ไลฟ์สไตล์

'ข่าวโคมลอย' เรื่องราวครั้งอดีต จุดเริ่มต้นของ 'เฟกนิวส์' : เสาร์นี้ในอดีต

LINE TODAY ORIGINAL
เผยแพร่ 19 พ.ย. 2564 เวลา 17.00 น. • O.J.

ลมหนาวเริ่มพัดผ่านมาปะทะกายช่วงใกล้สิ้นปี หลายคนเลือกเดินทางขึ้นเหนือ เพื่อสัมผัสอากาศที่เย็นสบาย แม้จะเป็นห้วงเวลาสั้น ๆ แต่ก็เป็นความรู้สึกที่อบอุ่นหัวใจ เพราะได้ดื่มด่ำธรรมชาติ สูดอากาศที่ปลอดโปร่งไร้มลพิษ ชมหมอกยามเช้า ปล่อยโคมลอยยามค่ำคืน 

เมื่อพูดถึง 'โคมลอย' ในเรื่องของความเชื่อนั้น ลอยเพื่อปล่อยเคราะห์กรรม ความชั่วร้าย หรือสิ่งเลวร้ายต่าง ๆ ให้ลอยออกไปจากชีวิต แต่ในยุคปัจจุบันเริ่มรณรงค์การหยุดปล่อยโคมอย่างจริงจัง เนื่องจากเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมทางอากาศแล้ว ยังสร้างความหายนะให้กับผู้ที่จู่ ๆ ก็ต้องสูญเสียทรัพย์สินหลังจากหาไม่ได้จากน้ำพักน้ำแรง 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ทว่าครั้งหนึ่ง 'โคมลอย' ก็ได้สร้างคำในฐานของมีความหมายเชิงเปรียบเทียบนั้นคือ 'ข่าวโคมลอย'

'ข่าวโคมลอย' หรือในปัจจุบันที่เราคุ้นชินตามโลกออนไลน์กับคำว่า 'เฟกนิวส์' ซึ่งทั้งคู่มีความหมายเดียวกันคือข่าวสารที่มีการแชร์ในสังคมทั้งในรูปแบบข้อความ การบอกเล่า การรับสารที่ไม่ได้กรอง แต่มีกระจายไปยังกลุ่มคนจำนวนมาก ไม่ว่าจะผ่านมากี่ยุคเฟกนิวส์ก็สามารถทำให้คนหลงเชื่อได้เสมอ 

เสาร์นี้ในอดีต : จึงพาไปรู้จักความหมายของ 'ข่าวโคมลอย' จุดเริ่มต้นเฟกนิวส์ในอดีต ถึงปัจจุบันจะมีการถกเถียงความเป็นมาว่าแท้จริงมาจากจุดใด 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ต้องย้อนไปครั้งสมัยรัชกาลที่ 4 แต่เมื่อนึกถึงโคมลอย คิดว่าเรื่องราวจะเกิดขึ้นทางภาคเหนือ แต่ผิดคาด เพราะเกิดขึ้นนั้นอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี ครั้งที่เขาวังหรือพระนครคีรีอยู่ในระหว่างการดำเนินงานสร้างจนใกล้เสร็จ จู่ ๆ มีข่าวลือไปถึงพระนครความว่า 

"มีโคมลอยของชาวบ้านลอยไปตกลงที่เขาวัง จนเกิดเพลิงไหม้จนวอดไปทั้งเขา เมื่อทางพระนครทราบข่าวถึงได้ส่งคนมาดูจุดเกิดเหตุ แต่แล้วก็ไม่เกิดเพลิงหรือข่าวร้ายแต่อย่างใด "

นอกจากนี้ยังมีอีกข้อสันนิษฐานของคำว่าข่าวโคมลอย โดยคาดว่าไม่ได้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงหรือเพลิงไหม้ แต่เกิดขึ้นในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 จากหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษฉบับหนึ่งชื่อพันช์ ซึ่งมีเนื้อหาที่ขบขัน แต่หน้าแรกของหนังสือมีรูปโคมซึ่งลอยอยู่ คนไทยเห็นว่าหนังสือกับเนื้อหาไม่มีอะไรที่้เข้ากัน ดังนั้นเวลาที่ใครพูดอะไรที่ไม่เข้ากับเรื่อง ก็มักเรียกว่า โคมลอย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ซึ่งข้อสันนิษฐานที่หยิบยกมานั้นก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกัน ถึงปัจจุบันตามสื่อต่าง ๆ อาจจะใช้คำว่าข่าวโคมลอยลดน้อยลง ซึ่งส่วนใหญ่มักใช้คำว่าเฟกนิวส์เป็นหลักตามบริบทของสังคม เข้าใจได้ง่ายขึ้นกระชับรวดเร็วตามยุคสมัย 

ดังนั้นไม่ว่าจะได้รับข่าวสารเรื่องใดมาก็ต้องมั่นเช็กให้ชัวร์ อย่าตกเป็นเหยื่อของผู้ที่ไม่หวังดี ฟังหูไว้หู ซึ่งขณะนี้เราก็ก้าวเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 สามารถเข้าถึงข่าวสารได้อย่างรวดเร็วก็จริง แต่ในบางครั้งก็ไม่ได้กลั่นกรองจนตกเป็นคนปล่อยข่าวโคมลอยเอง

ทั้งนี้การเผยแพร่ข่าวปลอมนั้น มีความผิดเกี่ยวกับการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

'ความจริงมีเพียงหนึ่งเดียว วลีคุ้นหูที่ได้ยินมาตั้งแต่เยาว์วัย จะเอามาใช้ในปัจจุบันก็ไม่สาย ดีกว่าตกเป็นเหยื่อข่าวโคมลอยอย่างไม่รู้ตัว'

อ้างอิง

minimore

สํานวนไทย

antifakenewscenter

library.parliament

ความเห็น 4
  • KruVit
    ปล่อยกันง่าย ตามอารมณ์และเจตนา ทุกสาระทุกด้าน แต่ที่มากคือ เศรษฐกิจ การเมือง เรื่องโลกีย์และข่าวดารา...
    20 พ.ย. 2564 เวลา 00.11 น.
  • J
    สมัยนี้ให้เรียกว่าข่าวสามกีบ
    22 พ.ย. 2564 เวลา 07.34 น.
  • Kosol Sittipinyo
    ไม่ค่อยเหมือนกันนะครับ ข่าวโคมลอย ก็คือข่าวที่เชื่อถือไม่ได้ ไม่มีหลักฐานยืนยัน เฟกนิวส์ เป็นข่าวที่เจตนาสร้างขึ้นเพื่อบิดเบือนให้เกิดความวุ่นวาย
    26 พ.ย. 2564 เวลา 14.05 น.
  • อิสระ ธนะบรรณ์
    ไม่ได้สร้างสรรค์ใดๆเลยนะครับกับข่าวเท็จนี่มีแต่จะสร้างความสับสนวุ่นวายให้สังคมกันเปล่าๆ.. แต่ยังไงเสียความจริงมันก็ต้องปรากฎขึ้นมาสักวันน่ะครับ.. ทองแท้แม้มันจะถูกหลอมละลายด้วยไฟสักกี่องศากันยังไงมันก็คือทองครับ.. ชัดเจนครับทองมันก็คือทอง.
    20 พ.ย. 2564 เวลา 14.08 น.
ดูทั้งหมด