ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ราคาหมูยังอยู่ 200 บาทต่อกิโลกรัม หลังจุรินทร์สั่งเบรกส่งออก

ประชาชาติธุรกิจ
อัพเดต 05 ส.ค. 2565 เวลา 03.14 น. • เผยแพร่ 06 ม.ค. 2565 เวลา 05.28 น.

1 วันหลังจุรินทร์สั่งเบรกส่งออก ราคาจำหน่ายหมูยังสูง กิโลกรัมละ 200 บาทต่อกิโลกรัม แถมชิ้นส่วนหมูหลายรายการปรับขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า 5-20 บาทต่อกิโลกรัม ด้านสมาคมผู้เลี้ยงกระทุ้งรัฐเร่งหาวัคซีน-ตั้งกองทุนฟื้นฟูเกษตรกร

วันที่ 6 มกราคม 2565 ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” สำรวจการจำหน่ายเนื้อหมูในวันนี้ (6 ม.ค.) หรือ 1 วัน หลังจากที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานประชุมคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ครั้งที่ 1/2565 ไปเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2564 มีมติห้ามส่งออกสุกรมีชีวิตเป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม 2564 ถึง วันที่ 5 เมษายน 2565 เป็นการชั่วคราว เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณหมูกลับสู่ตลาดในประเทศ 1 ล้านตัน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

และสั่งการให้ผู้เลี้ยงที่มีปริมาณการเลี้ยงเกิน 500 ตัว ผู้ค้าส่งที่มีปริมาณเกิน 500 ตัว ห้องเย็นที่มีการเก็บสต๊อกเกิน 5,000 กิโลกรัมขึ้นไป แจ้งสต๊อกให้กรมการค้าภายในรับทราบรวมทั้งแจ้งราคา ทุก 7 วัน ซึ่งเริ่มวันที่ 10 ม.ค. 65 เป็นต้นไป เพื่อให้ทราบปริมาณหมูเป็นทั้งหมดที่อยู่ในระบบ รวมทั้งหมูแช่แข็ง แช่เย็น รวมกันทั้งประเทศว่ามีจำนวนเท่าไหร่ เพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาร่วมกันกับกรมปศุสัตว์และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป

ปรากฏว่าราคาจำหน่ายเนื้อหมูในห้างโมเดิร์นเทรด และตลาดในพื้นที่กรุงเทพและนนทบุรี ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ปรับราคาจำหน่าย ทะลุกิโลกรัมละ 230 บาทไปแล้วนั้น ล่าสุดยังอยู่ในระดับกิโลกรัมละ 200 บาท

ขณะที่ชิ้นส่วนต่าง ๆ ปรับสูงขึ้น เช่น เนื้อหัวไหล่ เนื้อสะโพก ราคา กิโลกรัม ละ 175 บาท สูงกว่าการสำรวจเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2565 ที่จำหน่ายราคา กิโลกรัมละ 160 บาท

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เนื้อหมูบด จำหน่ายกิโลกรัมละ 189 บาท ก็ยังสูงกว่าก่อนหน้านี้ราคา 185 บาท ส่วนสันนอก กิโลกรัมละ 220 บาทสูงกว่าก่อนหน้านี้ ที่จำหน่าย กิโลกรัมละ 199 บาทเนื้อหมูสามชั้น กิโลกรัมละ 250 บาท จากก่อนหน้านี้ กิโลกรัมละ 222 บาท

นายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า มาตรการห้ามส่งออกถือว่าเป็นมาตรการที่มาช่วยด้านจิตวิทยา แต่หากเปรียบเทียบแล้วการส่งออกเฉลี่ยคิดเป็นจำนวนหมูเพียง 32,000 ตัวต่อวัน ซึ่งไม่มากเมื่อเทียบกับการบริโภคที่มีปริมาณ 40,000 ตัวต่อวัน

ดังนั้น ภาครัฐควรเร่งจัดหาวัคซีนเพื่อแก้ปัญหาการระบาด และจัดตั้งกองทุนเพื่อฟื้นฟูเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร เพราะมาตรการเงินกู้ของ ธกส.ที่ออกมาให้วงเงิน 1 แสนบาทเทียบเป็นต้นทุนหมูตัวละ 1 หมื่นบาท ถือว่าจะฟื้นฟูน้อยมาก

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 26
  • เบลดีแต่เเท็ก
    เป็นการช่วยเหลือทั้งผู้ประกอบการร้านอาหารและผู้บริโภค
    06 ม.ค. 2565 เวลา 14.55 น.
  • เฮียเอ็มเมืองนน
    ขอบคุณรินทร์แก้ปัญหาให้ผู้บริโภคทันควัน
    06 ม.ค. 2565 เวลา 14.53 น.
  • 🎵San🎼
    เชื่อมั่นว่าคุณจุรินทร์จะแก้ปัญหานี้ได้
    06 ม.ค. 2565 เวลา 14.25 น.
  • เป็นกำลังใจให้คุณจุรินทร์ในการทำงาน
    06 ม.ค. 2565 เวลา 10.45 น.
  • แก้มป่องน้องชบา
    เชื่อว่าพี่อู๊ดด้าและพานิชย์ช่วยแก่ปัญหาให้กับปชช.ได้
    06 ม.ค. 2565 เวลา 10.41 น.
ดูทั้งหมด