ทั่วไป

สงครามแย่งน้ำและธนาคารน้ำใต้ดิน (3)

ไทยรัฐออนไลน์ - Social
อัพเดต 13 ธ.ค. 2562 เวลา 17.30 น. • เผยแพร่ 13 ธ.ค. 2562 เวลา 22.01 น.
ภาพไฮไลต์

อย่างที่เกริ่นไว้เมื่อตอนที่แล้วว่า หลักการ ธนาคารน้ำใต้ดิน หลักๆมี 2 รูปแบบครับ… คือ ระบบเปิด กับ ระบบปิด

ระบบเปิด เป็นระบบที่พยายามเก็บน้ำไว้ใต้ดิน ทะลุชั้นดินเหนียวถึงชั้นหินอุ้มน้ำที่ต่อเชื่อมกับชั้นน้ำบาดาล วิธีนี้จะเก็บน้ำได้ปริมาณมาก เพราะสามารถกระจายน้ำไปได้ทั่ว โดยไม่มีขีดจำกัด สามารถนำน้ำขึ้นมาใช้ได้จากบ่อกักเก็บและส่งน้ำหรือจากบ่อน้ำบาดาล เหมาะกับพื้นที่เกษตรกรรม เนื่องจากสามารถสูบน้ำจากบ่อมาใช้ได้โดยไม่หมด เมื่อปริมาณน้ำลดลง น้ำจากใต้ดินก็จะซึมซับกลับเข้ามาเติมเต็มปริมาณน้ำในบ่อให้มีน้ำอย่างสม่ำเสมอ มีเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำ แก้ปัญหาน้ำท่วมและน้ำเค็ม

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

วิธีการทำธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด คือ การขุดบ่อน้ำหรือสระน้ำให้ได้ความลึกทะลุผ่านชั้นดินเหนียวถึงชั้นหินอุ้มน้ำ เพื่อให้หินอุ้มน้ำสามารถดูดซับน้ำลงสู่ชั้นใต้ดิน

ขนาดของบ่อจะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และลักษณะการใช้ประโยชน์ของน้ำจากบ่อ ระดับความลึกของการขุดบ่อในแต่ละพื้นที่จะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสภาพดินและชั้นหิน ซึ่งโดยหลักการให้เป็นไปตามหลักอุทกธรณีวิทยา แต่ต้องขุดลึกให้ถึงชั้นหินอุ้มน้ำ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

จากการพูดคุยกับ เสธ.โบ พล.ท.อรรถพร โบสุวรรณ บอกว่า เงื่อนไขสำคัญของการทำธนาคารน้ำใต้ดินแบบเปิด ตามหลักการที่ หลวงพ่อสมาน สิริปัญโญ ประธานสถาบันน้ำนิเทศศาสนคุณ ท่านแนะนำก็คือ การขุดสระต้องให้มีความลาดชัน 45 องศา ปากบ่อกว้างกว่าก้นบ่อ จะช่วยให้น้ำในบ่อไหลลงสู่ก้นบ่อโดยมีแรงกดของมวลน้ำลงไปยังชั้นหินอุ้มน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยให้น้ำไหลซึมลงสู่หินอุ้มน้ำได้อย่างรวดเร็ว การขุดบ่อระบบเปิดนี้ไม่ควรปั้นดินรอบๆบ่อ เพราะจะกีดขวางทางน้ำที่จะไหลลงสู่บ่อ

โดยหลักการแล้ว การขุดบ่อระบบเปิดที่จะให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ต้องทำเป็นกลุ่มบ่ออย่างน้อย 3 บ่อ โดยแต่ละบ่อห่างกันประมาณ 1,000-1,500 เมตร บ่อเปิดของธนาคารน้ำใต้ดินจะมีหน้าที่เติมน้ำลงดินในระดับชั้นหินอุ้มน้ำเพื่อให้น้ำที่เติมลงไปสามารถเชื่อมประสานเสริมกันในระหว่างบ่อที่ขุดไว้ทั้ง 3 บ่อ เป็นการกระจายน้ำลงใต้ดินให้ทั่วถึงกัน

หลักการของการทำธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิดนี้ เสธ.โบ บอกว่าหลวงพ่อสมานท่านไปดูวิธีการทำตอนไปเป็นพระธรรมทูตที่เท็กซัส โดยเกิดจากความสงสัยว่า เท็กซัส ฝนไม่ตกถึง 2 ปี แล้วคนอยู่กันได้อย่างไร ก็พบว่า สหรัฐอเมริกาเก็บน้ำด้วยการทำธนาคารน้ำใต้ดิน จึงนำวิธีนี้กลับมาทำในเมืองไทยและถ่ายทอดองค์ความรู้นี้ให้กับคนที่สนใจจนแพร่หลายในปัจจุบัน…

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นายอรุณ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

- สงครามแย่งน้ำและธนาคารน้ำใต้ดิน (2)

- สงครามแย่งน้ำและธนาคารน้ำใต้ดิน (1)

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง

ตามข่าวก่อนใครได้ที่
- Website : www.thairath.co.th
- LINE Official : Thairath

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 2
  • Peace
    อย่าง เมือง Dallas Texas เขาก็ไม่มีแหล่งน้ำ ธรรมชาติ แต่ผู้นำเขามองไกล เขาสร้าง บึงใหญ่ๆ หลายแห่ง เก็บน้ำ และสางท่อ ส่งน้ำเชื่อมต่อกัน น้ำได้มาจากฝน แต่ยามแล้งเขามีกฏหมายห้ามนำ น้ำไปใช้อย่างอื่น ของไทยเรามองข้าม แม่น้ำลำคลองหนองบึง ตะกอนทับถม เก็บน้ำไม่ได้ แทนที่จะทุ่มลงมาขุดรอก กับเอาไปสร้างถนน มันสมควรหรือ อย่างมอเตอร์เวย์สายโคราช มันล่น ระยะยังไม่ถึง10กิโล รถก็ว่าง มันติดตอนเทศการ มันคิดได้แค่นั้ คือ corruption ง่ายๆน้ำสำคัญมันมองข้าม หมดเสียดายน้ำไหลทิ้ง
    13 ธ.ค. 2562 เวลา 22.48 น.
  • จัยมันรัก
    หน่วยงานราชการไม่เห็นสิ่งนี้ มีหน้าที่อยู่กินเงินเดือนแค่นั้น
    14 ธ.ค. 2562 เวลา 00.14 น.
ดูทั้งหมด