ไลฟ์สไตล์

รู้หรือไม่ "ครุฑ" ตามหน่วยงานราชการไทย ใครเป็นคนปั้น?

ศิลปวัฒนธรรม
อัพเดต 03 ก.พ. 2566 เวลา 20.02 น. • เผยแพร่ 03 ก.พ. 2566 เวลา 19.58 น.
ครุฑ ตราตั้งหน้าสำนักงานธนาคารกรุงเทพ สีลม

ในศิลปกรรมไทยนั้นมีรูป “ครุฑ” ปรากฏในภาพเขียนโบราณ ลายหน้าบันพระอุโบสถ ลายรดน้ำ ในเรือพระราชพิธี ครุฑจึงผูกพันกับคนไทยมายาวนานเราจะเห็นรูปครุฑเป็นพาหนะให้พระนารายณ์ ครุฑยุดนาค และครุฑได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย มาแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบันและครุฑได้เป็นตราพระราชลัญจกร เรียกว่าครุฑพ่าห์

พระราชลัญจกรครุฑพ่าห์ เป็นพระราชลัญจกรสำหรับกรุงศรีอยุธยาประจำชาดและประจำครั่ง ผนึกพระราชสาส์นและหนังสือสัญญานานาประเทศเป็นพระราชลัญจกรประจำแผ่นดิน หรือตราแผ่นดิน จนถึงสมัยรัชกาลปัจจุบัน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

แลใช้เป็น“ครุฑตราตั้ง” เป็นสัญลักษณ์แห่งเกียรติยศ ที่พระราชทานให้บริษัทเอกชนหรือกิจการงานหลวงหรือส่วนราชการ ซึ่งบริษัทเอกชนบางบริษัทอาจได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้เป็นเครื่องหมายตราตั้งเพื่อเป็นเกียรติยศแก่บริษัทห้างร้าน ซึ่งใช้ตัวหนังสือ โดยได้รับพระบรมราชานุญาต ประกอบเบื้องล่างตัวตราครุฑด้วย ครุฑที่ปรากฏเป็นตราตั้งแสดงอยู่หน้าบริษัทห้างร้านหรือหน่วยราชการในประเทศไทยนั้น ปั้นโดยช่างปั้นครุฑที่มีฝีมือดีที่สุดของประเทศไทย ชื่อ สัญญา วงศ์อร่าม

สัญญา วงศ์อร่าม จบจากมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นลูกศิษย์คนโปรดของ ชลูด นิ่มเสมอ และเป็นศิลปินไทยคนแรกที่ได้รับทุนไปเรียนต่อที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ และกลับมาสอนหนังสือที่คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2512

ผลงานการปั้นครุฑของ สัญญา วงศ์อร่าม นั้น มีปรากฏอยู่ที่หน้าอาคารธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ ถนนสีลม หน้าอาคารเทเวศประกันภัย หน้าบริษัทไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย และที่อื่น ๆ อีกมากฝีมือการปั้นครุฑตราตั้งของสัญญานั้น มีขั้นตอนที่ละเอียดอ่อนมาก โดยเฉพาะฝีมือการปั้นของเขานั้นงดงามไม่แพ้งานของช่างโบราณสมัยอยุธยา เพราะสัญญาเป็นคนที่ศึกษาหาความรู้เรื่องครุฑจากทั่วโลก รู้จักครุฑทุกรูปแบบในโลก จนสามารถเขียนหนังสือเรื่องครุฑออกมาเล่มหนึ่งสมบูรณ์มาก

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ในขณะเดียวกันด้วยประสบการณ์การปั้นที่เชี่ยวชาญของเขา ทำให้สัญญาสามารถลำดับขั้นตอนการปั้นครุฑไว้เป็นตำราสำหรับคนรุ่นหลังด้วย นับเป็นงานที่มีคุณค่าไม่่่แพ้งานปั้นครุฑของเขา ด้วยวิชาความรู้การปั้นนั้น มักสูญหายไปกับช่างผู้ปั้นเสมอ ครุฑของสัญญาจึงมีรูปแบบที่เป็นครุฑที่มีอำนาจมีพลัง มีอิทธิฤทธิ์ มิใช่ครุฑที่เป็นเพียงปูนปั้นธรรมดา มันสง่างาม ยิ่งใหญ่ และน่าเกรงขาม

สัญญา แม้จะเรียนมาทางจิตรกรรม แต่เขากลับชำนาญในทางปั้นไม่แพ้กัน และไม่ทิ้งงานที่เขารักอย่างภาพพิมพ์ ภาพวาด เขาทำงานภาพพิมพ์และวาดภาพไปพร้อมกับงานปั้นอย่างไม่เคยหยุดนิ่ง และมีความเป็นครูที่ต้องการถ่ายทอดวิชาอย่างมั่นคงแน่วแน่

อ่านเพิ่มเติม :

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่

อ้างอิง :

นิวัติ กองเพียร. (ตุลาคม, 2551). “ช่างปั้นครุฑ สัญญา วงศ์อร่าม”. ใน ศิลปวัฒนธรรม. ปีที่ 29 (ฉบับที่ 12).

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 17 กันยายน 2561

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 8
  • Chai
    สมัยสัตว์มงคลเชิงสัญลักษณ์มีใช้ในชาติมหาอำนาจทั้งอเมริกา= อินทรีหัวขาว เยอรมัน= อินทรีทอง ไทยเราก็มีไม่น้อยหน้าเช่นกัน
    16 มี.ค. 2564 เวลา 04.05 น.
  • Sak
    ครุฑและครุฑยุดนาคน่าจะมาจากขอม..เหนได้ในเขมรทุกวันนี้ครับ
    04 ก.พ. 2566 เวลา 19.58 น.
  • golffie
    🎉🎉🎉🎉🎉🎉🎉🎉🎉🎉 🎉🎉🎉รับด่วน🎉🎉🎉 อยู่กรุงเทพ ปริมณฑลรับเป็นพิเศษ ขอคนที่รับผิดชอบงานจริงๆ (เพราะไม่มีเจ้านาย) งานตอบแชทลูกค้า Facebook / Line ทำงานในอ๊อฟฟิต หรือ รับมาทำที่บ้านได้ #เป็นบริษัทจากอเมริกา *งานถูกต้องตามกฏหมาย* 👤คุณสมบัติผู้สมัคร👤 1. รับอายุ 18-60 ปี (ไม่จำกัดเพศ) 2. ไม่จำกัดวุฒิการศึกษา 3. ขยัน/ รับผิดชอบงาน/ ตั้งใจจริงๆ **Part time *Full time #รายได้ 18,000-30,000/เดือน หรือมากกว่านี้ ขึ้นอยู่กับความขยัน สนใจงานแอด Line ID : @gmt9811n (ใส่@ด้วย) 🎉🎉🎉🎉🎉🎉🎉🎉🎉🎉
    21 ส.ค. 2562 เวลา 07.40 น.
  • หมายถึง ปั้น..ต้นแบบ..เสร็จ สร้างพิมพ์หล่อ สำเร็จ เมื่อ ต้องการ ชิ้นงานใหม่ ก็ใช้หล่อการหล่อพิมพ์ เพื่อให้ชิ้นงาน คงรูปแบบ ไม่ผิดเพี้ยน จากต้นแบบ..เท่าที่สังเกตุ ลักษณะจะเหมือนกันหมด..สี ที่ทา ทนทานมาก..เมื่อ ยกขึ้นติดตั้ง ไม่เคยเห็นข่าว ว่าเอาลงมาซ่อมแซม หรือทาสีใหม่เลยนะ...ส่วนครุฑ จากอินโดนีเซีย ที่ มอบให้ ธนาคารแห่งประเทศไทย บางขุนพรหม ก็ สง่างาม น่าเกรงขาม มากเหมือนกันนะ..
    09 มี.ค. 2562 เวลา 08.47 น.
  • มังกรขาว
    นี่แหละจุดเหลื่อมล้ำของไทยยุคต้นๆเลยนะ
    09 มี.ค. 2562 เวลา 05.48 น.
ดูทั้งหมด