ไอที ธุรกิจ

Axios International เปิดตัว Axios+ แอปบริการดิจิทัลเฮลท์แคร์ ครอบคลุมทั้งแพทย์ คนไข้ และเภสัชกร

TODAY
อัพเดต 13 มี.ค. 2565 เวลา 05.18 น. • เผยแพร่ 13 มี.ค. 2565 เวลา 05.17 น. • workpointTODAY

Axios International บริษัทด้านเฮลท์แคร์ระดับโลกที่เน้นใช้เทคโนโลยี ควบคู่ไปกับการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานสุขภาพของประเทศต่างๆ เปิดตัวบริการใหม่ Axios+ ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ 

Axios+ คือ โซลูชั่นการดูแลสุขภาพแบบดิจิทัลครบวงจรโดยทางบริษัทตั้งเป้ามี 500 โรงพยาบาลในไทยใช้งาน สอดรับกับเทรนด์รักษาทางไกล หรือ tele medicine ที่เริ่มเป็น new normal มากขึ้นจากโควิด-19

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ใน Axios+ จะมี 3 แอปพลิเคชันแยกย่อยออกไปคือ

1) MyHealth สำหรับผู้ป่วยให้ผู้ป่วยติดตามสถานะการรักษาของตัวเองได้ และยังสามารถดูข้อมูลเรื่องยาที่ตัวเองต้องใช้ นัดหมายรับยาได้จากเภสัชกรโดยตรง และอัพโหลดเอกสารสำคัญในการรักษาของตัวเองขึ้นระบบได้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

2) MyPatients สำหรับแพทย์ ในแอปนี้ แพทย์สามารถแนะนำผู้ป่วยโดยตรงจากแอพ อัพโหลดแบบฟอร์ม เซ็นชื่อแบบดิจิทัล รวมถึงติดตามความคืบหน้าของผู้ป่วย ช่วยให้แพทย์เห็นภาพการรักษาของผู้ป่วยตลอดเส้นทาง 

3) MyPharmacy สำหรับเภสัชกร มองเห็นและจัดการข้อมูลยากับคนไข้ รวมถึงเอกสารสำคัญอย่างใบเสร็จ ใบรับยา 

ทั้งสามทำงานอยู่บนโครงสร้างพื้นฐานคือ PSP (Patient Support Program) ซึ่งจัดการโดย Axios มีเป้าหมายเพื่อย่นระยะเวลาการทำงานของแพทย์ 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

Axios+ ยังมี MyPrograms ที่ช่วยให้ผู้สนับสนุนตรวจสอบประสิทธิภาพของโปรแกรมได้ รวมถึง MyDistributor ซึ่งเปิดทางให้ผู้จัดจำหน่ายสามารถส่งยาไปยังโรงพยาบาลและร้านขายยาได้ 

ในงานเปิดตัว Axios+ ยังมีสัมมนาพูดคุยในหัวข้อ Optimizing the Patient Journey Through Digital Healthcare Solutions วิทยากรประกอบด้วย

  • Roshel Jayasundera ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายให้คำปรึกษาระดับโลกของ Axios International 
  • Raphael Itah หัวหน้าฝ่ายดิจิทัลของ Axios International 
  • รศ.นพ. จุลจักร ลิ่มศรีวิไล อาจารย์ด้านระบบทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมอภิปรายเกี่ยวกับบทบาทในปัจจุบันของโซลูชั่นดิจิทัลด้านการดูแลสุขภาพในประเทศไทย 
  • ดำเนินการเสวนาโดย ดร.นเรศ ดำรงชัย ประธานกรรมการบริหาร บริษัท Genepeutic Bio จำกัด

Roshel มองว่า เทคโนโลยีเพื่อการแพทย์ ไม่มี one-size-fits-all ที่จะสามารถเหมารวมผู้ป่วยในทุกสถานการณ์ได้ Axios จึงจัดหาโซลูชันการเข้าถึงที่สามารถปรับแต่งได้ ให้เหมาะกับสุขภาพและความต้องการของผู้ป่วยแต่ละคน

ด้าน รศ.นพ. จุลจักร มองว่า “ในฐานะแพทย์ การระบาดใหญ่ของ COVID-19 ทำให้เราต้องเปิดกว้างมากขึ้นสำหรับโซลูชันดิจิทัล ซึ่งมีประโยชน์มากเมื่อเครื่องมือที่เหมาะสมถูกใช้ในเวลาที่เหมาะสม 

ข้อได้เปรียบที่สำคัญคือโซลูชันเหล่านี้ช่วยให้แพทย์และผู้ป่วยสามารถรักษาความสัมพันธ์ระหว่างกันได้ ผู้ป่วยจะมั่นใจได้ว่าแพทย์เจ้าของไข้ ยังคงตระหนักถึงอาการของตนเอง และสามารถรักษาได้โดยไม่ต้องนัดหมายทางกายภาพแบบไม่จำเป็น

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกกรณีที่จะใช้โซลูชันเข้ามาจัดการได้ เป็นที่ชัดเจนอยู่แล้วว่า กรณีฉุกเฉิน หรือโรคภัยบางประเภทยังต้องใช้วิธีการรักษาดั้งเดิม 

แต่ในสถานการณ์โรคระบาด เราพบว่า tele medicine เป็นทางเดียวที่จะรักษาคนไข้ได้ ถ้าไม่มีโซลูชันอะไรเลย สถานการณ์จะแย่กว่านี้”

Raphael Itah มองว่า ไทยมีความแข็งแกร่งทางโครงสร้างดิจิทัล มีนโยบายที่อยากจะนำประเทศไปสู่ 4.0 มีนวัตกรรมเพื่อสุขภาพของตัวเอง การแพร่ระบาดยังปูทางไปสู่รูปแบบไฮบริดที่ระบบดิจิทัลมีบทบาทสำคัญมากขึ้นจนเทียบได้กับการเดินทางไปคลินิกและโรงพยาบาล 

ข้อมูลจาก  Bain & Co พบว่า แนวโน้มของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีผู้ป่วยที่สมัครสมาชิกบริการพบแพทย์ทางไกลหรือ Telemedicine เพิ่มขึ้นเป็นเลขสามหลักในช่วงการระบาดใหญ่ ขยายตัวสูง 141% ในสิงคโปร์ แสดงให้เห็นถึงการตระหนักรู้และความจำเป็นของอุตสาหกรรมในการก้าวไปสู่ยุค Digital Health ร่วมกัน

ดูข่าวต้นฉบับ