ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

'ซีพี-บางออกแอร์-แอร์เอเชีย'แข่งประมูลเมืองการบิน

ไทยโพสต์
อัพเดต 22 มี.ค. 2562 เวลา 00.57 น. • เผยแพร่ 22 มี.ค. 2562 เวลา 00.57 น. • ไทยโพสต์

 

22 มี.ค. 2562 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังจากเปิดยื่นซองประมูลโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก วงองิน 2.9 แสนล้านบาท ตั้งแต่เวลา 09.00 -15.00 น. โดยตลอดช่วงเช้าจนถึงเวลาประมาณ 13.30 น. มีเอกชนมายื่นซองแล้ว 3 กลุ่ม ได้แก่ .บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด เดินทางมายื่นซองในเวลา 12.30 น. จากนั้นเวลาประมาณ 13.00 น. บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC เดินทางมายื่นซองประมูล โดยตัวแทนเปิดเผยว่า ยังอยู่ระหว่างรอกลุ่มพันธมิตรที่จะมาร่วมยื่นซอง ซึ่งจะร่วมกันยื่นซองในนามของกลุ่มกิจการร่วมค้า BBS ประกอบด้วย บมจ.การบินกรุงเทพ (BA) บมจ.บีทีเอสกรุ๊ปโฮลดิ้ง (BTS) บมจ.ซิโนไทยเอ็นจิเนียนิ่ง (STEC)

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

อย่างไรก็ตามเมื่อเวลา 13.30 น. นายชายนิด อรรถญาณสกุล กรรมการบริษัท แกรนด์ แอสเสท โฮเทลส์ แอนด์ พรอพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยผู้รับมอบอำนาจจากเอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน) เจ้าของสายการบินไทยแอร์เอเชีย และ GMR Airport Limited จากอินเดียเดินทางมายื่นซองประมูลเป็นกลุ่มที่ 3 ทั้งนี้กองทัพเรือได้ปิดรับซองข้อเสนอภานในเวลา 15.00 น.และใน เวลา 16.00 น.เป็นต้นไปจะมีการเปิดซองคุณสมบัติ และประกาศรายชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติในวันดังกล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าก่อนหน้านี้เอกชนทั้งไทยและต่างประเทศซื้อซองเอกสารประกวดราคามากถึง 42 ราย แบ่งเป็นต่างชาติ 18 ราย และไทย 24 ราย สำหรับการลงทุนในโครงการดังกล่าวจะเป็นแบบ PPP โดยภาครัฐจะลงทุนในส่วนของงานโยธา รันเวย์ที่ 2 และหอบังคับการบินหลังที่ 2 ขณะที่เอกชนลงทุนส่วนสำคัญ คือ อาคารผู้โดยสารแห่งที่ 3 ศูนย์การขนส่งภาคพื้นดิน (Ground Transportation Centre: GTC) เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการจราจรสำหรับการให้บริการขนส่งสาธารณะไปสู่สนามบิน ศูนย์ธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศและโลจิสติกส์ (Cargo Complex) พื้นที่เขตประกอบการค้าเสรีและเขตธุรกิจเกี่ยวเนื่องในสนามบินอู่ตะเภา (Cargo Village or Free Trade Zone: FTZ) ศูนย์ธุรกิจการค้า (Commercial Gateway) เป็นต้น โดยกำหนดระยะเวลาให้เอกชนดำเนินการและใช้ประโยชน์พื้นที่โครงการ 50 ปี

ดูข่าวต้นฉบับ