ไอที ธุรกิจ

‘แองเกลา แมร์เคิล’ ขึ้นแท่นหญิงทรงอิทธิพลสุดของโลกปีที่ 9

The Bangkok Insight
อัพเดต 13 ธ.ค. 2562 เวลา 09.31 น. • เผยแพร่ 13 ธ.ค. 2562 เวลา 09.31 น. • The Bangkok Insight

นิตยสารฟอร์บส์ เปิดเผยการจัดอันดับ 100 ผู้หญิงทรงอิทธิพลสุดของโลก โดยที่ "แองเกลา แมร์เคิล" นายกรัฐมนตรีหญิงเยอรมนีติดอยู่ในอันดับ 1 เป็นปีที่ 9 ติดต่อกัน
แมร์เคิลติดอยู่ในการจัดอันดับของฟอร์บส์ มาถึง 14 ครั้ง จากการจัดอันดับที่มีมา 16 ครั้งแล้ว โดยบุคคลที่ได้อันดับ 2 รองจากผู้นำเยอรมนีคือ "คริสติน ลาการ์ด" ที่ขยับขึ้นมาจากอันดับ 3 เมื่อปีที่แล้ว หลังจากที่เธอขึ้นนั่งเป็นประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี)

แองเกลา แมร์เคิล
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

อันดับ 3 ในปีนี้ตกเป็นของ "แนนซี เพโลซี" ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ โดยมึ "เออร์ซูลา วอน เดอร์ เลเยน" ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป อยู่ในอันดับ 4 และอันดับ 5 ตกเป็นของ "แมรี บาร์รา" ซีอีโอเจนเนอรัล มอเตอร์ส (จีเอ็ม) ค่ายรถยนต์รายใหญ่สุดของสหรัฐ

คริสติน ลาการ์ด

การจัดอันดับ 100 ผู้หญิงทรงอิทธิพลในปีนี้ มีผู้หญิงที่ติดอันดับมาจากแวดวงต่างๆ 6 แวดวงด้วยกัน คือ ธุรกิจ (31) เทคโนโลยี (17) การเงิน (12) สื่อและบันเทิง (14) การเมืองและนโยบาย (22) และการกุศล (4) ซึ่งเมื่อรวมทั้งหมดเข้าด้วยกันแล้ว ผู้หญิงทรงอิทธิพลเหล่านี้ ดำเนินการควบคุม หรือมีอิทธิพลต่อสินทรัพย์มูลค่าโดบรวมมากกว่า 2.3 ล้านล้านดอลลาร์ และมีผู้ใต้บังคับบัญชาเกือบ 6.5 ล้านคน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ผู้หญิงที่มีชื่อเสียง และเพิ่งติดการจัดอันดับในปีนี้เป็นครั้งแรก คือ "ริฮานนา" นักร้องสาววัย 31 ปี และ "รีส วิทเธอร์สปูน" นักแสดงฮอลลีวูดชื่อดัง ที่ผันตัวมาทำบริษัทผลิตภาพยนตร์และสื่ออื่น ๆ ของตัวเอง

นอกจากนี้ "เกรตา ทุนเบิร์ก" สาวน้อยวัย 16 ปี ที่เพิ่งได้รับเลือกเป็นบุคคลแห่งปี 2562 จากนิตยสารไทมส์ ก็ติดอยู่ในอันดับสุดท้ายของการจัดอันดับด้วย และแน่นอนว่า เธอเป็นผู้หญิงที่มีอายุน้อยที่สุดที่ติดอันดับดังกล่าว

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ฟอร์บสตั้งข้อสังเกตว่า จำนวนผู้หญิงที่เป็นผู้นำประเทศในปีนี้ ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อสิบปีก่อน แสดงให้เห็นถึงข้อจำกัดที่ยังมีอยู่ โดยปัจจุบันมีผู้นำหญิงคิดเป็นสัดส่วนเพียง 5% ของจำนวนผู้นำทั่วโลก และมีเพียงผู้หญิงเพียง 24% เท่านั้น ที่ได้นั่งในสภา

เกรตา ทุนเบิร์ก

แต่ในภาพรวม ฟอร์บสมองว่าอิทธิพลทางการเมืองของผู้หญิงมีมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากสตรีหน้าใหม่ในการจัดอันดับครั้งนี้ เช่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของอินเดีย ที่อยู่ในอันดับ 34 รวมทั้งผู้นำหญิงคนแรกของเบลเยียม และสโลวาเกีย ขณะที่ประธานาธิบดีไต้หวัน ไช่ อิง เหวิน ครองอันดับที่ 41

ดูข่าวต้นฉบับ