ทั่วไป

สุจิตต์ วงษ์เทศ : สุนทรภู่ไม่เป็นชาวบ้านกร่ำ เมืองแกลง จ.ระยอง

MATICHON ONLINE
อัพเดต 07 มิ.ย. 2562 เวลา 12.05 น. • เผยแพร่ 07 มิ.ย. 2562 เวลา 12.05 น.

สุนทรภู่ไม่ใช่ชาวบ้านกร่ำ เมืองแกลง (จ.ระยอง) แต่เดินทางไปบ้านกร..ในฐานะพิเศษ (ผู้ปฏิบัติ “ราชการลับ” จากกรุงเทพฯ) จึงเข้านอกออกในไปมาหาสู่ “กรมการบ้าน” เรียก “ยกกระบัตร” ซึ่งเป็นตำแหน่งหน้าที่ราชการสมัยนั้น ส่วนเมียเป็น “ท่านผู้หญิง” มีกลอนดังนี้

แล้วไปชมกรมการบ้านดอนเด็จ ล้วนเลี้ยงเป็ดหมูเนื้อดูเหลือเข็ญ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ยกกระบัตรคัดช้อนทุกเช้าเย็น เมียที่เป็นท่านผู้หญิงนั่งปิ้งปลา

ขณะอยู่บ้านกร่ำเพื่อรอกำหนดกลับกรุงเทพฯ สุนทรภู่กับคณะที่ไปด้วยกันนั่งๆ นอนๆ อย่างหงอยเหงาเปล่าเปลี่ยว เพราะไม่ใช่ถิ่นกำเนิด จึงไม่คุ้นเคยแม้มีผู้คนคับคั่งแต่ไม่รู้จัก จึงระกำใจรำพึงเป็นกลอนว่า

ถึงคนผู้อยู่เกลื่อนก็เหมือนเปลี่ยว สันโดษเดี่ยวด้วยว่าจิตผิดวิสัย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

มาอยู่ย่านบ้านกร่ำระกำใจ ชวนกันไปชมทะเลทุกเวลา

ไม่เชื้อชอง

ถาวร สิกขโกศล นักปราชญ์ร่วมสมัยด้านเพลงดนตรีไทย เขียนบอกว่าสุนทรภู่เป็นเชื้อสายพราหมณ์เพชรบุรี ไม่มีเชื้อชอง ดังนี้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

“มีผู้เข้าใจผิดคิดว่าสุนทรภู่มีเชื้อสายชนเผ่าชองในระยอง เพราะในนิราศเมืองแกลงมีความตอนหนึ่งว่า

ด้วยเดือนเก้าเข้าวสาเป็นหน้าฝน จึงขัดสนสิ่งของต้องประสงค์

*ครั้นแล้วลาฝ่าเท้าท่านบิตุรงค์ ไปบ้านพงค้อตั้งริมฝั่งคลอง*

ดูหนุ่มสาวชาวบ้านรำคาญจิต ไม่น่าคิดเข้าในกลอนอักษรสนอง

*ล้วนวงศ์วานว่านเครือเป็นเชื้อชอง ไม่เหมือนน้องนึกน่าน้ำตกกระเด็น*

เนื่องจากกลอนบาทที่สองพูดถึงบิดา ผู้อ่านบางคนจึงเข้าใจกลอนบาทที่สี่วรรคหน้าว่าวงศ์วานว่านเครือของบิดาสุนทรภู่เป็นเชื้อชอง ความจริงแล้วหมายถึง “หนุ่มสาวชาวบ้าน” ที่สุนทรภู่เห็นแล้วรำคาญจิต” นั้น “ล้วนวงศ์วานว่านเครือเป็นเชื้อชอง” สุนทรภู่จึงไม่มีเชื้อชอง แต่เป็นเชื้อพราหมณ์ตามนิราศเพชรบุรี

[บทความเรื่อง “สุนทรภู่กับครูมีแขก ปรมาจารย์ของไทย” โดย ถาวร สิกขโกศล พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2558]

ชอง เป็นชื่อกลุ่มคนพื้นเมืองดั้งเดิมหลายพันปีมาแล้ว พูดตระกูลภาษามอญ-เขมร นับถือศาสนาผี มีหลักแหล่งอยู่พื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก ตั้งแต่ตราด, จันทบุรี, ระยอง, ชลบุรี และต่อเนื่องเข้าไปในบางส่วนของเขตกัมพูชา

ต่อมากลุ่มชองค่อยๆ กลายตนเป็นไทย พูดภาษาไทย

กร่ำ เครื่องล่อปลาให้เข้าไปอยู่บริเวณที่คนต้องการจับปลา โดยใช้ไม้ปักตามชายฝั่งลำน้ำ เป็นรูปกลมบ้างรีบ้าง แล้วคลุมหรือสุมด้วยกิ่งไม้เพื่อล่อปลาหลงเข้าไป เมื่อจะจับก็เอาเฝือกหรืออวนล้อมแล้วเอาไม้สุมนั้นออก เครื่องล่อปลานั้นเรียก กร่ำ หรือ กล่ำ

แกลง (ในชื่อเมืองแกลง อ.แกลง จ.ระยอง) น่าจะหมายถึงลมว่าว พัดจากทิศเหนือไปทิศใต้ในช่วงฤดูหนาวแกลงเป็นคำกลายจากภาษาเขมรว่าแคลง แปลว่าว่าวชนิดหนึ่ง

พบในชื่อ “พิธีแคลง” หมายถึงพิธีเล่นว่าวขอลม เดือนอ้าย (เดือนที่ 1 หลังลอยกระทง ราวพฤศจิกายน-ธันวาคม) อยู่ในกาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศกของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ (กุ้ง)

อาจมีความหมายอื่นนอกเหนือจากนี้ แต่ผมไม่เคยได้ยิน

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 2
  • มโนทิศ จันทนนท์
    มึงเกิดทันรึ??มึงลูกครึ่งไทย-ยุโรปมั้ย??เมื่อประมาณสิบปีที่แล้วเคยเขียนว่าลอยกระทงไม่ได้กำเนิดในสมัยสุโขทัย มึงเอาอะไรมาเป็นหลักฐาน ทุกอย่างมึงเพียงแค่สันนิษฐาน แต่เมืองไทยเรื่องนี้เป็นตำนาน เป็นเรื่องเล่าขาน ต่อๆกันมาหลายช่วงอายุคนมาแล้ว มึงจะมาเปลี่ยนทำไม??เอาเรื่องของสัญชาติแท้ๆของมึงมาพูดมาเล่าให้ฟังดีกว่า แล้วกูจะไม่ด่ามึงเลย
    07 มิ.ย. 2562 เวลา 13.04 น.
  • ชอบคุณสุจิตต์ครับ
    07 มิ.ย. 2562 เวลา 13.04 น.
ดูทั้งหมด