่เกิน 10% ของค่าแรงขั้นต่ำ (กรุงเทพมหานคร) หรือ 33 บาท  

43.1% อยากได้ความสะดวกในการเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าและเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนมวลชนได้ติดขัด

41.6% อยากให้การเชื่อมต่อรถไฟฟ้าทุกสายเพื่อลดค่าแรกเข้าเหลือครั้งเดียว (ขึ้นหลายสายก็จ่ายครั้งเดียว)

39.4% ควรออกแบบพื้นที่เพื่อรองรับการเข้าถึงรถไฟฟ้าของกลุ่มผู้พิการ

38.9% ต้องการให้รถไฟฟ้า เป็นบริการขนส่งมวลชนที่รัฐต้องดำเนินการเพื่อประชาชน

ทั้งนี้ 73.5% ได้รับผลกระทบจากการใช้บริการจนส่งมวลชนในสถานการณ์โควิด – 19 

เท่ากับว่า มีประชาชนกลุ่มตัวอย่าง 45.5% ที่ใช้บริการรถไฟฟ้า จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายการเดินทางแพงขึ้น

นายคงศักดิ์ ชื่นไกรลาศ ผู้ประสานงานโครงการขนส่งมวลชน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า การยกเลิกตั๋วรายเดือนของบีทีเอสจึงเข้าข่ายเป็นการสร้างวิกฤตใหม่ซ้ำเติมค่าครองชีพ และผลักภาระให้กับประชาชนจำนวนมากอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องเข้ามากำกับการประกอบธุรกิจขนส่งสาธารณะที่ควรต้องเป็นบริการพื้นฐานด้านขนส่งมวลชนที่รัฐต้องจัดให้กับประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม

สถานการณ์โดยรวมในกรุงเทพมหานครเริ่มคลี่คลายในทางที่ดีขึ้น ดังนั้นหลายองค์กร รวมทั้งผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า BTS มีการเรียกร้องให้ บีทีเอส นำตั๋วรายเดือนกลับมาใชบริการอีกครั้งเป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของประชาชน ในฐานะที่ รถไฟฟ้าเป็นบริการขนส่งสาธารณะอย่างหนึ่ง

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 40
  • تⓋⓉت
    โหดมาก สถานีเดียว 15 บาท
    21 ต.ค. 2564 เวลา 23.02 น.
  • Kirk Hammett
    เอาเปรียบผู้ใช้บริการตลอด
    21 ต.ค. 2564 เวลา 06.19 น.
  • James
    คำสั่งของรัฐทำเอกชนขาดทุนกำไรจึงผบักภาระให้ผู้บริโภค ทั้งรัฐและเอกชนมันรวมหัวกันรึป่าว!!!???
    21 ต.ค. 2564 เวลา 06.16 น.
  • ระบบทุนนิยมรัฐบาลเสร็จนายทุนใหญ่หมด กำไรสุทธิเท่านั้นเอง ที่จีนค่ารถไฟฟ้าความเร็วสูงราคาถูกเกษตรกรขึ้นได้ นำอาหารไปกินในนั้นได้นะ กรุงเทพมหานครคนรวยเท่านั้นที่จะอยู่รอด ค่ารถเมล์บางสายทั้งขสมก.บริษัทสมาร์ทบัสจำกัดและบริษัทไทยสมายล์บัสจำกัดราคา15-20-25บาทแล้วขึ้นป้ายใกล้ราคาใกล้เคียงกับราคารถไฟฟ้ามาก รถขสมก.รถครีมแดงราคาถูกมีไม่กี่สายนะ ยิ่งรถเมล์ผูกขาดสัมปทานนายทุนใหญ่แต่รัฐบาลว่าไม่ผูกขาดกรรมของคนจน/คนระดับกลาง ถ้าคนรวยไม่ลำบากนะไม่ว่ารถเมล์/รถไฟฟ้า
    21 ต.ค. 2564 เวลา 05.48 น.
  • Boss
    รัฐน่าจะเข้ามาควบคุมตั้งนานแล้ว ดันไปเซ็นต่อสัมปทานให้เอกชนกำไข่ไปซะงั้น
    21 ต.ค. 2564 เวลา 04.24 น.
ดูทั้งหมด