ทั่วไป

'ผ้าซิ่นตีนจกลาวครั่ง' มรดกทางวัฒนธรรมผืนสุดท้ายของกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคเหนือตอนล่าง

สวพ.FM91
อัพเดต 23 ม.ค. 2565 เวลา 21.54 น. • เผยแพร่ 23 ม.ค. 2565 เวลา 21.54 น.

กรมหม่อนไหม โดยศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ตาก สำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เขต 1 เข้ามาส่งเสริมและพัฒนา ด้วยการฝึกอบรมการทอ การออกแบบลวดลาย การรับรองมาตรฐานตรานกยูงพระราชทาน ตลอดจนสนับสนุนปัจจัยการผลิตและจัดตั้งธนาคารเส้นไหม โดยได้รับงบประมาณจากกรมหม่อนไหม มีสมาชิก 24 ราย สมาชิกได้ใช้ประโยชน์จากธนาคารเส้นไหม มีงานทำและมีรายได้ต่อเนื่อง ปัจจุบันมีเงินทุนหมุนเวียนในกลุ่มประมาณ 100,000 บาท

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิต-19 ส่งผลกระทบต่อการผลิตและการจำหน่ายผ้าไหมของกลุ่ม ประกอบกับเยาวชนรุ่นหลัง ไม่เห็นความสำคัญของภูมิปัญญาการใช้ผ้าไหม ซึ่งสำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เขต 1 และศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ตาก จะได้จัดทำแผนสนับสนุนด้วยการจัดหาช่องทางการจำหน่าย พัฒนาลวดลายให้ตรงกับความต้องการของตลาดและสร้างทายาทหม่อนไหมในโรงเรียนต่อไป

บ้านสระยายชี ตำบลเนินปอ อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร เป็นชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง ที่อพยพมาจากเมืองหลวงพระบาง ช่วงรัชกาลที่ 1 นอกจากการทำนา ที่เป็นอาชีพหลักแล้ว การทอผ้าไหม ผ้าฝ้าย ก็ยังเป็นวิถีชีวิตที่สืบทอดกันมาแต่ครั้งบรรพบุรุษ มีลายผ้าที่เป็นเอกลักษณ์คือ ผ้าซิ่นตีนจกลาวครั่ง

ดูข่าวต้นฉบับ