ทั่วไป

ช็อกสังคม! ดุลูก จนโดนลูกเขียนจดหมายด่า! ผิดที่แม่? ผิดที่ลูก? หรือผิดที่อะไร?

Another View
เผยแพร่ 09 ธ.ค. 2561 เวลา 01.00 น.

ช็อกสังคม! ดุลูกจนโดนลูกเขียนจดหมายด่า! ผิดที่แม่? ผิดที่ลูก? หรือผิดอะไร?

จากรายงานข่าวเมื่อวันที่ 2 ธันวาคมที่ผ่านมา ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้โพสต์ข้อความลงในกรุ๊ป "HerKid รวมพลคนเห่อลูก" บอกเล่าประสบการณ์สุดช้ำที่ทำให้หัวอกคนเป็นแม่แทบใจสลาย โดยเธอเล่าว่า ครอบครัวมีลูกสาวคนโต อายุ 11 ขวบ ทุกวันนี้ติดโทรศัพท์มือถือมาก แม่พูดจาดี ๆ ด้วยก็แล้ว เตือนอะไรต่าง ๆ ก็แล้ว แต่ลูกสาวคนนี้ก็ไม่เคยฟัง กลางคืน 22.00-23.00 น. ที่บ้านปิดไฟแล้ว ก็ยังแอบเปิดโทรศัพท์เล่น พอเธอดุไม่ให้เล่นก็ดุด่าอาละวาด ตะโกนใส่ และล่าสุดเธอได้ตีไป แล้วมาพบว่าลูกเขียนข้อความใส่กระดาษเอาไว้ ด้วยเนื้อหาที่หยาบคาย โดยเนื้อหาในจดหมายเป็นดังนี้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

"แม่อะ เป็นเหี้ยอะไร อะไรก็ไม่ อะไรก็ติ มึงเป็นเหี้ยไร กูถามมึงนิ แม่คนอื่นอะ เขาไม่ติเหมือนมึงหรอก ถ้าเป็นไปได้นะ กูไม่น่าเกิดมาเป็นลูกมึงเลย นี่กูอดทนไว้นะ อย่าให้กูทนไม่ไหว กูพูดจริงทำจริงนะ"

https://hilight.kapook.com/view/181053

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

หากเราลองมองอีกมุม แท้จริงแล้วเป็นความผิดของเด็กหรือไม่? ปัญหาอาจจะไม่ได้เกิดจากตัวเด็ก แต่เกิดจากการเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน อาการแบบนี้มักจะเกิดจากการขาดความอบอุ่นจากการเลี้ยงดูที่ไม่ดี สิ่งที่แม่ควรทำคือการพูดคุยเปิดอกกัน พูดคุยถึงปัญหาที่เกิดและจะแก้ปัญหากันอย่างไร บางครั้งการที่พ่อแม่ไม่ยอมให้เด็กได้แสดงความคิดเห็น ไม่รับฟัง ไม่เปิดโอกาสให้พูด นั่นอาจจะทำให้เด็กเก็บกดและแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวได้

ก่อนอื่นพ่อแม่ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าเด็กวัย 11 ขวบซึ่งจัดเป็นเด็กวัยเด็กเล็กนั้นต้องการอะไร ถึงจะเข้าไปพูดคุยกับลูกได้อย่างถูกต้องและไม่เกิดปัญหาขึ้น ความต้องการของเด็กเล็กแบ่งเป็น 4 อย่าง

1. ความต้องการความรัก(Need for Affection) เมื่อเด็กจำความได้จะรู้สึกว่าความรักความอบอุ่นนั้นเป็นของสำคัญอยากให้คนอื่นรักและได้รักคนอื่น เด็กที่มีความอบอุ่นได้รับความรักจากพ่อแม่ พี่น้อง จะมีอารมณ์แจ่มใสคงที่ ไม่มีการเอาเปรียบอิจฉาริษยา ซึ่งตรงข้ามกับเด็กที่ขาดความรัก ความอบอุ่น

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

2. ความต้องการความปลอดภัย(Need for Security) เด็กต้องการความเสมอต้นเสมอปลาย หากมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เด็กไม่สามารถปรับตัวได้ทัน จะทำให้รู้สึกว่าตัวเองอยู่ในฐานะไม่ปลอดภัย

3. ความต้องการสถานะในสังคม(Need for Status) เด็กทุกคนต้องการให้ผู้อื่นรับรู้ว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม อยากให้คนอื่นเอาใจใส่ และชมเชย

4. ความต้องการอิสรภาพ(Need for Independence) เด็กต้องการรับผิดชอบการงาน ต้องการทำงานเป็นอิสระตามความสามารถของตนความต้องการเหล่านี้เป็นแรงผลักดันให้เด็กเกิดมีการกระทำต่างๆหรือแสดงพฤติกรรมต่างๆออกมา เพื่อสนองความต้องการที่เกิดขึ้นอารมณ์ของเด็ก อารมณ์ที่เกิดขึ้นในวัยเด็ก และมีการพัฒนาไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่ จนกระทั่งมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ ได้แก่ ความโกรธ ความกลัว ความรักและความริษยา

แล้วทำไมเด็กถึงโกรธเมื่อไม่ได้เล่นโทรศัพท์มือถือ ความโกรธเป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งใด หรือบุคคลใดมาขัดขวางความปรารถนาไว้ ทำให้เกิดความคับข้องใจ ถ้าผิดหวังมากก็จะโกรธมากสำหรับเด็กเล็กความโกรธจะปรากฎให้เห็นเมื่อเด็กไม่สามารถทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ต้องการได้หรือเมื่อการกระทำของเด็กถูกขัดขวาง นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเด็กถึงโกรธเคืองเมื่อแม่ไม่ให้เล่นโทรศัพท์มือถือ แต่ความโกรธของเด็กคนนี้นั้นไปถึงขั้นก้าวร้าว ใช้คำหยาบคายด่าทอแม่ของตนเองทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ความก้าวร้าวของเด็กเล็กนั้นเกิดจากการขาดความอบอุ่น การเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้อง 

กรมสุขภาพจิต ให้ข้อมูลในการแก้ไขและป้องกันปัญหาเด็กก้าวร้าว มีข้อแนะนำ 7 ประการดังนี้

1.ผู้ใหญ่ควรควบคุมให้เด็กหยุดความก้าวร้าวด้วยความสงบ เช่น ใช้การกอดหรือจับให้เด็กหยุด หลังจากที่เด็กอารมณ์สงบแล้ว ควรพูดคุยถึงสาเหตุที่ทำให้เด็กไม่พอใจจนแสดงความก้าวร้าว เพื่อให้เด็กได้ระบายออกเป็นคำพูด

2.ต้องไม่ใช้ความรุนแรงเข้าไปเสริม การลงโทษอย่างรุนแรงในเด็กที่ก้าวร้าวไม่ช่วยให้ความก้าวร้าวดีขึ้น เด็กอาจหยุดพฤติกรรมชั่วครู่ แต่สุดท้ายก็จะกลับมาแสดงพฤติกรรมนั้นอีก อาจเรื้อรังไปจนโตเป็นผู้ใหญ่ได้

3.ไม่ควรมีข้อต่อรองกันขณะเด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว

4.ควรเริ่มฝึกฝนเด็กตั้งแต่อายุ 3 ขวบให้รู้จักควบคุมอารมณ์ตัวเองเช่นฝึกให้แยกตัวเมื่อรู้สึกโกรธ

5.ฝึกให้เด็กรู้จักเห็นอกเห็นใจ มีจิตใจโอบอ้อมอารีแก่คน สัตว์ หรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ

6.หลีกเลี่ยงการตำหนิว่ากล่าวเปรียบเทียบ เพราะจะทำให้เด็กมีปมด้อย รวมทั้งการข่มขู่หลอกให้กลัว หรือยั่วยุให้เด็กมีอารมณ์โกรธ เนื่องจากเด็กจะซึมซับพฤติกรรมและนำไปใช้กับคนอื่นต่อ

7.ผู้ใหญ่ต้องเป็นตัวอย่างของความปรองดองเป็นมิตรต่อกัน และมีวินัย หากพฤติกรรมเด็กยังไม่ดีขึ้น ควรพาไปพบแพทย์ที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน

ทั้งนี้พ่อแม่ควรเอาใจใส่ลูกของตัวเองให้มากขึ้น โดยเฉพาะเด็กวัยเด็กเล็กแล้วนั้นยิ่งต้องการการเลี้ยงดูอย่างถูกต้องเพื่อให้เด็กนั้นเติบโตไปในทิศทางที่ดี 

เพราะเด็กก็คือภาพสะท้อนของครอบครัวว่าเป็นอย่างไรได้ดีที่สุด

อ้างอิง

https://med.mahidol.ac.th/ramamental/generaldoctor/06052014-1058

https://hilight.kapook.com/view/181053

https://www.empoweringparents.com/article/do-your-kids-respect-you-9-ways-to-change-their-attitude/

ความเห็น 120
  • รัต
    ตอบคุณ @กาลละครั้งหนึ่ง วิธีที่เราใช้อยู่คือ กำหนดเวลา สังเกตพฤติกรรม และต้องมีข้อตกลง มีกฏกติกาให้ปฏิบัติ พูดึำไหนต้องคำนั้น ที่สำคัญเลิกตามใจอย่างไร้เหตุผล สำคัญที่สุดคือตัวเราเองต้องหนักแน่นมากๆและต้องสัมนึกไว้เสมอว่าสาเหตุที่เค้าเป็นแบบนี้เพราะตัวเรา.ต้องเจอกับการต่อต้านแน่นอน.เราต้องอดทนหนักแน่นและไม่ใช้ความรุนแรงแก้ไข
    02 ก.พ. 2562 เวลา 03.24 น.
  • Anan 😍
    ลูก เขาออกมาด้วยความไม่รู้อิโหน่ อิเหน่ พ่อ+แม่ผู้สร้างมา เราสร้างเขามาแล้วต้องรับผิดชอบ ต้องใช้ความฉลาดดูแลเขา ความอดทนกับการแนะนำสั่งสอน เด็กจะรับรู้ตั้งแต่แบเบาะ ค่อยๆบอกค่อยๆสอน เด็กต่างพ่อ ต่างแม่ เมื่อเติบใหญ่ขึ้นมา ทุกคนต้องยอมรับว่า ความรู้ ความนึกคิด การงานเลือกได้ไม่เท่ากัน พ่อ+แม่ครับ เรื่องนี้บางที พวกท่านผิดเต็ม 9 ขวบปล่อยนานไม่คิดอะไร ท่านดูครอบครัวเพื่อนบ้าน เป็นอย่างไร
    10 ธ.ค. 2561 เวลา 06.29 น.
  • w.danai
    เราเกิดมาในสมัยที่คำว่ารักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี แต่การตีเค้าตีเพื่อสั่งสอนให้หลาบจำ ว่าถ้าทำเช่นนี้ผิดจะโดนทำโทษ ไม่ให้ทำอีก เรียนรู้ว่าควรจะอยู่ร่วมกับสังคมอย่างไร แต่เด็กสมัยนี้และนักวิชาเกินสมัยใหม่กลับมาบอกว่า ห้ามดุ ห้ามว่า ห้ามตี ต้องพูดดี เอาน้ำเย็นเข้าลูบ ต้องคุณลูกคะคุณลูกขา ขอความกรุณาตั้งใจเรียนหนังสือให้คุณแม่ขาด้วยนะคะ แบบนี้เหรอ เราก็มีลูก ลูกเรารังแกเพื่อนเราก็ตี ลูกเราโกหก ลูกเราทำลายข้าวของเราก็ลงโทษสั่งสอน ไม่ให้ทำอีกถ้าทำอีกก็ลงโทษซ้ำอีกและอบรมสั่งสอนไปด้วย (ไม่ได้ด่า) เราทำแบบ
    10 ธ.ค. 2561 เวลา 03.00 น.
  • Phat
    การจะมีลูกที่ดีสักคนไม่ใช่เรื่องง่าย คนเดี๋ยวนี้เลี้ยงลูกแบบปล่อยให้มันโตเองไม่อบรมไม่สอนไม่สั่งพูดง่ายๆเป็นแบบพ่อแม่รังแกฉัน ถ้ายังเป็นแบบนี้อยู่ก็ลำบากนะ
    10 ธ.ค. 2561 เวลา 02.16 น.
  • Bee Bee
    เด็กเป็นเช่นไร พ่อแม่เป็นเยี่ยงไรลูกก็เป็นแบบนั้นแหล่ะ ไม่โทษเด็กหรอกเพราะเขายังไม่บรรลุนิติภาวะ ความเคยชินที่ขาดการอบรมบ่มนิสัย
    10 ธ.ค. 2561 เวลา 01.47 น.
ดูทั้งหมด