การเข้ารับการรักษาที่เร็วที่สุด ย่อมมีโอกาสในการหายเป็นปกติและเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาต่ำสุดด้วยเช่นกัน เป็นที่ทราบกันดีว่า การรักษาที่ล่าช้าไปทุกๆ 1 นาที เซลส์สมองจะตายไป 2 ล้านเซลส์ ส่งผลต่อชีวิตผู้ป่วยที่สั้นลง 2 วัน ดังนั้นคนไทยทุกคนจึงต้องรู้จักโรคอัมพาตเป็นอย่างดี1. โรคอัมพาต คือ โรคที่สมองสูญเสียหน้าที่อย่างเฉียบพลัน เนื่องจากหลอดเลือดสมองตีบ ตัน หรือแตกส่งผลให้เนื้อสมองขาดออกซิเจนและสูญเสียหน้าที่อย่างรวดเร็ว2. อาการผิดปกติทางระบบประสาทที่พบบ่อย คือ แขน ขาอ่อนแรงครึ่งซีก ปากเบี้ยว หลับตาไม่สนิท พูดไม่ชัด นึกคำพูดลำบาก พูดไม่ออก ปวดศีรษะรุนแรง ตามัว มองเห็นภาพไม่ชัดเจน วิงเวียนศีรษะ โดยอาการนั้นเกิดขึ้นในผู้มีปัจจัยเสี่ยง และเป็นขึ้นมาอย่างรวดเร็ว เฉียบพลัน3. ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคอัมพาต มี 2 กลุ่มหลัก คือ 1.ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถแก้ไขได้ คือ โรคประจำตัวต่างๆ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หัวใจเต้นผิดปกติ หลอดเลือดหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจตีบ ภาวะอ้วน สูบบุหรี่ 2.ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถแก้ไขได้ คือ เพศชายเสี่ยงสูงกว่าเพศหญิง อายุที่มากขึ้นตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป ประวัติโรคอัมพาตในครอบครัว4. ถ้าเกิดอาการผิดปกติอย่างหนึ่งอย่างใดข้างต้นและเป็นขึ้นมาอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงให้รีบเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลขนาดทันที5. การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทำได้หลายวิธี ได้แก่ 1.โทรศัพท์ 1669 เพื่อติดต่อกับระบบการแพทย์ฉุกเฉิน 2.การโทรศัพท์ไปยังห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลใกล้บ้าน 3.การเรียกรถพยาบาลโดยใช้แอพพลิเคชั่น "FAST TRACK" หรือ "เรียกรถพยาบาล" 4.การนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลด้วยรถส่วนตัวหรือรถรับจ้าง6. เมื่อไปถึงโรงพยาบาลให้ไปที่แผนกฉุกเฉิน อย่าไปที่แผนกผู้ป่วยนอกปกติ ให้รีบแจ้งกับพยาบาลว่าสงสัยจะมีอาการของโรคอัมพาตทันที บอกเวลาที่เริ่มมีอาการผิดปกติให้ชัดเจน ถ้าใช้ยาอะไรเป็นประจำต้องบอกแพทย์ด้วย7. แพทย์ พยาบาลจะรีบเข้ามาตรวจ ประเมินทันที ถ้าอาการเข้าได้กับโรคอัมพาต แพทย์จะมีการแจ้งเตือนระบบบริการ ทางด่วนโรคอัมพาต เพื่อให้การบริการในทุกจุดเป็นไปด้วยความรวดเร็วที่สุด8. ผู้ป่วยจะได้รับการเจาะตรวจเลือด ให้น้ำเกลือ และส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองทันที เพื่อแพทย์จะได้ให้การวินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง9. กรณีผลการตรวจพบว่าเป็นอัมพาตชนิดสมองขาดเลือด และไม่มีข้อห้ามในการให้ยาละลายลิ่มเลือด แพทย์จะอธิบายข้อดี ข้อเสียของการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด เพื่อให้ผู้ป่วยและ/หรือญาติตัดสินใจในการรับการรักษา10. เมื่อพ้นระยะเฉียบพลันแล้ว ผู้ป่วยทุกคนต้องได้รับการรักษาเพื่อป้องกันการเป็นซ้ำ โดยการรักษาโรคประจำตัวที่เป็นปัจจัยเสี่ยง การทานยาป้องกันการเป็นซ้ำ และการทำกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายให้ดีขึ้น ดูน้อยลง
May รัตน์ ถ้ารู้ว่าเป็นอยู่แล้ว ชาปาก ปากเริ่มเบี้ยว ก็ทานยาสลายลิ่มเลือดไว้เลย ตัวเราเองเราย่อมรู้ดี ถ้าเคยเป็นมาครั้ง ยาอะไรที่เคยช่วยไว้ทัน ก็ทานไปก่อน พูดถึงตัวเราเองและคนในครอบครัวตัวเราเองนะ รอหมอ มันก็มีทั้งดีและเสีย รักษาช้าก็ไปเหมือนกัน อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอมาก ก็แค่30%ที่เหลือตัวเราล้วนๆ
18 มี.ค. 2564 เวลา 13.32 น.
ROONG ช่วงฝุ่นpmคนไข้strokeเยอะหลายเท่าตัว ชม.น่าจะมีคนตายจากฝุ่นpmเยอะกว่าโควิตหลายเท่าตัว( แม่เพื่อนหลายคนและคนรู้จักเข้า รพ.กันช่วงนี้)
18 มี.ค. 2564 เวลา 13.11 น.
ฮิเดโกะ อโรคา ปรมาลาภา..
ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ..
มีเป็นพันล้าน แต่เป็นอัมพาต..มีประโยชน์อันใด
มีพอกินพอใช้ กินเองได้ เดินเองได้ ยังไปวัดเองได้ พอแล้ว
18 มี.ค. 2564 เวลา 10.06 น.
min_min คนพิมพ์ข่าวน่าจะสมองเสื่อมนิด ๆ พิมพ์ไม่มีเว้นวรรค และข้ามข้อ 3 ไป
อาการที่บ่งบอกว่าโรคนี้จะมาเยือนคือ ไอแห้งบ่อย ๆ แต่มีเสียงเหมือนลมวี้ด ๆ โดยไม่มีสาเหตุ และลมหายใจก็มีเสียงฟี้ด ๆ ก็ไปหาหมอได้แล้ว อย่ารอให้หน้าเบี้ยว แขนไม่มีแรง และหมดสติ แบบนั้นหนะ รอดมาก็ไม่เต็มร้อย
18 มี.ค. 2564 เวลา 09.12 น.
Aris..Ta🥰 ถึงรพ ภายใน30นาที แต่รพ รักษาช้า ก็เป็นอัมพาตอยู่ดี
18 มี.ค. 2564 เวลา 05.44 น.
ดูทั้งหมด