ไลฟ์สไตล์

เจเนอเรชั่นไร้อัลบั้มรูป - เฟื่องลดา

THINK TODAY
เผยแพร่ 21 พ.ย. 2562 เวลา 04.55 น. • เฟื่องลดา

ยังจำยุคที่เราใช้แผ่น Floppy Disk เก็บไฟล์กันได้ใช่ไหมคะ 

ทุกวันนี้คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ไม่รองรับ Floppy Disk อีกต่อไปแล้ว 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

และข้อมูลที่เราเก็บไว้ในนั้นก็สูญหายไป 

เหมือนกับที่รูปภาพใน Hi5 สลายหายไปพร้อมกับที่คนเลิกเล่น Hi5 ไปด้วย

.

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

.

ในวันที่เทคโนโลยีเปลี่ยนเร็วมาก 

จะเป็นยังไงถ้าวันหนึ่งข้างหน้า ชาวโซเชียลเลิกเล่น Facebook หรือ 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

รูปแบบไฟล์ในอนาคตไม่รองรับไฟล์ .jpg ที่เก็บใน USB อีกต่อไป

รูปที่เคยเซฟและอัพโหลดไว้จะสลายหายไปพร้อมกับความทรงจำที่งดงามหรือเปล่า 

.

.

Lost Memory

คนรุ่นเราถ่ายรูปกันเยอะขึ้น ถี่ขึ้น

แต่ให้ความสำคัญกับความทรงจำในรูปน้อยลง

เราเก็บรูปเป็น Digital Copy อยู่ทุกที่ ในมือถือ แท็บเล็ต โน้ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์ 

แต่เมื่อแชร์ลงไอจีสตอรี่หรือมีคนไลค์แล้วก็จบ ไฟล์รูปเหล่านั้นเริ่มหมดความหมาย 

บางคนลบรูปปีที่แล้วออกเมื่อเมมโมรี่เต็มเพื่อให้ถ่ายรูปได้มากขึ้น

 .

.

เมื่อเวลาผ่านไป เราแทบไม่มีโอกาสมานั่งเปิดดูรูปเก่าๆเหล่านั้นอีกเลย เพราะไฟล์รูปมีมหาศาลเหลือเกิน

พวกเรากำลังกลายเป็นคนเจเนอเรชั่นที่ Add New Album ในโซเชียลมีเดียมากที่สุด

แต่ไม่มีอัลบั้มรูปในแต่ละช่วงเวลาของชีวิตเก็บไว้ที่บ้าน

จริงหรือไม่ที่คนยุคเรานิยมถ่ายรูปเพื่อให้คนอื่นชื่นชมมากกว่าเก็บไว้ให้ตัวเองดู 

.

.

Freeze the Time 

ใครที่เคยนั่งดูอัลบั้มรูปตอนหนุ่มสาวของพ่อแม่

คงพอจะนึกออกว่าการเปิดอัลบั้มดูกับครอบครัวบนโซฟาที่บ้าน 

ให้ความรู้สึกต่างออกไปจากการเลื่อนฟีดเก่าๆดูรูปผ่านจออย่างสิ้นเชิง

.

.

ความสำคัญของรูป คือ การหยุดเวลาในห้วงขณะสำคัญที่อยากจดจำในชีวิต 

ตั้งแต่ตอนเป็นเด็กทารก วันแรกของโรงเรียน วันเรียนจบ วันเกิด แต่งงาน 

และรูปถ่ายที่เป็นกระดาษก็ทำหน้าที่หวนระลึกถึงคืนวันเหล่านั้นได้ดีกว่าไฟล์ดิจิตอล 

อัลบั้มรูปจึงเป็นสิ่งที่ทำให้ความทรงจำที่เราเก็บไว้ในวันวานคงอยู่กับเราในวันพรุ่งนี้ 

ดั่งคำกล่าวที่ว่า pictures are the present’s eyes in the past

.

.

ไม่ว่านาฬิกาจะหมุนเร็วเท่าไหร่ เทคโนโลยีจะไปไกลแค่ไหน

และเราจะเก็บรูปถ่ายไว้ในรูปแบบใดก็ตาม 

อย่าลืมว่าสิ่งสำคัญกว่ารูปที่ไม่ควรให้หล่นหายไปคือความทรงจำนะคะ

ที่มา

http://www.aleksandrawhiting.com/blog-1/2018/2/9/importance-of-family-photo-albums

https://www.theguardian.com/science/2018/nov/13/how-to-avoid-losing-your-memory-in-the-digital-age

About Me

Instagram: http://www.instagram.com/faunglada

Facebook: https://www.facebook.com/LDAWorld/

Youtube: https://www.youtube.com/ldaworld

Twitter: @faunglada

Website: www.ldaworld.com

ความเห็น 5
  • Yongyuth
    ผมก็ไม่รู้ว่าทำไมถึงไม่ค่อยจะจำอะไรได้ไม่ว่าจะเป็นชื่อของคนอาจจะเป็นเพราะได้ลบสัญญาหรือความจำได้หมายรู้นี่เองคือไม่ยึดถือความจำได้หมายรู้ เพราะในขันธ์ 5 ล้วนเป็นอนิจจังอนัตตาไร้ตัวไร้ตนมันแสดงอยู่ตลอดเวลาเพราะสัญญา เป็นเครื่องผูกไว้ให้อยู่ในโลก เป็นเหตุให้เกิดสังขารความคิดนึกปรุงแต่งให้จิตไม่ว่างจิตเดิมแท้คือจิตว่างคือต้องไม่มีสังขารมันก็คือต้องดับสัญญา อันเกิดจากเวทนาซึ่งเกิดแล้วก็ดับไป มันไม่ใช่ตัวตนมันคืออนัตตาผู้ใดดับเวทนาสัญญาได้ตามที่ว่าคือพระอรหันต์
    21 พ.ย. 2562 เวลา 11.22 น.
  • ความฝังใจย่อมทำให้อยู่ในความทรงจำได้นานที่สุด ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความทุกข์ หรือว่าจะเป็นในเรื่องของความสุขก็ตาม แต่ถ้าหากว่าเราได้ปล่อยวาง และยอมรับกับในความเป็นจริงแล้ว ก็ย่อมที่จะทำให้ก้าวเดินต่อไปในชีวิตอย่างมีความสุขเสมอ.
    21 พ.ย. 2562 เวลา 11.34 น.
  • N_Tansuwannarat
    "รูปที่ดีที่สุด ไม่ใช่รูปที่เล่าเพื่อคนอื่น แต่ต้องเป็นรูปที่เล่าเพื่อตัวเอง" สมัยก่อน ข้อเสียของกล้องคือ "มีจำนวนการกดถ่ายรูปตายตัวด้วยฟิลม์" นั่นแปลว่า ทุกครั้งที่เราจะถ่ายรูปหนึ่งความทรงจำ "เราแก้ไข ลบ และทำซ้ำไม่ได้" ถ้าฟิลม์กำหนดให้ถ่ายได้แค่ 30 รูป "นั่นจะเป็น 30 รูปที่ต้องตั้งใจถ่ายในชีวิต" สมัยนี้ เราอยู่ในยุคที่ไม่จำเป็นต้อง "อดทน" ถ่ายรูปได้เป็นร้อยเป็นพัน ถ่ายรูปผิดก็ถ่ายใหม่ได้ ซึ่งสุดท้าย เราอาจจะต้องตั้งคำถามว่า "ความตั้งใจที่มีต่อการถ่ายรูปเพื่อสร้างความทรงจำนั้นคืออะไร"
    21 พ.ย. 2562 เวลา 11.37 น.
  • Manisilaphat
    จริง. สิ่งที่เก็บความทรงจำได้คงทน และเป็นนิรันดร์มากสุด คือ กระดาษ (ถ้าไม่ตกน้ำ ไฟไหม้บ้าน มอด ปลวก กิน) ยังกลัวเลย ถ้าไม่สามารถอ่าน jpg ได้จะทำไงล่ะทีนี้
    21 พ.ย. 2562 เวลา 11.15 น.
  • Supot เต้
    เด็กๆ รุ่นใหม่ไม่คิดแบบนี้ครับ พวกเค้าจึงเป็นคนละรุ่นกับคนรุ่นเก่าอย่างแท้จริง
    21 พ.ย. 2562 เวลา 11.18 น.
ดูทั้งหมด