ไอที ธุรกิจ

หลักสำคัญการ เปิดร้านอาหารตามสั่ง ขายได้แค่ไหนถึงจะไม่เจ๊ง

เส้นทางเศรษฐี
อัพเดต 17 มิ.ย. 2564 เวลา 05.20 น. • เผยแพร่ 03 เม.ย. 2564 เวลา 09.57 น.
อาหารตามสั่ง

มีประโยชน์มาก! หลักสำคัญของการเปิดร้าน “อาหารตามสั่ง” ขายแค่ไหนถึงจะไม่เจ๊ง   

หลักสำคัญของคนจะเปิดร้าน “อาหารตามสั่ง” แล้วมีคนมาสั่งกินประจำไม่ว่าจะนั่งกินที่ร้าน หรือซื้อกลับบ้านมีอยู่ไม่กี่ข้อ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
  • ราคากับคุณภาพอาหารไปด้วยกันได้
  • หน้าตาน่ากิน กินแล้วอร่อย
  • ร้านอยู่ไม่ลึกลับเกินไป หาง่าย มีวิธีติดต่อง่าย อาศัยเบอร์โทร เบอร์ไลน์ ถึงร้านจะไปตั้งอยู่กลางซอยไกลหน่อย แต่ลูกค้าลองชิมแล้วติดใจก็จะสั่งอีก
  • บริการรวดเร็วทันใจ ทำอาหารเร็ว รวมทั้งส่งเร็วด้วย

เรื่องสำคัญมาก คนขายอาหารต้องรู้จักการควบคุมต้นทุน และตั้งราคาขายให้เหมาะสม

ส่วนต้นทุนของร้านอาหารนั้น มีอยู่สองอย่าง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

อย่างที่หนึ่ง คือ ต้นทุนที่ต้องจ่ายประจำ ภาษาการเงินเขาเรียก ต้นทุนคงที่ เช่น ค่าเช่าห้อง ค่าดอกเบี้ย ค่าแรงตัวเรา ค่าแรงพนักงาน  พ่อค้าแม่ค้า หลายคนไม่ยอมคิดเรื่องนี้ เอาแต่ทำขายไป กระเป๋าซ้ายเข้ากระเป๋าขวา ค่าแรงตัวเองก็ไม่คิด เพราะถือว่าขายได้เท่าไหร่เป็นของเราหมด

จริงๆ ตามหลักการควรจะคิด เพราะจะได้รู้ว่าไอ้ที่ขายๆ ไปทุกวันนั้นมันกำไรหรือไม่กำไร มีเงินเหลือเก็บบ้างหรือเปล่า แต่อย่างว่า สมัยนี้ ทำมาหากินอะไรก็ฝืดเคืองขึ้นเรื่อยๆ มีเงินเข้ากระเป๋าเอามาใช้จ่ายบ้างก็พอแล้ว ดีกว่าไม่มีเงินติดกระเป๋าเลย

เอาเถอะ ยังไงลองคิดดูไม่เสียหาย ได้-ไม่ได้ อีกเรื่องหนึ่ง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ลองดูตัวอย่าง ต้นทุนคงที่ร้านอาหารตามสั่ง “ลุงป๊อป”

ค่าเช่าร้านเดือนละ                                              3,000   บาท

ค่าแรงตัวเองเดือนละ                                          15,000 บาท

ค่าแรงพนักงาน 2 คน (เมียและลูก) เดือนละ          15,000 บาท

รวมค่าใช้จ่ายต้นทุนคงที่ต่อเดือน                          33,000 บาท

ต่อไปต้นทุน อย่างที่สอง เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามการขาย ขายน้อยจ่ายน้อย ขายมากจ่ายมาก ภาษาการเงินเรียก ต้นทุนผันแปร หรือ แปรผัน ตามใจพระเดชพระคุณ ส่วนใหญ่เป็นค่าวัตถุดิบ เช่น ข้าวผัดกะเพรา ต้นทุนจานละ 14 บาท ขาย 35 บาท ถ้าขายได้ 1 จาน ก็เสียค่าวัตถุดิบ 15 บาท ขายได้ 10 จาน ก็ต้องเสียค่าวัตถุดิบ 150 บาท นอกจากค่าวัตถุดิบที่เปลี่ยนตามการขายแล้ว ยังมีค่าแก๊ส ค่าน้ำ ไฟ ค่าซอสที่เรามักไม่ค่อยได้คิดรวมไปในต้นทุนวัตถุดิบ เพราะมันคิดยาก เล็กน้อย บางร้านให้ลูกค้ากินน้ำแข็ง น้ำเปล่าฟรี ก็ต้องใส่ต้นทุนไปตรงนี้

โดยทั่วไปต้นทุนผันแปรนี้จะอยู่ที่ประมาณ 40% ของราคาขาย อย่างผัดกะเพรา 35 บาท เป็นต้นทุนผันแปร 40% เท่ากับ 40/100 x 35 = 14 บาท แปลว่า เราอย่าใช้วัตถุดิบให้เกิน 12 บาท อีก 2 บาทเป็นค่าซอส ค่าแก๊ส น้ำไฟ หรือบวกไปอีก 10% ของต้นทุนวัตถุดิบ

ส่วนต้นทุนคงที่นั้น ก็คิดเป็นต้นทุนเฉลี่ยไปในอาหารแต่ละจานด้วย ตกประมาณ 30% ของราคาขาย แจงให้เห็นง่ายๆ ได้ดังนี้

ผัดกะเพรา 1 จาน ขายได้                        =                      35                    บาท

ต้นทุนวัตถุดิบ 40% ของราคาขาย             =                      40/100 x 35      บาท

=                      14                    บาท

ต้นทุนคงที่ 30% ของราคาขาย                 =                      30/100 x 35      บาท

=                      10.50               บาท

รวมสองต้นทุนเป็นเงิน                             =                      14 + 10.50       บาท

=                      24.50               บาท

คงเหลือกำไรสุทธิ 30% ของราคาขาย         =                      30/100 x 35      บาท

=                      10.50               บาท

(หรือ 35-24.50                          =                      10.50               บาท)

 

ขายผัดซีอิ๊ว 35 บาท ได้กำไรจริงๆ 10.50 บาท ขายได้ 10 จาน ก็ได้กำไร 105 บาท

เพราะฉะนั้น ถ้ามีต้นทุนคงที่ต่อเดือน 33,000 บาท เราต้องขายผัดกะเพราสักกี่จานใน 1 เดือน ถึงจะพออยู่ได้

ต้นทุนคงที่ต่อเดือน 30% ของราคาขาย     =                      33,000             บาท

ต้นทุนผันแปร 40% ของราคาขาย             =                      33,000/30 x 40 บาท

=                      44,000             บาท

กำไรสุทธิ 30% ของราคาขาย                   =                      33,000/30 x 30 บาท

=                      33,000             บาท

รวมเป็นยอดขายที่ควรได้ต่อเดือน              =                      33,000 + 44,000 + 33,000

=                      110,000                       บาท

ผัดกะเพราจานละ                                   =                      35                    บาท

ต้องขายผัดกะเพราทั้งหมด                      =                      110,000/35      จาน

=                      3,143               จาน

หรือขายผัดกะเพราวันละ                         =                      3,143/30          จาน

=                      105                  จาน

ลองคิดดูครับ วันหนึ่งจะขายได้ 100 จานมั้ย ถ้าได้แค่ 50 จาน ก็ได้เงิน 50×35 = 1,750 บาท เดือนหนึ่ง 30 วัน ได้เงิน = 1,750 x 30 = 52,500 บาท เป็นต้นทุนผันแปร 40% = 21,000 บาท คงเหลือ 52,500 – 21,000 บาท = 31,500 บาท แต่มีต้นทุนคงที่ 33,000 บาท แปลว่าขาดทุน 1,500 บาทต่อเดือน ครับ

ว่ามาทั้งหมดนี้อ่านข้ามๆ ตัวเลขไปมั่ง เดี๋ยวหลับ เพียงแค่จะบอกว่าทำมาค้าขายอาหาร อย่าลืม คิดต้นทุน ทั้งค่าเช่า ค่าวัตถุดิบ ค่าแรง จิปาถะ

ร้านอาหารตามสั่ง ถึงจะอยู่รอดครับ

เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ.2563

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 23
  • หาญพล จิรภาสอารี
    ร้านป้ากับแม่ของผมเปิดตามสั่ง ก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บ ราดหน้า มาเกือบ 40 ปี ทุกวันนี้ ลูกค้ายังแน่นปึ๊กทั้งเก่าและใหม่ ปากต่อปาก ถูก จานละ 30 ให้เยอะ พูดเพราะมาก ตามใจลูกค้าตลอด ฝีมือ ok.
    25 ม.ค. 2563 เวลา 15.48 น.
  • suea
    การคิดต้นทุนแบบนี้ผมว่าใช้ได้กับทุกอาชีพครับ ขอบคุณครับ
    25 ม.ค. 2563 เวลา 19.38 น.
  • มีประโยชน์มีสาระ เป็นแนวทางการทำมาหากินได้ดีมาก
    25 ม.ค. 2563 เวลา 23.56 น.
  • โอ่ง
    ค่าเช่า3000คงยากขนาดเช่าแพงยังคิดเป็นเมตรตกเดือน6หันขึัน
    25 ม.ค. 2563 เวลา 20.33 น.
  • BabyBoss
    ขายกันแต่แพงๆเดี๋ยวนี้
    25 ม.ค. 2563 เวลา 15.41 น.
ดูทั้งหมด