ไลฟ์สไตล์

ฉี่ในสระว่ายน้ำ..อันตรายใกล้ตัวที่คาดไม่ถึง

LINE TODAY
เผยแพร่ 18 ก.ย 2560 เวลา 07.59 น.

เคยฉี่ในสระว่ายน้ำกันใช่ไหม..ยอมรับมาดี ๆ ใครเคยปลดเบาในสระว่ายน้ำมาแล้วบ้าง เชื่อว่าแทบทุกคนต้องเคยแอบชิ้งฉ่องลงในสระว่ายน้ำ เพราะขี้เกียจออกจากสระหรือขี้เกียจแกะชุดว่ายน้ำในห้องน้ำ ก็เลยเลือกที่จะปลดปล่อยกันในสระให้รู้รอดแล้วรู้รอด ด้วยความเชื่อที่ว่าใคร ๆ เค้าก็ทำกันหรือนิดเดียวไม่เป็นไรหรอก

ด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม รู้หรือไม่ว่านักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแอลเบอร์ตา เอ็ดมันตัน เก็บตัวอย่างจากสระว่ายน้ำและบ่อน้ำอุ่นรวม 31 แห่งจาก 2 เมืองในแคนาดา เป็นเวลา 3 สัปดาห์ พบว่าในสระว่ายน้ำที่มีความจุ 830,000 ลิตร หรือประมาณ 1 ใน 3 ของสระว่ายน้ำในโอลิมปิก จะมีน้ำปัสสาวะเจือปนอยู่ประมาณ 75 ลิตร ขณะที่สระขนาดลดลงมาจะมีปัสสาวะเฉลี่ยราว 30 ลิตร เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนแล้วอาจดูเหมือนน้อยนิดจนไม่น่าจะเป็นอันตรายอะไรได้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

แต่อย่าลืมว่าปัสสาวะคือน้ำส่วนเกินที่ขับออกจากร่างกาย แม้จะเคยมีความเชื่อว่าในสระว่ายน้ำมีคลอลีนที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้หมด แม้แต่เชื้อที่มากับปัสสาวะด้วยก็ตาม ซึ่งความเชื่อนี้เป็นข่าวลือที่ผิดไปจากความจริงเอามาก ๆ มีผลวิจัยออกมาแล้วว่าที่จริงคลอรีนไม่ได้ฆ่าสิ่งที่อยู่ในปัสสาวะใด ๆ เลย แถมเมื่อไปรวมตัวกันยังก่อให้เกิดสารใหม่ที่อานุภาพร้ายแรงกว่าเดิมอีกต่างหาก

อย่างที่รู้กันว่าในปัสสาวะมีสารยูรีน และในสระว่ายน้ำก็มีสารคลอรีน เมื่อเจ้าสาร 2 ตัวนี้ไปทำปฏิกิริยาทางเคมีกันจะก่อให้เกิดสารเคมีชนิดใหม่ที่ชื่อว่า “ไซยาโนเจน คลอไรด์” ซึ่งเป็นสารพิษในตระกูลเดียวกันกับ “ไซยาไนด์” ที่รู้กันดีว่ามีอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ถึงไซยาไนด์จะไม่ถูกจัดว่าเป็นสารก่อมะเร็ง แต่ก็มีฤทธิ์ทำให้ถึงแก่ความตายได้หากร่างกายได้รับเกินค่ามาตรฐานที่กำหนด

แม้ในสระว่ายน้ำจะไม่ได้มีสารไซยาโนเจน คลอไรด์ที่เพียงพอจะทำให้ถึงแก่ความตายได้ แต่ก็ก่อให้เกิดอันตรายกับร่างกายเราได้เหมือนกัน โดยเฉพาะทำให้ระคายเคืองบริเวณรอบดวงตาและระบบทางเดินหายใจ ซึ่งถ้าอยู่ ๆ ว่ายน้ำในสระแล้วเกิดตาแดงก่ำหรือเคืองตามากเป็นพิเศษขึ้นมา ก็ไม่ต้องหาเหตุผลให้ยุ่งยากเลย มีคนแอบฉี่ลงสระแน่นอน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นอกจากทำให้ระคายเคืองตาแล้ว ฉี่ที่รวมกับคลอรีนยังแอบมีผลกับระบบทางเดินหายใจด้วย เช่น ใครที่เป็นโรคหอบหืดอยู่แล้ว ถ้ามาเจอสระว่ายน้ำที่อุดมไปด้วยปัสสาวะ จากที่หวังว่าจะมีร่างกายแข็งแรงขึ้นก็อาจทำให้เกิดปัญหาตามมาได้ 

เพราะฉะนั้นถ้ารู้ทั้งผลวิจัยและผลของการฉี่ในสระว่ายน้ำที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ น่าจะทำให้หลายคนเลิกพฤติกรรมฉี่ลงสระไปได้บ้าง อย่างน้อยก็ขอให้คิดว่านี่คือของสาธารณะที่เราต้องใช้ร่วมกัน เริ่มต้นจากตัวเราก่อน แล้วโลกเราจะน่าอยู่ขึ้น

ความเห็น 11
  • Jitrin
    เมื่ออ่านจบหวังว่าจะเพียงแค่เตือนสติว่าอย่าฉี่ลงสระว่ายน้ำ แต่อย่ากลัวจนเลิกว่ายน้ำไปเลย เพราะทั้งคลอรีนและไซยาโนเจนคลอไรด์มีจุดเดือดต่ำจึงไม่เสถียรจะระเหยไปในอากาสได้ง่าย ปกติเขาเติมคลอรีนหลังปิดสระ ประกอบกับบ้านเราอากาศร้อน และสระส่วนใหญ่เป็นสระเปิด ดังนั้นกว่าจะถึงเวลาเปิดสระสารทั้ง 2 ชนิดก็เหลือปริมาณน้อยมาก
    18 ก.ย 2560 เวลา 12.15 น.
  • Nuzz Lightyear
    เลอะ!!! ต้นฉบับเขาบอกว่า "กรณีเลวร้ายที่สุด" (ซึ่งไม่มีทางเป็นจริง) ในหลอดทดลอง (ขอย้ำอีกทีว่าไม่มีทางเป็นจริง) สารทั้ง 2 จะรวมตัวกันเป็นไอ้สารตะบักตะบวยที่ว่า แปลได้ห่วยบรม...
    18 ก.ย 2560 เวลา 12.34 น.
  • เงินเดือน
    อย่าว่าวในสระแล้วกัน
    18 ก.ย 2560 เวลา 16.35 น.
  • แอ๊บเปิ้ลจุ๊บ
    คงจะแก้ยากค่ะ..
    18 ก.ย 2560 เวลา 14.10 น.
  • จุ้น-บ๊อ
    ไร้สาระที่สุด ก่อนจะเขียนข่าวศึกษาให้ดีๆก่อน มั่วๆๆๆๆ
    17 ม.ค. 2562 เวลา 13.13 น.
ดูทั้งหมด