ไอที ธุรกิจ

คำต่อคำ 'ศุภชัย เจียรวนนท์' แนะหอการค้าอีสานต้องแข่งขันด้วยดิจิทัล-ความยั่งยืน

ประชาชาติธุรกิจ
อัพเดต 19 ก.ย 2566 เวลา 08.10 น. • เผยแพร่ 19 ก.ย 2566 เวลา 05.41 น.
ศุภชัย เจียรวนนท์

คำต่อคำ ‘ศุภชัย เจียรวนนท์’ แนะหอการค้าอีสาน สร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้วยดิจิทัลและความยั่งยืน

วันที่ 19 กันยายน 2566 ในการประชุมคณะกรรมการบริหารหอการค้าไทยที่จัดสัญจรที่ภาคอีสาน 20 จังหวัด เมื่อวันที่ วันที่ 15 กันยายน 2566 ได้มีการบรรยายพิเศษเรื่อง “การสร้างความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ ด้าน Digital และ Sustainability” โดยนายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) และประธานสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย ณ โรงแรมเวลาดี จังหวัดนครพนม

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ปรับรับเทรนด์โลก

การทำอะไรก็ตามต้องดูทิศทางลม ดูว่าเทรนด์ของโลกหรือความท้าทายใหญ่ ๆ ของโลกคืออะไร เทรนด์ของโลกกับความท้าทายจะมาด้วยกัน ถ้าปรับตัวไม่ทันจะกลายเป็นวิกฤต แต่ในวิกฤตทุกอันจะตามมาด้วยโอกาสเสมอ อยู่ที่ว่าเราปรับตัวทันหรือเปล่า

ประการแรก หัวข้อที่ทุกเวทีในโลกรวมทั้ง เวิลด์อีโคโนมิกฟอรัมที่เป็น issue ใหญ่ของโลก เขาเรียกว่าความเหลื่อมล้ำ นี่เป็นเรื่องใหญ่ของโลก ถ้าเกิดเราคิดเป็นภาษาอังกฤษเดี๋ยวนี้เขาประยุกต์ใช้ให้มันดูดีขึ้นนะ คือ อินคลูซีฟ Capital คือ การไหลเวียนของทุนที่ฉุดความเจริญไปอย่างทั่วถึงและไปด้วยกัน อันนี้คือหลักการที่เรียกว่า อินคลูซีฟ Capital พวกเราเป็นหอการค้าใช่ไหม เราก็ต้องดูว่าการหมุนของทุนเราเนี่ยสามารถสร้างคน สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างเศรษฐกิจในระดับเล็ก กลาง ใหญ่ ได้แค่ไหน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

อันที่ 2 คือการผันผวนในเรื่องดิจิทัลหรือว่าเราเรียกว่าดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นก็ได้ หรือบางคน ก็คือบอกว่าเรากำลังเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคจะเรียกว่า 5.0 บางคนก็จะนิยามยุค 5.0 ว่ายุคของปัญญาประดิษฐ์ใช่ไหม หรือว่าควอนตัมคอมพิวติ้ง หรือว่าพิชิตอวกาศ นั่นแหละทั้งหมด คือ 5.0 คือเทคโนโลยีกับคนผนวกเป็นหนึ่งเดียวกันผสมผสาน คือคนรู้จักใช้เทคโนโลยีอย่างเป็นหนึ่งเดียวกัน ก็กลายเป็นอะไรครับ กลายเป็นยอดมนุษย์ คือมนุษย์อัจฉริยะ

ยกตัวอย่าง ผมไม่ค่อยเล่นหมากรุก เล่นไม่เก่งด้วย แต่ถ้าผมมี AI ผมสามารถเอาชนะนักเล่นหมากรุกที่เก่งที่สุดในโลกได้ หมายความว่าคนธรรมดาสามารถกลายเป็นยอดมนุษย์ได้ สามารถการเป็นมนุษย์อัจฉริยะได้ ฉันใดก็ฉันนั้น ถ้าเราปรับตัวไม่ทันนะ ทุกคนก็เป็นยอดมนุษย์กันหมด เราก็จะเป็นคนธรรมดาซึ่งไม่สามารถเพิ่มมูลค่าได้ ความหมายก็คือแล้วองค์กร เราจะอยู่เป็นองค์กรแบบอัจฉริยะหรือองค์กรแบบไม่อัจฉริยะเหมือนกัน

“การใช้เทคโนโลยีในการขับเคลื่อนองค์กรจะเป็นหัวใจสำคัญต่อไป แล้วมันทุกอย่างมันจริง ๆ แล้วมันแบนราบมากขึ้น ระบบเศรษฐกิจจะแบนราบ หมายความว่าทุกอย่างมันอยู่ในคลาวด์ Cloud technology ก็อยู่ในตลาดกลางหมดเลย การเข้าสู่ตลาด เป็นเรื่องที่ค่อนข้างแบนราบมาก แต่ว่าถ้าเราบอกว่า สมาร์ทหรือความ อัจฉริยะ เป็นองค์กรอัจฉริยะ เป็นอุตสาหกรรมอัจฉริยะ เป็นเมืองอัจฉริยะเป็นประเทศอัจฉริยะ แต่แน่นอนว่าคำว่าอัจฉริยะมันไม่ได้หมายความว่าดีเสมอไป ถ้าเราไม่พูดถึงเรื่องความยั่งยืน”

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

อย่างกรณีของข้อที่ 3 แม้ว่าเราจะพูดกันมากว่ามันคือเรื่องของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศแบบผันผวน ซึ่งเรากำลังเจอและโลกกำลังเจอวิกฤตการณ์อยู่ตอนนี้ นี่เพิ่มขึ้นมาแค่ 1 องศาเซลเซียส 80 ปีที่ผ่านมาของยุค 2.0 หรืออุตสาหกรรมเนี่ย อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นมาแค่ 1 องศาเซลเซียส เขาจึงมีคำบอกว่านักวิทยาศาสตร์บอกว่าอย่าให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งคำตอบของเขาคือเพราะไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ก็คือการต่อสู้ของสนธิสัญญาทั้งโลก ไม่ว่าจะกลุ่ม G อะไรก็แล้วแต่ ทุกคนเข้ามาบอกว่าไม่ได้ ต้อง Net Zero ต้อง Carbon Neutral อันนี้เป็นสิ่งที่เป็นเป้าหมายในระดับโลกว่าทำอย่างไรจึงจะแก้ปัญหาความยั่งยืนโดยเฉพาะเรื่องของภูมิอากาศ แต่ความยั่งยืนมันมีมากกว่านี้ เพราะมันครอบคลุมเรื่องสังคมเศรษฐกิจสิ่งแวดล้อม

รับมือจีโอโพลิติก

ถ้าเราพูดถึงเรื่องของเปลี่ยนแปลงของขั้วอำนาจ หรือจีโอโพลิติกในระดับโลก ตอนนี้เราก็จะมาทางตั้งคำถามว่าประเทศไทยเราจะอยู่ข้างไหน ประเทศไทยเราอยู่ตรงกลางพอดี ฉะนั้นสิ่งที่เราต้อง Balance ในขั้วอำนาจของโลกที่กำลังปรับเปลี่ยน ซึ่งปรับเปลี่ยนจริง ๆ และระบบที่เราเคยเห็นกันว่า globalization เริ่มแตกกลุ่ม กลายเป็นขั้วอำนาจหลายขั้ว อียู อเมริกา ตอนนี้มีบริกส์ แล้วตัวจีนเองซึ่งตัวเขาเองก็ใหญ่ เศรษฐกิจของจีนวันนี้ยังถือได้ว่าใหญ่เท่ากับอเมริกา

“ถ้าเราพูดว่าในบ้านเราระบบการเมือง อาจจะมีสีหลายสี ในโลกก็มีหลายสีเช่นกัน แต่ถ้าดีที่สุดก็คือทุกสีหันหน้าเข้าหากัน แต่ถ้าเกิดทุกสีไม่หันหน้าเข้าหากัน ก็มีความเสี่ยงต่อระบบเศรษฐกิจโลกไปเรื่อย ๆ”

ยกตัวอย่าง สมมุติจีนที่มีเศรษฐกิจใหญ่เท่าอเมริกาบอกว่า จากนี้ต่อไปเนี่ยฉันขอขายและซื้อของเป็นเงินหยวน ขอซื้อและขายทรัพย์สินต่าง ๆ ในจากจีนเป็นเงินหยวน ก็จะเป็นการดิสรัปต์ระบบเงินยูเอสดอลลาร์ แล้วถ้าเกิดจีนโตไปเรื่อย ๆ ในขณะที่เศรษฐกิจของอเมริกาเกิดถดถอยลง ก็จะก่อให้เกิดสงคราม เพราะว่าไม่มีประเทศไหนยอมประเทศไหน เพราะว่าเขาพูดถึงว่าความมั่นคงของเศรษฐกิจของเขา คือ ความมั่นคงของชาติ การเปลี่ยนแปลงในเรื่องของพฤติกรรมของผู้บริโภคเราเห็นชัดอยู่แล้ว ว่าบริโภคกันออนไลน์มากขึ้นเรื่อย ๆ

“ประเทศจีนวันนี้อีคอมเมิร์ซเกินกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ประเทศไทยเกิน 10% ในที่สุดเราคิดได้เลยว่าต่อไปเกิน 50% แต่ไม่ถึงร้อย เพราะว่ายังไงก็ยังมีความจำกัดในเรื่องของความ physical environment แต่ว่าสิ่งนี้คือสิ่งที่กำลังบอกว่าโลกคู่ขนานที่เป็น Digital กำลังเกิดขึ้นกับตาให้เราเห็น ถ้าเรายังอยู่เพียงโลกเดียว เราอยู่ไม่ได้ อยู่ไม่รอด เราต้องอยู่ทั้งสองโลก เราต้องดิจิไทซ์องค์กรของเรา อุตสาหกรรมเรา ประเทศของเราจึงจะอยู่ได้”

ไทยเข้าสู่สังคมสูงวัย

ประการที่ 6 คือการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในเรื่องของสุขภาพ ซึ่งเราเพิ่งผ่านเรื่องของโควิดแพนเดมิกมาเลย แต่เอจจิ้งโซไซตี้เป็นเรื่องใหญ่ของโลก ทั้งจีน ทั้งไทย ญี่ปุ่น อยู่ในเอจจิ้งแล้ว หลาย ๆ ประเทศอยู่เอจจิ้งแล้ว ในอุตสาหกรรมสำหรับผู้ที่สูงวัยก็กำลังจะกลายเป็นอุตสาหกรรมที่ใหญ่ขึ้น ๆ เรื่อย ๆ เรื่องสุขภาพทุกคนก็อยากจะอายุยืนขึ้น อันนี้ก็เป็นสิ่งที่กำลังเปลี่ยนแปลงแล้วกำลังท้าทายว่าเทคโนโลยีทางด้านสุขภาพ การลงทุนทางทรัพยากรทั้งทุนและทรัพยากรมนุษย์ ลงทุนไปในด้านนี้มากน้อยแค่ไหน อันนี้เป็นภาพรวมที่เป็นความท้าทายของโลก ซึ่งเท่ากับความท้าทายของประเทศไทย เพราะเราเป็นสมาชิกนึงของโลกถ้าเราดู ประเทศไทยจีดีพีเราอยู่อันดับที่ 26 ของโลก แต่ว่า GDP ต่อประชากรเราอยู่ที่อันดับ 84 มันหมายความว่าเราค่อนข้างจะน้อย แต่ถ้ามองกลับกันคือเรามีโอกาสโตอีกมาก

สมมุติว่าเราไม่ได้โตแค่จีดีพีอันดับที่ 26 แต่ว่ารายได้ต่อหัวประชากรของเราเนี่ยก็อันดับที่ 26 เหมือนกันหมายความว่าจีดีพีของเราเมื่อคำนวณแล้ว จีดีพีจะต้องเท่ากับ 2.6 ล้านล้านเหรียญ วันนี้ของเราก็คือประมาณ 5 แสนล้านเหรียญ ถ้าเราเติบโตได้ขนาดนี้ซึ่งเรามีโอกาสเพราะ GDP ของเราเป็นอันดับที่ 26 อยู่แล้ว ถ้าเราเพิ่มผลผลิตต่อประชากร เราเพิ่มศักยภาพของประชากร เราสามารถที่จะไปเป็นประเทศที่อยู่ในอันดับที่ 13 ของโลก

ด้วยจีดีพี 2.6 ล้านล้านเหรียญ ก็ต้องกลับมาคิดว่าจริง ๆ แล้วทรัพยากรที่สำคัญที่สุด คือคน แต่ละลงทุนในเรื่องทรัพยากรมนุษย์มากน้อยแค่ไหน แล้วลงทุนอย่างไร

ไม่ได้บอกว่าแค่จบ ม.3 หรือ ม.6 จบ ปวช. ปวส. จบมหาวิทยาลัย ไม่ใช่แค่นั้น มันหมายความว่ามันลงทุนในการสร้างกรอบความคิด ที่ผนวกเอาเรื่องของคุณค่า ศักยภาพที่จะมีเขาเรียกว่ายุคนี้เขาเรียกว่า โกรทไมนด์เซต หมายความว่าเราเห็นทุกปัญหาเป็นความท้าทาย เราเห็นทุกภารกิจเป็นการเพิ่มมูลค่าไม่ใช่เป็นอุปสรรค แล้วก็ไม่ใช่เป็นภาระ มุมมองความคิดแบบนี้มันจะเกิดขึ้นได้จะต้องเกิดขึ้นในกระบวนการของระบบการศึกษา แล้วก็เกิดขึ้นในกระบวนการระบบของภาคเอกชน ภาคเอกชนจะสูญเสียเรื่องนี้ไม่ได้ ผมยกตัวอย่าง สมมุติวันนี้ภาคเอกชนและทุกท่านในระดับจังหวัด ระดับภาคก็ตาม ถ้ารับ

พนักงานเข้ามาในองค์กร เก่ง เกียรตินิยม เก่งทุกอย่างเก่ง มีความกระตือรือร้น รับเข้ามาป็นเกรด แต่ให้เขาทำเหมือนเดิมทุกวันเป็นเวลา 3 ปี จากคนเก่งจะกลายเป็นคนธรรมดา

ฉะนั้น การที่ทำให้เกิด Agile Organization คือการ rotate ทำให้เขาออกจาก Comfort Zone หรือทำให้เขาต้องทำเป็นมัลติทาสกิ้ง คือทำงานในหน้าที่ มีทำโปรเจ็กต์ด้วย มีนายหลายคนอย่าอยู่ใน Comfort Zone ไม่ใช่นายหวงลูกน้องแล้วก็เก็บลูกน้องไปทำเหมือนเดิมครบ 3 ปีกลายเป็นคนธรรมดา ระบบการศึกษาก็ไม่ได้ต่างกันนะ

ทั้งกระบวนการตรงนี้เป็นกระบวนการที่สร้างกรอบความคิด สร้างให้คนรู้สึกว่าการเปลี่ยนไปทำเรื่องใหม่ ๆ และพัฒนาและแก้ปัญหาใหม่ ๆ เป็นเรื่องปกติและเป็นเรื่องที่ท้าทาย เป็นเรื่องที่มีความสุข แต่ถ้าเราทำเหมือนเดิมง่ายมากเลยเอามานะอย่าทำนอกเหนือคำสั่งนะ

ทำเหมือนเดิมถ้าแถมออกมาเพียงนิดเดียวโดนละ ไม่โดน โดนเจ้านาย ก็โดนเลยเพื่อนรอบข้าง บรรยากาศแบบนี้ไม่มีทางที่เราจะเพิ่มผลิตผลหรือศักยภาพของคนของเราได้ เรามีหน้าที่ร่วมกันนะ ทั้งอุตสาหกรรม ทั้งภาคธุรกิจ ภาครัฐ แล้วก็ระบบการศึกษาของเราที่จะต้องเปลี่ยนระบบตัวนี้

ศักยภาพการแข่งขันด้านดิจิทัลไทย

ถ้าวันนี้เราดูไอเอ็มดี สถาบันของสวิตเซอร์แลนด์ เขาบอกว่า วัดศักยภาพในการแข่งขันทางด้านดิจิทัลของประเทศ เพราะว่าประเทศต้องดิจิทัล ต้องเป็นอัจฉริยะมากขึ้น ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 40 เขาวัดออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ แต่มีเป็นร้อยข้อ ส่วนแรกก็คือความรู้ เราอยู่อันดับที่ 42 ก็หมายความว่า บัณฑิตเราจบวิทยาศาสตร์ จบวิศวะ จบไอที น้อยเกินไป ทักษะทางด้านดิจิทัลเทคโนโลยีน้อยเกินไป อย่างนี้เราจะปรับตัวเข้าสู่การเป็น

ยอดมนุษย์ เป็นอัจฉริยะประเทศได้ยังไง เขาบอกว่าให้โอกาสน้อย คะแนนต่ำ แต่พื้นฐานด้านเทคโนโลยีที่เค้าบอก LINE ก็ใช้เยอะ Facebook ก็ใช้เยอะ Instagram ข้อมูลของเราได้มหาศาล สิงคโปร์เราไม่ได้มี AI เป็นศึกษาสิงคโปร์เขาคิดมาให้เสร็จกลับมาขายอีกที เทคโนโลยีและพื้นฐานเทคโนโลยี เราอยู่ที่ 22 โลกสูงกว่าระดับ GDP แต่ความพร้อมต่ออนาคต หลักใหญ่ ๆ อย่าง Cyber Security เมื่อกี้ทราบว่า วันนี้ท่าน ผบ.ตร. ขึ้นมาพูดเรื่อง Cyber ซีเคียวริตี้ คุณพร้อมไหม กฎหมายพร้อมไหม เพราะถ้าไม่ได้ เจ๊ง

เท่าที่ทราบคดีความที่มากที่สุดที่สถานีตำรวจก็คือ Cyber ถึงบอกว่ามนุษย์ที่ใช้ AI เป็น กลายเป็นอัจฉริยะ แต่ความเป็นอัจฉริยะมันไม่ได้หมายความว่าดีหรือไม่ดี เพราะถ้าใช้ไปในทางไม่ได้ มันไม่ได้เป็นซูเปอร์ฮีโร่ มันกลายเป็นผู้ทำลายล้าง ดังนั้นเรื่องของคุณธรรมจริยธรรมจะเป็นเรื่องใหญ่ในการควบคู่กับการก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจ 5.0 ความปลอดภัยไซเบอร์ งบฯเอกชนในการทำค้นคว้าวิจัยกับมหาวิทยาลัย

“ผมเพิ่งไปเอสโตเนียกลับมา เป็นประเทศที่ประชากร 1.3 ล้านคน เมืองหลวงมีประชากร 6 แสนคน เท่านครพนม แต่มี Capita Income ประเทศไทยเรามีประมาณ 9,000 เหรียญ ประเทศนี้มี 4 หมื่นเหรียญ เป็นประเทศที่แยกออกจากสหภาพโซเวียตยูเนี่ยน 30-40 ปีก่อน ถือว่ายากจนไม่มีทรัพยากรอะไรเลย ถามว่าทำยังไงถึงจะเจริญขนาดนี้ ทุกวันนี้ Skype เกิดจากประเทศนี้ เขาเป็นประเทศแรกในโลกที่เริ่ม Digital ID ประเทศไทยเรายังมีแต่ Smart Card เขาเป็นประเทศแรกที่เริ่ม e-Government เขาเป็นประเทศแรกที่บอกว่าคุณสามารถตั้งบริษัทออนไลน์แล้วเป็นบริษัทเอสโตเนียจากที่ไหนของโลกก็ได้ ทำธุรกิจมาเลยเพราะว่าเขาเป็นสมาชิกของ EU”

และเขาทำได้ ทั้งหมดทั้งปวงคือรัฐบาลร่วมมือกับ 3 มหาวิทยาลัย เขาสร้างคนที่เก่งที่สุด ดึงคนที่เก่งที่สุด ยังไม่พอเมื่อ 20 ปีที่แล้ว เขาบังคับหลักสูตร Programming Software Programming ให้เป็นหลักสูตรพื้นฐานในระบบการศึกษา เริ่มตั้งแต่ ป.1 ประเทศไทยเราทำไม่ทัน นครพนมทำก่อนเลย ก็เป็นเรื่องที่เราบอกว่าดูแล้วมีความหวัง เขาใช้เวลา turn around ประเทศของเขาที่ยากจนที่สุด แน่นอนว่า 30 ปีก่อนก็ยากจนในประเทศไทยเยอะ กลายเป็นประเทศหนึ่งที่รวยที่สุดในเชิงของรายได้ต่อประชากรใช้เวลา 30 ปี เอาจริง ๆ นะถ้าถามเขาเนี่ยใช้เวลา 20 ปีเท่านั้นเอง

ในมิติของการลงทุนมันวิ่งเข้าหาจุดที่หาจุดคุ้มทุน ได้ทุนกับคืนเพื่อจะได้ผลตอบแทนเนี่ยเร็วที่สุดเสมอ ทุนที่ไหลเข้าประเทศไทยซึ่งเป็นตัวที่สร้าง GDP สร้าง innovation โดยเฉพาะทุนที่มาจาก Venture Capital (VC) มาลงทุนใน startup ลงทุนใน Tech Company ต่าง ๆ เขาบอกว่าทุนที่ไหลเข้ามาเทคโนโลยีในอาเซียนปี 2022 ประเทศไทยอยู่ที่ 2 เปอร์เซ็นต์ แต่ว่าแนวโน้มจนถึงสิ้นปีขึ้นไปที่ 6 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่สำคัญ ปีที่แล้วเป็นปีแรกวันที่ 15 กันยายน 2566

ที่ประเทศไทยมี Capital Income Tax หรือภาษีบนการลงทุนในเทคสตาร์ตอัพลดเหลือศูนย์ ซึ่งมาเลเซียสิงคโปร์ อินโดนีเซีย ศูนย์หมด เงินก็หมุนเวียนอยู่ในประเทศเหล่านี้ ตอนนี้เรากลายเป็นน้อยที่สุดในประเทศในอาเซียน 6 ประเทศ เราต้องดึงตัวเองกลับขึ้นมาว่าระบบภาษีของเราต้องสามารถแข่งขันได้ มันไม่ได้แค่ดึงทุนอย่างเดียว แต่ดึงคนมาด้วย

เพราะถ้าเรามีเทคสตาร์ตอัพถ้าตั้งขึ้นจากนครพนม ต้องการเงินทุนและเอานี้ขอจากเงินทุนจากเวนเจอร์แคปิตอล เขาบอกว่าถ้าคุณจะเอาเงินผมนะ คุณไปตั้งสิงคโปร์ ถ้าไม่งั้นผมไม่ให้ก็ไปครับ เขาก็ไปสิงคโปร์ ตอนนี้ Singapore มีสตาร์ตอัพจดทะเบียนอยู่ 5 กว่า ประเทศไทยมีเทคสตาร์ตอัพจดทะเบียน 600 แต่คิดว่าน่าจะเกินพันแล้ว จากที่มีการนำแคปปิตอลเกนแท็กมาใช้

ที่สำคัญอีกตัวนึงก็คือต้นทุนพลังงาน ต้องยอมรับว่าต้นทุนด้านพลังงานเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ ผมมีโอกาสได้ไปที่ฝรั่งเศส เขาเชิญไปนะครับ สิ่งแรกที่เขาพูดเลยนะครับ เขาบอกว่าฝรั่งเศสไม่มีปัญหาเรื่องการใช้พลังงานนิวเคลียร์ และแอดวานซ์ที่สุดในเรื่องของนิวเคลียร์ฟิวชั่น คือแบบนิวเคลียร์แบบขนาดเล็กและปลอดภัยสูง เพราะฉะนั้น ไม่ว่ายุโรปจะมีค่าครองชีพแพงแค่ไหน แต่พลังงานไฟฟ้าของปารีส หรือของฝรั่งเศสจะต่ำที่สุดในโลก

เพราะฉะนั้นกรุณามาลงทุนในประเทศฝรั่งเศส เพราะว่าเขามีระบบสมบูรณ์นะครับ ไม่ว่าจะเรื่องของนวัตกรรม Space Technology แล้วก็รวมไปถึงระบบนิเวศ คือ พลังงานไฟฟ้า ประเทศไทยจึงต้องคิดหนักว่าถ้าต้นทุนเรื่องพลังงานเราไม่สามารถแข่งขันได้ ก็ไม่มีเทคโนโลยีมา ยกตัวอย่างง่าย ๆ ครับ Data Center หรือฟาร์มคอมพิวเตอร์ครับ ก็ต้องพูดว่าสิงคโปร์หมดพื้นที่ และประเทศเขาเล็กเท่าภูเก็ต เขาบอกว่าเขาไม่สามารถตั้ง Data Center ได้อีกต่อไปแล้ว ดาต้า Center ใหญ่ ๆ เช่น Microsoft Amazon Google Facebook และอื่น ๆ จึงต้องเพิ่มมาที่อื่น จุดแรกที่เข้ามาคือประเทศไทย

แต่มองไปมองมาพลังงานคุณแพงไป เพราะว่าคอมพิวเตอร์ดูดแต่ไฟฟ้าวิ่งทั้งวันทั้งคืน ยิ่งวิ่งก็ยิ่งกินไฟ ในที่สุดด้วยความร่วมมือระหว่างสิงคโปร์มาเลเซียกลับไปอยู่ที่มาเลเซีย อันนี้เป็นศักยภาพในการดึงดูดการแข่งขัน โดยเฉพาะถ้าเราบอกว่าประเทศไทยเราจะทรานส์ฟอร์มและเราเทคฮับ ให้กับระดับภูมิภาค

หนุนสร้างแบรนด์

ถ้าเรามองในมิติของเศรษฐกิจของบ้านเรา หลัก ๆ เรามีเรื่องท่องเที่ยวเป็นเรื่องใหญ่มาก แต่ว่าท่องเที่ยวเราเนี่ยอาจจะไม่ได้ต่อยอดไปถึงเรื่องของการสร้าง Soft Power คือ การสร้างแบรนด์การตลาด เราลองคิดดู ถ้าเราสร้างแบรนด์สินค้าผลิตภัณฑ์พร้อม ๆ กันไปด้วย คนที่มาเที่ยวประเทศไทย คนที่มาเที่ยวกรุงเทพฯนะเราถือว่าน่าจะเป็นถ้าเที่ยวกรุงเทพฯเนี่ยเป็นเมืองมหานครที่ 1 ของโลกในประเทศไทย

ถ้าโอเวอร์ออลน่าจะอยู่ในระดับ Top 5/6 ของโลก แต่ว่าเขามาแล้วก็ได้ความสุขกลับไป จริง ๆ แล้วถ้าเราทำให้เขารู้จักสินค้าและบริการแล้วมันก็สร้างยี่ห้อเนี่ย สิ่งที่เขาจะนำกลับไปด้วยเนี่ยก็คือความเชื่อถือในสินค้าและบริการของประเทศไทย ทำให้เราเนี่ยสามารถที่จะขยายตลาดออกไปในระดับภูมิภาคและระดับโลก และโดยเฉพาะยกตัวอย่างเช่น ประเทศจีน อันนี้ก็รวมถึงเรื่องคอนเทนต์ด้วย ที่มันเป็นเรื่องซอฟต์ power ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกาหลีใต้ทำได้เก่งมาก แล้วเราเองเนี่ยมีอิทธิพลอยู่แล้วในภาคพื้นอาเซียน เอาง่าย ๆ เพื่อนบ้านเราเนี่ยดูหนังไทย ละครไทยกันเยอะมาก เป็นต้น

แต่เราขาดเรื่องการต่อยอด อันที่ 2 เรื่องของเกษตรอาหาร อันนี้ก็ต่อเนื่องจากอัน 1 เหมือนกัน อาหารไทยเนี่ยผมอยากจะบอกว่ามันถือเป็นท็อป 3 ของโลก ความนิยมของอาหารไทยเนี่ยมันไปถึงอเมริกา ยุโรปหมด ผมเพิ่งไป

ฝรั่งเศสอย่างที่ว่าแผงในซูเปอร์มาเก็ต คืออาหารยุโรปมีอยู่ประมาณเมตรครึ่ง ที่เหลืออีกประมาณ 5 เมตร เป็นอาหารไทยกับอาหารเอเชีย คือมีแขกผสมอยู่บ้าง แต่เกือบ 60 เปอร์เซ็นต์จะเป็นอาหารไทย เขาถือว่าอาหารไทยเป็นของดีมีคุณภาพ ของมีระดับ

เพราะฉะนั้น อาหารไทย เกษตรไทย เป็นเรื่องใหญ่ สิ่งที่เราทำไม่สำเร็จเหมือนกับเยอรมัน ยุโรป ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ ก็คือเราอินดัสเทรียลไลซ์ไม่สำเร็จ ความหมายก็คือว่าเขาใช้สหกรณ์ แต่สหกรณ์บ้านเราทำเรื่องกู้ยืมเป็นหลัก ถ้าเราสามารถทำให้สหกรณ์หรือว่าวิสาหกิจ หรือในยุคนี้อาจจะเป็นพีพีพีก็ได้

เอกชนในระดับของจังหวัดและภูมิภาคมาร่วมงานให้เกิดความโปร่งใสด้วย มาช่วยทำเรื่องของอินดัสเทรียลไลซ์ ก็คือว่าเราเริ่มมองเกษตรเป็นคลัสเตอร์ เรามองเรื่องการบริหารน้ำเป็นปัจจัยสำคัญ เรามองเรื่องของการแอพพลายเรื่องของสมาร์ทฟาร์มมิ่งเข้ามาเราอาจจะก้าวกระโดด

เพราะอินดัสเทรียลไลซ์ของเกษตรมันแค่ 2.0 เราแอปพลายกลาย 4.0 เลย ทำยังไงครับ ก็ทำในสิ่งที่วันนี้ไม่ได้ทำ เกษตรกรของเราเนี่ยทุกวันนี้หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน หมายความอายุเกิน 50 เขาไม่สามารถที่จะสะสมองค์ความรู้ ไม่มีการบริหารจัดการ ไม่มีการใช้เทคโนโลยี ไม่มีการตลาด ไม่มีการเงิน คือการเข้าถึงแหล่งทุนที่แฟร์ ไม่มีอะไรสักอย่างนึง ถามว่าแล้วมันจะเยอะจะยืนพื้นได้ยังไง แต่ถ้ามันเริ่มเป็นบริหารกับองค์กร

สิ่งที่ตามมาก็คือเขาสามารถรวบรวมองค์ความรู้ แอพพลายการบริหาร สิ่งที่เกิดขึ้นเราก็จะบอกว่าถ้าอย่างนี้มันมีการบริหารเยอะแยะ ใช้เครื่องไม้เครื่องมือก็เยอะ แล้วเกษตรกรจะไปไหน ก็กลายเป็นผู้ถือหุ้น แล้วลูกหลานไปทำอะไร ก็เข้าสู่อุตสาหกรรมไง เข้าสู่เมืองเข้าสู่อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมเกิดจากเมือง ระดับชุมชนก็เกิดจากตลาด

ในตลาดก็สร้าง 7 8 อุตสาหกรรมอยู่แล้ว ก็เข้ามาจากอำเภอก็ใหญ่ขึ้น พอเข้ามาเมืองก็เป็นตลาดใหญ่ ไปอีก พอเป็นเมืองใหญ่ ๆ เกิดการแตกแขนงของอาชีพอุตสาหกรรมที่มีประสิทธิภาพและมีสเกลและมีต้นทุนที่ต่ำอันนี้มันเป็น Evolution อยู่แล้ว ทำไมประเทศที่พัฒนาแล้วเราเคยเป็นเกษตรมาก่อนเหลือเกษตรกรจริง ๆเหลืออยู่ 2% ทั้งโลกเป็นอย่างนี้นะครับ เพราะเกษตรอุตสาหกรรมสำเร็จแต่ไม่ได้หมายความว่าคนตกงาน

นครพนมลุย เกษตรอุตสาหกรรม

อันนี้ก็เป็นเรื่องจริงที่เขาวิวัฒนาการ แต่ประเทศไทยเรายังมีเกษตรกรนะครับถึง 40 เปอร์เซ็นต์ แล้วถ้าบอกว่าประชากรที่พึ่งพาเกษตรกรอีกผมว่าเกิน 50% เราต้องทำเรื่องอินดัสเทรียลไลซ์ให้สำเร็จ ผมก็คิดว่านครพนมเอาก่อนเลย ถ้าทำได้ ลองดูนะ เป็นพีพีพี ก็ได้ เอกชน รัฐ แล้วเอามหาวิทยาลัยมาด้วย มาทำร่วมกันมีโอกาสทำสำเร็จ ถ้าทำเป็นโมเดลสำเร็จสัก 1 ที่ 1 จังหวัดเนี่ย มันจะขยายเป็นทุกคลัสเตอร์ในประเทศไทย แต่ต้องแก้เรื่องน้ำก่อน เพราะว่าเราเป็นประเทศเดียวในโลก

ประเทศน้อยมากในโลกที่มีวิกฤตการณ์น้ำท่วมและมีวิกฤตการณ์ภัยแล้งในประเทศเดียว หมายความว่าเราไม่บริหารจัดการ ถ้าเราบริหารจัดการผลผลิตจะมหาศาล เราก็ต้องถามนักเศรษฐศาสตร์ก็จะบอกว่าคุณผลิตมาเยอะต่อไปไม่มีขายจะทำอย่างไร การให้อินเซนทีฟ ในการที่จะผลิตหรือปลูกในสิ่งที่ถูกต้องสำคัญมาก ไม่ใช่ซับซิไดซ์สิ่งเดียวเดิม ๆ ที่ผลิตแล้วเกินความต้องการตลาด

ส่งเสริมเพื่อเปลี่ยนผ่าน

“ถ้าซับซิไดซ์เพื่อการเปลี่ยนเข้าสู่ระบบเกษตรที่ตอบสนองต่อตลาดมันจะมหาศาล ยกตัวอย่าง ทุกวันนี้เราส่งออกผลไม้ไปประเทศจีนปีหนึ่ง 240,000 ล้าน ส่งออกทุเรียน 1 แสนล้าน แต่มาเลเซียส่งทุเรียนในมูลค่ามากกว่าประเทศไทย เพราะเขาส่งเป็นโฟรเซ่น ประเทศไทยเราส่งสดทำให้เสียหายเยอะ ทั้งที่โฟรเซ่นทำได้ตั้งหลายอย่างเขาไปทำไอศกรีม เวเฟอร์ เรายังไม่ได้ต่อยอด”

ผมอยากจะสรุปโดยรวม ๆ ว่านี้เรื่องเกษตร ถ้าเราอินดัสเทรียลไลซ์สำเร็จ เรามีองค์กรที่เราจะเรียกว่าสหกรณ์ วิสาหกิจ พีพีพี แล้วแต่จะเรียก ถ้าเราทำได้ องค์กรเหล่านี้มันมีวิวัฒนาการเพราะมันมีองค์ความรู้ มีการบริหารงานและมีการแอปพลายเทคโนโลยี เขาจะเป็นคนบอกว่าควรจะลงทุนเรื่องอะไรและไปจับตลาดไหน

เราต้องคำนึงถึงว่าเราต้องสามารถมองว่าเราสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตลาดอย่างเช่น จีน อินเดีย ในอาเซียนเองหรือยุโรป หรืออเมริกาเขาต้องการ อันนี้ก็เป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่ ถ้าเราต่อยอด แต่เราไม่สามารถต่อยอดได้โดยสถานการณ์ปัจจุบันที่เกษตรกรหรือธุรกิจการเกษตรเป็นธุรกิจผัวเมีย มือสาก หลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน ทำไม่ได้ ในเรื่องของการผลิต เราก็อยู่ใน 2.0 แต่การผลิตจะไม่มีวันหมดไปตราบใดเท่าที่เรายังคงเป็นมนุษย์อยู่ แล้วก็ต้องการสินค้าที่จำเป็นกับชีวิต หรือว่าไม่จำเป็นก็ตามอยู่ตลอดเวลา

ดัน FTA

การผลิตและการส่งออกเป็นเรื่องใหญ่ และ FTA ก็เป็นเรื่องใหญ่ของบ้านเรา แต่ถ้าเราเปิด FTA แล้วกลายเป็นว่าเราไปนำเข้ามากกว่าส่งออก เราก็เหนื่อยใช่ไหม เพราะฉะนั้นการสร้างศักยภาพในการผลิตสินค้าที่จะลดการนำเข้าและในเวลาเดียวกันสร้างการส่งออกจึงเป็นโฟกัสที่สำคัญและศักยภาพพวกนี้ เกิดขึ้นจากการที่จะต้องลงทุน บางทีอาจจะหมายถึงการลงทุนในอุปกรณ์ใหม่ ในกระบวนการใหม่ Product Life Cycle ซึ่งอาจจะต้องมีทุน ในการที่จะผลักดันให้เกิด Transformations ในเรื่องนี้

สภาหอการค้า ต้นแบบองค์ความรู้

สภาหอการค้าฯน่าจะมีองค์ความรู้เรื่องนี้สูงมาก แล้วรัฐบาลชุดนี้ ถ้าเกิดว่าสามารถทำ ให้เขาเห็นตรงนี้ได้ ตั้งแต่ระดับที่เป็น ธุรกิจจิ๋ว จิ๋วก็คือร้านเล็ก ๆ แม้กระทั่งร้านรถเข็น ก็เรียกว่าจิ๋ว เล็ก กลางแล้วก็ใหญ่ ถ้าสามารถมี Incentives ทุกอย่างมันขับเคลื่อนด้วย Incentives ถ้าไม่มี Incentives มันเปลี่ยนไม่ได้ คำว่า Incentives ในที่นี้มันหมายถึง ทุน อาจจะเป็น ทุน ที่มี ต้นทุนต่ำมาก มีระยะเวลาในการพิสูจน์ตัวเองเยอะ แต่ทำให้เกิดการลงทุนที่เพิ่มผลผลิตที่ตอบสนองต่อความต้องการตลาด ลดการนำเข้าเพิ่มการส่งออก ซึ่งเราโฟกัสได้ แล้วทุกคนก็ปรับตัวเข้าไปด้วยกัน

ปั้น Tech Startup

ส่วนที่ 4 ผมอยากจะพูดถึงเรื่องของเทคโนโลยี คือผมก็พูดมาหลายเวทีว่า ผมเคยคุยกับคนที่เขาศึกษามา 20 ปี Professor Harvard ถึงว่าประเทศอะไรที่เจริญอย่างยั่งยืน เขาเขียนตำราออกมา ผมก็บอกว่าขอสรุปภายในประโยคเดียว เขาก็บอกว่าประเทศที่นักวิทยาศาสตร์รวย แต่อันนั้นมันยุคนานมาแล้ว เดี๋ยวนี้มีเป็น Tech Startup สรุปแล้วก็คือ นวัตกร นักวิทยาศาสตร์ วิศวกร องค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยี

มันเป็นเรื่องใหญ่มาก เราสามารถที่จะเป็น Education Hub ในระดับภูมิภาค หรือระดับโลก เราสามารถไหมครับ ที่จะเป็น Tech Hub ในระดับภูมิภาคและระดับโลก เรามีโอกาสแต่จำเป็นต้องลงทุน ลงทุนในอะไร ถ้า เราบอกทั่วไปลงทุนในเรื่องของคน ลงทุนในเรื่องของ Innovation ทุนที่จะไหลเข้าไปในการวิจัยอยู่ในตัวชี้วัดตัวหนึ่งของ IMB ทุนที่จะไหลเข้าไปในการสร้างนวัตกรรมที่ไหลเข้าไปใน Tech Startup ผมยกตัวอย่างสมมุติว่าวันนี้ยานพาหนะที่ดูเหมือนจะ Effective ที่สุดเรียกว่า Tech Startup มันคือทั้งห้องวิจัยและการค้า และการสร้างผู้ประกอบการ ที่มี Entrepreneurship ในอันเดียวกันเลย เรียกว่า Tech Startup

ผมยกตัวอย่างว่าเราตั้งเป้าไม่ต้องถึง 50,000 เราตั้งเป้า 20,000 Tech Startup หนึ่งสตาร์ตอัพมีพนักงานเฉลี่ยกี่คน 50 คน สมมุติ 20,000 Tech Startup หมายถึงคนหนึ่งล้านคน และถ้าเกิดว่า 1 Tech Startup ใช้งบประมาณหนึ่งล้านเหรียญต่อปี หมายถึงสองหมื่นล้านเหรียญต่อปี เงินที่จะสะพัดเข้าสู่ระบบ ที่มีคนเชื่อมโยงกลไกตลาดเพราะมีคนคิดอยู่ตลอดเวลาว่าจะสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นมาขายให้ตลาดอะไร แล้วเราก็อาจจะบอกว่าแต่ Tech Startup 20,000 อาจจะสำเร็จแค่สองร้อยนะ 1% แต่ 200 นั้นสร้าง SMEs และสร้างระบบเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ขึ้นมา มีมูลค่าสูงกว่าสองหมื่นล้านเหรียญนั้นอีกหลายเท่า มันสร้าง Entrepreneurship สร้างผู้ประกอบการ เอสเอ็มอีใหม่ และไปถึงผู้ประกอบการระดับที่เป็นระดับโลก การสร้างให้ประเทศเราเป็นฮับนวัตกรรม หรือเทคโนโลยี

แต่แน่นอนมันไม่ใช่แค่เรื่อง Tech Startup ทุกอย่างดูไปถึงระบบนิเวศ เช่น มหาวิทยาลัย เรามีมหาวิทยาลัยระดับโลก หรือระดับภูมิภาคไหม ในเรื่อง Science และ Technology ถ้าไม่มี เขาบอกยังไม่เชื่อ แต่ถ้ามีมันไม่ใช่แค่เขาจะเชื่อ เราจะดึง Talented ที่เก่งที่สุดทางด้าน Science และ Technology จากทั้งภูมิภาคมาเรียนหนังสือที่เมืองไทย ท่านจะไม่เชื่อทุกวันนี้ ถ้านักเรียนไทยไปเรียนโรงเรียนดี ๆ หรือได้ทุนไปเรียนที่อเมริกา ปีแรก เขาส่งจดหมายมาแล้วอเมริกา รับกรีนการ์ดไหม เขาต้องการ Talented ที่ดีที่สุด เราก็เหมือนกันตอนนี้เรามีพนักงาน เรามีประชากรที่เป็นต่างประเทศ เพื่อนบ้านเข้ามาทำงานอยู่กับเรา 4-5 ล้านคน แต่เขาเป็นแรงงานเป็นหลัก

แล้วทำไมเราไม่คิดว่า เอา 4-5 ล้านคน จากทั้งโลกที่เก่ง ๆ มาอยู่เมืองไทย เพราะประเทศสิงคโปร์ประชากร 6 ล้าน จริง ๆ ไม่ถึง 6 ล้าน 2 ล้านมาจากต่างประเทศ จนกระทั่งไปถึงเรื่องของสมาร์ทซิตี้ ทุกวันนี้เวลาเขาบอกว่าสร้างเศรษฐกิจ สร้างยังไง จะลงทุนอะไรดี ถ้ามองในระดับมหภาค ระดับประเทศ

อย่างไปซาอุฯ บอกว่าฉันตั้งเป้าแล้วว่าฉันจะต้องมี ตอนนี้ GDP อยู่ที่ 1 ล้านล้านเหรียญ ฉันจะต้องไปที่ 1.5 ล้านล้านเหรียญ ภายในปี 2030 ทำยังไง เขาพูด 2 เรื่อง 1.เขาจะสร้าง ริยาด ในเมืองหลวง ให้เป็นประเทศของการท่องเที่ยวและช็อปปิ้งสู้กับดูไบ 2.เขาจะสร้างมหานคร อีกเมืองคล้าย ๆ กับอีอีซีเรา ในเรื่องของเทคโนโลยี 2 อัน ลงทุนเท่าไหร่ 5 ล้านล้านเหรียญ ในช่วงระยะเวลาถึงปี 2023 เขาสร้างเมือง สร้างคลัสเตอร์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด และมี

ศักยภาพมากที่สุดทางใดทางหนึ่ง

อันแรกรีเทิร์นเงินไว้ในประเทศ ไม่งั้นคนซาอุฯไปเที่ยวนอกประเทศหมด ขนเงินไปต่างประเทศหมด อันที่สองสร้างศักยภาพของประเทศตัวเอง เพื่อที่จะเสิร์ฟในระดับโลก หรือระดับภูมิภาคของเขา เขาบอกว่าเขาจะเป็นเซ็นเตอร์ ของ Middle East และแอฟริกา แล้วไปถึงยุโรป เขามองว่าเขาเป็นเซ็นเตอร์ งั้นอันนี้คือสิ่งที่เราก็ต้องมาดูว่า แล้วเราจะลงทุนทำเรื่องอะไร โครงสร้างพื้นฐานใหม่ที่เกิดขึ้นคืออะไร คือเราก็พูดว่ายุค 5.0 ที่เราจะไปมีเรื่อง คลาวด์ เทคโนโลยี มีเรื่องพลังงาน มีเรื่องความยั่งยืน แล้วก็มีเรื่องของโลจิสติกส์ เทรด แล้วก็ไฟแนนเชียล

ซึ่งทั้ง 4 เรื่องนี้เป็น 4 เรื่องที่มันเริ่มเป็นเรื่องของแพลตฟอร์ม เป็นเรื่องของการที่เราสามารถเป็นฮับทั้ง 4 เรื่องเลย เป็นฮับ คือสามารถที่จะเซิร์ฟในระดับโลกได้ หรือนำไปสู่การเซิร์ฟในระดับภูมิภาคได้ และทั้งหมดก็จะหนีไม่พ้น ความเป็น 5.0 ก็คือ คน เทคโนโลยี เป็นหนึ่งเดียวกัน บางคนไปถึงขั้นที่ว่าต่อไปมนุษย์จะเป็น ไซบอต พวกเราเข้าใจคำว่า ไซบอตไหม คือมันมีฝังชิป ฝังอะไรอยู่ในตัว แม้กระทั่งบางส่วนต่อไปก็เป็นอวัยวะเทียม

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ถ้าคนกลายเป็นมนุษย์อัจฉริยะหรือยอดมนุษย์ องค์กรกลายเป็นองค์กรอัจฉริยะ แต่ไม่ได้มีเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม ถ้าในภาษา Corporate เราเรียก governance ถ้าเราพูดโดยทั่วไปในวัฒนธรรม เราเรียกคุณธรรม จริยธรรม ถ้าเราพูดถึงศาสนาพุทธ ก็คือ Compassion เป็นหลัก

3 สิ่งสำคัญในการดำรงอยู่ของเรา

ผมอยากจะจบด้วย เรื่องในความสำคัญของการดำรงอยู่ของเรา ในฐานะมนุษยชาติ เราก็บอกพูดถึงเรื่องของ ความยั่งยืน เพื่อให้เราดำรงอยู่ได้ ความยั่งยืนมีมิติ ประกอบ 3 อัน คือ สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม แต่ถ้าเราย่อยลงมาถึง ระดับองค์กร หรือ อุตสาหกรรมของเรา ถ้าสังคมเราก็หมายถึง วัฒนธรรมองค์กร ธรรมาภิบาลขององค์กร เศรษฐกิจ เราก็หมายถึง Productivity ขององค์กร ศักยภาพในการตอบสนองตลาด ความต้องการของตลาดขององค์กร และถ้าเราพูดถึง Nation evolution หรือ environment เราพูดถึงธรรมชาติที่มันเปลี่ยนแปลง องค์กรก็มีธรรมชาติความเปลี่ยนแปลง มันก็คือ Evolution ก็คือนวัตกรรม

นวัตกรรม คืออะไร นวัตกรรมคือการใช้ปัญญาในการปรับตัว มีการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง รากฐานของมนุษยชาติ ทั้งปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม ที่เปลี่ยนไปและทั้งปรับตัวในการที่จะสร้างสิ่งแวดล้อมใหม่ที่ดีขึ้น อันนั้นก็คือ ปัญญา ถ้าเรามอง 3 เรื่องนี้ย่อยลงมาถึงระดับของปัจเจกบุคคล เราก็จะเข้าใจว่าจริง ๆ แล้ว พื้นฐานของชีวิตก็ไม่ต่างกัน

ถ้าเราพูดถึงเรื่องของคุณค่า พูดถึงความรัก ความเมตตา อันนี้เป็นพื้นฐานของมนุษยชาติ เราพูดถึงซีเคียวริตี้ และความอยู่รอดและเราก็พูดถึง ความฝัน ความสามารถในการปรับตัว 3 เรื่องนี้ มันเป็นหลัก แต่ทั้งหมดทั้งปวง ไม่ว่าความฝันและจินตนาการ ทางด้านวิทยาศาสตร์จะไปล้ำหน้าแค่ไหน หรือจะพิชิตอวกาศแค่ไหน จะอัจฉริยะแค่ไหน หรือว่าความอยู่รอด มันจะสำคัญแค่ไหน แต่ทั้งสองสิ่งมันจะอยู่รอดได้จริง และมีความมั่นคง และมันจะได้ความฝัน และจินตนาการที่เป็นความฝันที่ยิ่งใหญ่ จะต้องยืนอยู่บนความรัก ความเมตตา

ดูข่าวต้นฉบับ