ไลฟ์สไตล์

ภาพประวัติศาสตร์ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 พร้อมข้าราชบริพารฝ่ายหน้า

ศิลปวัฒนธรรม
อัพเดต 24 ก.พ. 2565 เวลา 23.02 น. • เผยแพร่ 24 ก.พ. 2565 เวลา 22.36 น.
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องบรมราชภูษิตาภรณ์ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก (ภาพจาก : ประชุมภาพประวัติศาสตร์ทหารและตำรวจ พิมพ์ในงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี โดยคณะกรรมการพิจารณาและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2525)

พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องบรมราชภูษิตาภรณ์ ประทับเหนือพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พร้อมด้วยข้าราชบริพารฝ่ายหน้าเชิญเครื่องราชอิสริยยศทรงฉาย เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2468 ขณะพระชนมายุ 31 พรรษา

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องบรมราชภูษิตาภรณ์ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก (ภาพจาก : ประชุมภาพประวัติศาสตร์ทหารและตำรวจ พิมพ์ในงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี โดยคณะกรรมการพิจารณาและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2525)
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

จากซ้าย

ที่ 1 หม่อมราชวงศ์ สล้าง ลดาวัลย์ เชิญ พระแสงของ้าวแสนพลพ่าย
ที่ 3 นายทัต สุจริตกุล เชิญ พระแสงดาบเชลย
ที่ 5 พระยาบริหารราชมานพ (เนียร สาคริก) เชิญ ธารพระกรชัยพฤกษ์
ที่ 16 พระยาไพชยนต์พลเทพ (ทองเจือ ทองเจือ) เชิญ พระแสงขรรค์ชัยศรี
ที่ 17 พระมหามนตรี (ฉัตร โชติกเสถียร) เชิญ ธารพระกรเทวรูป
ที่ 18 นายรองเสนองานประภาษ (แสวง โรหิตจันทร์) เชิญ พระแสงหอกเพชรรัตน์
ที่ 20 นายรองสนองราชบรรหาร (อัมพร วัชโรทัย) เชิญ พระแสงปืนข้ามแม่น้ำสโตง

บรรดาพระแสงราชศัสตราวุธที่เกี่ยวข้องกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก มี 10 ชนิด คือ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

พระแสงขรรค์ชัยศรี เป็นเครื่องราชูปโภค
พระแสงฝักทองเกลี้ยง เป็นอาวุธประจําพระองค์

และอาวุธอีก 8 อย่าง ที่เรียกว่า “พระแสงอัษฎาวุธ” คือพระแสงที่ทรงใช้ตามเหตุการณ์ ในหน้าที่ของนักรบโบราณ คือ

พระแสงหอกเพชรรัตน์ พระแสงดาบเชลย พระแสงตรี
พระแสงจักร พระแสงเขนมีดาบ พระแสงธนู
พระแสงของ้าวพลพ่าย พระแสงปืนคาบชุดข้ามแม่น้ำสโตง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ภาพและข้อมูล : ประชุมภาพประวัติศาสตร์ทหารและตำรวจ พิมพ์ในงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี โดยคณะกรรมการพิจารณาและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2525

หมายเหตุ : คำบรรยายภาพจากหนังสือระบุเป็น “พระที่นั่งภัทรบิฐ”

เผยแพร่ครั้งแรกในระบบออนไลน์ เมื่อ 20 มีนาคม พ.ศ.2562

ดูข่าวต้นฉบับ