ไลฟ์สไตล์

พาราเบน สารเคมีในเครื่องสำอางที่เราต้องระวัง

Motherhood.co.th
เผยแพร่ 21 ส.ค. 2562 เวลา 06.15 น. • Motherhood.co.th Blog

พาราเบน สารเคมีในเครื่องสำอางที่เราต้องระวัง

ในเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทำความสะอาดร่างกาย ล้วนมีส่วนผสมจากสารเคมีหลายชนิด และบางชนิดก็อาจเป็นอันตราย อย่างเช่น "พาราเบน" ที่ในสมัยนี้ผู้คนพยายามหลีกเลี่ยงกันมาก และทางแบรนด์ต่างๆเองก็พยายามโฆษณาว่าผลิตภัณฑ์ของตนนั้นปราศจากสารตัวนี้ ทำให้ผู้บริโภคใช้งานได้อย่างปลอดภัย แต่อันตรายจริงๆของมันคืออะไร ในฐานะพ่อแม่ มีอะไรที่พวกเราต้องระวังเกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆกับลูกน้อยบ้าง วันนี้ Motherhood นำเอาสาระเกี่ยวกับสารพาราเบนในเครื่องสำอางมาฝากกันค่ะ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ถึงแม้ว่าทั่วโลกจะมีกระแแสตื่นตัวถึงอันตรายของสารเคมีต่างๆที่ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง แต่ในบ้านเราก็ยังมีอีกหลายที่ยังไม่คุ้นเคยกับสารที่มีชื่อว่า พาราเบนส์ (Parabens) แต่ในต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศอเมริกาและประเทศทางแถบยุโรป กำลังให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารนี้ เช่น แชมพู สบู่ ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย ครีมกันแดด เครื่องสำอาง รวมถึงผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก

พาราเบนส์คือสารกันบูดที่ใส่ลงในเครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ดูแลผิวเด็ก

พาราเบนส์ คืออะไร?

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

พาราเบนส์ (Parabens) คือ สารเคมีที่ถูกคิดค้นขึ้นในช่วงปีค.ศ. 1950 เพื่อนำมาใช้เป็นสารกันบูดในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ใช้ต้านการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์อย่างแบคทีเรียและเชื้อราได้ดี ทั้งในเครื่องสำอาง อุปกรณ์อาบน้ำทารก ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย แชมพู ครีมนวดผม และผลิตภัณฑ์บำรุงผิวต่างๆ

ทำไมถึงมีการใช้พาราเบนส์ในผลิตภัณฑ์?

เพราะพาราเบนส์มีราคาถูกและมีประสิทธิภาพสูงในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรียที่จะเป็นอันตรายต่อผู้ที่ใช้ และพาราเบนส์ยังใช้เพื่อยืดอายุผลิตภัณฑ์ให้อยู่ได้นานโดยไม่ต้องนำไปแช่เย็นอีกด้วย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

แต่ในทางตรงกันข้าม มีข้อมูลว่าพาราเบนส์นั้นสามารถทำลายฮอร์โมนของร่างกายที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ทั้งเพศชายและเพศหญิง เช่น เอสโตรเจน และ เทสโทสเตอโรน มีความเชื่อว่าฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มากเกินไปอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการกระตุ้นการแบ่งเซลล์ของเต้านมและเกิดการเจริญเติบโตของเนื้องอก นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงเชื่อมโยงการใช้งานพาราเบนส์ว่าเกี่ยวข้องกับมะเร็งเต้านมและปัญหาการสืบพันธุ์

ในปี 2004 มีการศึกษาวิจัยจากประเทศอังกฤษที่พบว่ามีสารพาราเบนส์ 5 ชนิดตกค้างอยู่ภายในเนื้อเยื่อจากเต้านมของผู้หญิงจำนวน 19 คน จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 20 คน ถึงแม้ว่าการศึกษาวิจัยชิ้นนี้จะไม่ได้บ่งชี้โดยตรงว่าพาราเบนส์เป็นต้นเหตุของมะเร็ง แต่ก็เป็นที่แน่นอนว่ามันสามารถซึมซาบเข้าไปในเนื้อเยื่อและตกค้างอยู่ในนั้นได้จริง

ทางประเทศเดนมาร์กก็มีการทำวิจัยออกมาเช่นเดียวกัน ผลของการวิจัยแสดงให้เห็นว่าสามารถตรวจพบพาราเบนส์ในเลือดและปัสสาวะของอาสาสมัครชายหนุ่มที่มีสุขภาพดีไม่กี่ชั่วโมง หลังจากให้พวกเขาได้ใช้โลชั่นกับผิว

จากการวิจัยทั่วโลก บ่งชี้ว่าพาราเบนส์นั้นซึมซาบเข้าสู่ผิวหนังได้แน่นอน

นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของพาราเบนยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพและการตั้งครรภ์มากมาย เช่น

  • ความผิดปกติของพัฒนาการ
  • ภาวะการมีบุตรยาก
  • การแท้งบุตร
  • คลอดก่อนกำหนด
  • ความพิการแต่กำเนิด
  • สเปิร์มไม่สมบูรณ์
  • โรคอ้วน
  • โรคเกี่ยวกับระบบการเผาผลาญอาหาร
  • ความหนาแน่นของกระดูก

แม้จะยังมีข้อถกเถียงในเรื่องความเสี่ยงต่างๆเกิดขึ้นมากมายทั่วโลก แต่พาราเบนส์ก็ได้รับการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุขบ้านเราแล้วว่าปลอดภัย เมื่อใส่ลงในผลิตภัณฑ์ต่างๆตามส์ปริมาณที่กำหนด คือไม่เกิน 0.25% เราจึงยังสามารถพบสารพาราเบนส์ได้ในผลิตภัณฑ์ทั่วไปที่เราใช้กันอยู่ทุกวัน หรือในประเทศญี่ปุ่น ที่ทางการอนุญาตให้ใช้เฉพาะสารกันเสียที่เป็นพาราเบนส์เท่านั้น

จะหลีกเลี่ยงการใช้พาราเบนส์ได้อย่างไร?

เนื่องจากยังไม่มีข้อสรุปที่สามารถยืนยันอันตรายจากการสัมผัสสารพาราเบนส์ ที่แม้จะมีปริมาณเล็กน้อยผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์ความงามและผลิตภัณฑ์อาบน้ำเด็กตามท้องตลาดทั่วไป แต่เราก็ยังไม่สามารถวางใจได้ว่าส่วนประกอบต่างๆที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ดูแลทารกและเครื่องสำอางนั้นนั้นมีความปลอดภัยเพียงพอ เพราะหลักฐานที่มีอยู่ยังไม่มากพอที่จะให้เชื่อได้ว่าพาราเบนส์ในเครื่องสำอางนั้นจะปลอดภัยจริงเช่นกัน

อ่านฉลากผลิตภัณฑ์ให้ดี หากต้องการหลีกเลี่ยงพาราเบนส์

ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น ก่อนซื้อเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สำหรับทารก คุณพ่อคุณแม่ควรอ่านฉลากผลิตภัณฑ์ให้ดี เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากสารพาราเบนส์ หรือมองหาผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่า Parabens Free ย่อมปลอดภัยและสบายใจกว่า โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตบนฉลากผลิตภัณฑ์ว่ามีส่วนผสมของสารพาราเบนส์หรือไม่ หากมี ก็จะพบรายชื่อระบุไว้ เช่น

  • Methylparaben
  • Ethylparaben
  • Propylparaben
  • Butylparaben
  • Isobutylparaben
  • Isopropylparaben

สำหรับรายชื่อสารกันบูดที่ได้รับการรับรอง สามารถเข้าไปเช็คดูได้กับ ECOCERT  ซึ่งเป็นหน่วยรับรองสำหรับการพัฒนามาตรฐานของเครื่องสำอางธรรมชาติและออร์แกนิก

แล้วจะใช้อะไรทดแทน?

เพราะมีข้อถกเถียงถึงความปลอดภัยในการใช้สารพาราเบนส์เป็นสารกันเสีย ทำให้หลายบริษัทใหญ่ในวงการเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กเริ่มหันมาใช้สารสกัดจากธรรมชาติทดแทน เช่น จากเมล็ดองุ่น ซึ่งจะได้สารเทียบเคียงกับ Methylparabens ทำให้มีผลิตภัณฑ์ปลอดสารสังเคราะห์มากมายในท้องตลาดที่มีประสิทธิภาพเท่ากัน

หากคุณพ่อคุณแม่อยากจะมั่นใจ และต้องการหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีพาราเบนส์เป็นส่วนผสม ให้เลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช้ส่วนผสม เช่น Ethylhexylglycerin ซึ่งได้มาจากพืช หรือ Phenoxyethanol ที่สกัดจากอีเทอร์แอลกอฮอล์จากธรรมชาติ เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง

ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม สารเคมีจะเป็นสารเคมีอยู่วันยังค่ำ จะเป็นการดีที่สุดถ้าทุกอย่างถูกนำมาใช้อย่างเหมาะสม เป็นความคิดที่ไม่เลวหากคุณพ่อคุณแม่จะเลือกใช้งานผลิตภัณฑ์ดูแลผิวลูกรักโดยสลับไปมาระหว่างผลิตภัณฑ์แบรนด์ต่างๆ เพื่อป้องกันการสะสมของสารเคมี เพราะก็ยังมีสารเคมีชนิดอื่นๆที่ทั่วโลกมีกระแสแนะนำให้หลีกเลี่ยงอยู่เหมือนกัน

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 4
  • R @ R
    มีอยู่ในทุกผลิตภัณฑ์ แล้วผู้บริโภคจะทำอย่างไรในเมื่อผู้ผลิต ใส่มาทุกผลิตภัณฑ์
    21 ส.ค. 2562 เวลา 07.20 น.
  • ต้องใช้อยู่ทุกวัน
    21 ส.ค. 2562 เวลา 07.31 น.
  • เลิกใช้แม่งหมดทุกอย่างเลย ตัดปัญหา
    21 ส.ค. 2562 เวลา 08.01 น.
  • Test1😊ตื่น🌞
    😊
    21 ส.ค. 2562 เวลา 07.49 น.
ดูทั้งหมด