ทั่วไป

เข้ากะ นอนน้อย รู้จักโรคคนทำงาน หลังสาวสวยตุ่มคันขึ้นทั่วร่าง แพทย์แนะทางป้อง

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์
อัพเดต 21 ส.ค. 2562 เวลา 12.40 น. • เผยแพร่ 21 ส.ค. 2562 เวลา 12.39 น.
ภาพไฮไลต์

จากกรณีที่มีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ ToqTaeq Kerdmee ได้โพสต์เล่าอุทาหรณ์ของการพักผ่อนน้อย ภายหลังจากที่เธอต้องทำงานเป็นกะ ไม่ได้ออกกำลังกาย และพักผ่อนไม่เป็นเวลานาน 3 เดือน จนเป็นเหตุให้ร่างกายเธอมีอาการผิดปกติ โดยมีตุ่มใสขึ้นทั่วทั้งร่างกาย มีไข้ และมีอาการคันอย่างหนัก ซึ่งเธอระบุว่า แพทย์วินิจฉัยว่า เธอป่วยเป็นโรคภูมิคุ้มกันเป็นพิษ 

(ดูโพสต์ต้นฉบับ)

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ล่าสุด ทีมข่าวเจาะประเด็นไทยรัฐออนไลน์ มีโอกาสพูดคุยกับ แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง เพื่อให้ความรู้ และแนวทางป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดอาการดังกล่าว โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

“อันที่จริงแล้วในทางการแพทย์ โรคภูมิคุ้มกันเป็นพิษนั้น ไม่มี แต่อาจจะใช้พูด เพื่อสื่อความกันให้เข้าใจง่ายๆ แต่สามารถเรียกว่า ภูมิคุ้มกันผิดปกติได้ โดยทั่วไปจะเรียกว่า ภาวะภูมิคุ้มกันมากเกินไป และเมื่อระบบภูมิคุ้มกันทำงานมากเกินไป จะทำให้เกิดอาการแพ้” แพทย์หญิงมิ่งขวัญ กล่าว

- สาเหตุที่ทำให้ภูมิคุ้มกันผิดปกติ -

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

1. มีความเครียด
2. พักผ่อนไม่เพียงพอ
3. พักผ่อนไม่เป็นเวลา
4. ดื่มแอลกอฮอล์

“นอกเหนือจากสาเหตุเหล่านี้ ก็ยังต้องพิจารณาปัจจัยอื่นร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็น เดิมทีมีอาการป่วยภูมิแพ้, แพ้ยา, ติดเชื้อไวรัส และเมื่อภูมิคุ้มกันมันผิดปกติ ย่อมสามารถมีอาการเห่อของโรคผิวหนังได้ เพราะฉะนั้น จึงไม่ได้มาจากการพักผ่อนน้อยแต่เพียงอย่างเดียว แต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า การพักผ่อนน้อยทำให้อาการแย่ลงกว่าปกติ” แพทย์หญิงมิ่งขวัญ กล่าว

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

- การรักษา -

การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุหลักของอาการป่วย หากป่วยจากการแพ้ยา ใช้เวลารักษา 2 สัปดาห์, หากป่วยจากการติดเชื้อ ใช้เวลารักษา 1-2 สัปดาห์ เพราะฉะนั้น หากแพทย์หาสาเหตุเจอ ก็สามารถรักษาให้หายได้ภายใน 2 สัปดาห์

โดยทั่วไปจะพบอาการลักษณะนี้ในกลุ่มคนวัยทำงาน อายุตั้งแต่ 25-30 ปี และพบบ่อยในกลุ่มคนที่ทำงานเป็นกะ ซึ่งกลุ่มคนทำงานป็นกะนั้น ทำให้เกิดความเสี่ยงมากขึ้น และมีความรุนแรงของโรคมากกว่าปกติ

*- ป้องกัน - *

1. ยึดหลัก 3 อ. โดยแบ่งเป็นอารมณ์(พักผ่อนเพียงพอ ควบคุมอารมณ์ได้) อาหาร(กินอาหารที่มีประโยชน์) อากาศ(ป้อนอากาศที่ดีให้กับปอด) ซึ่งทั้ง 3 สิ่งนี้เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างสมดุลให้ร่างกาย

2. นาฬิกาชีวิต (Body Clock) คือวงจรของระบบการทำงานในร่างกายมนุษย์ ซึ่งการนอนหลับผิดเวลา หรือทำงานในเวลากลางคืน จะทำให้ระบบการทำงานต่างๆ ในร่างกายแปรปรวน จนเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้

3. ในกรณีที่ทำงานเป็นกะ หรือมีเหตุจำเป็นต้องทำงานในเวลากลางคืน ก็ควรที่จะนอนให้ได้อย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงติดต่อกัน และปรับสภาพแวดล้อมในการนอนให้มืด และไม่มีเสียงรบกวน.

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง

ตามข่าวก่อนใครได้ที่
- Website : www.thairath.co.th
- LINE Official : Thairath

ดูข่าวต้นฉบับ