ไอที ธุรกิจ

ระวังอันตราย! แพทย์เวชศาสตร์ ยก 7 ข้อควรทราบ ก่อนดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพร

เส้นทางเศรษฐี
อัพเดต 21 พ.ย. 2562 เวลา 07.47 น. • เผยแพร่ 21 พ.ย. 2562 เวลา 03.55 น.

ระวังอันตราย! แพทย์เวชศาสตร์ ยก 7 ข้อควรทราบ ก่อนดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพร

นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์ชะลอวัย กล่าวว่า สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ หากใช้อย่างไม่ประมาท ความสามารถของแพทย์ไทย ในการรักษาโรคด้วยยานั้นมีชื่อเสียงมานานจากการทำงานด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยในด้านการสอนนิสิตเภสัชมหิดล ทำให้ได้ทราบความก้าวหน้าด้านสมุนไพรรักษาในบ้านเราเป็นอย่างมาก ซึ่งเรื่องนี้หลายประเทศทั่วโลกก็มีงานวิจัย ดังมีบทความจากมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ ให้ข้อมูลน่าสนใจไว้ว่า อาหารเสริมสมุนไพรนั้นไม่เหมือนยาแผนปัจจุบันอย่างหนึ่งคือ แต่ละรุ่นของสมุนไพรหรือการผลิตนั้น ไม่ได้มีกฎว่าต้องทำมาตรฐานเหมือนกันเป๊ะๆ รุ่นต่อรุ่น เพราะมันเป็นของธรรมชาติ ทุกวันนี้คนใช้สมุนไพรมีทุกเพศวัย ไม่ใช่เพียงคนแก่หัวเก่าเท่านั้น เรียกว่าคนสมัยใหม่ มีฐานะ ไปจนถึงครูบาอาจารย์ คนมีการศึกษาระดับด็อกเตอร์ก็ใช้กัน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นพ.กฤษดา กล่าวว่า แนวทางปฏิบัติจากองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ในเรื่องความปลอดภัยของสมุนไพรบำบัดและการติดตามความปลอดภัยจากการใช้ยา คือให้คิดถึงยาสมุนไพรว่าเหมือนกับยาแผนปัจจุบันที่มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์ได้เช่นกัน ซึ่งปัญหาใหญ่ที่มักพบคือการใส่ “ส่วนประกอบลับ” ที่เป็นสารอันตรายเข้าไป เช่น สเตียรอยด์ หรือยาแก้ปวดพวกเอ็นเสด

ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์ชะลอวัย ได้ยกตัวอย่างปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยจากยาสมุนไพรที่ขอเลือกมาชนิดที่อาจพบในบ้านเราได้ อาทิ อาการจากพิษสเตียรอยด์เรื้อรัง ดังเช่น ตัวบวม ความดันตาขึ้น กดต่อมหมวกไต ทำให้ติดเชื้อง่าย เพราะเคยมีการพบสาร betamethasone ราว 0.1-0.3 มิลลิกรัม ในผลิตภัณฑ์สมุนไพรบางชนิด อีกหนึ่งอาการคือ เลือดไหลง่าย หยุดยาก มีรอยช้ำจ้ำเลือดใต้ผิวหนัง รวมทั้งเลือดออกในสมอง ดังมีรายงานจาก WHO ว่าอาการเลือดออกที่ว่านี้มาจากการใช้ “แปะก๊วย” ทั้งนี้ มียาสมุนไพรยอดนิยมบางชนิดที่ใช้ร่วมกับยาแผนปัจจุบันอย่างยา interferon ที่เป็นโปรตีนไปสู้กับการติดเชื้อในร่างกายแล้วทำให้เกิดอาการอักเสบในเนื้อปอดอย่างรุนแรง

อย่างไรก็ตาม นพ.กฤษดา บอกว่า เมื่อฟังแล้วก็อย่าเพิ่งตกใจ เพราะสมุนไพรนั้นถ้าใช้ให้ดีให้รอบคอบก็จะตอบโจทย์ได้ไม่เสี่ยงจนเกินไป แค่ขอให้ยึดหลัก “อัปมาทธรรม” ไว้ คือความไม่ประมาทในการใช้ยาสมุนไพรด้วยหลักง่ายๆ คือ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

1.ต้องรู้ในสิ่งที่เราใช้ ให้ทราบว่าเรากำลังใช้สมุนไพรอะไรอยู่บ้าง อย่างยาแผนไทย ควรรู้ว่าสูตรนี้มีสมุนไพรใดประกอบ ควรต้องตอบโจทย์ได้ว่าใช้เพื่ออะไร ไม่ใช่กินตามเพื่อนหรือแค่อยากลอง หรือเพราะเป็นสูตรลับระดับตำนาน เพราะอาจเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงโดยไม่จำเป็นได้

2.ให้ระวังในคนท้อง สตรีตั้งครรภ์ควรฝากท้องและต้องปรึกษาสูตินรีแพทย์ประจำตัวถ้ามีอะไรไม่ชัวร์หรือจะใช้ยาสมุนไพรในระหว่างตั้งครรภ์ ตัวอย่างเช่น “ตังกุย” ที่ใช้รักษาอาการปวดท้องประจำเดือนไปจนถึงความดันสูง แต่ถ้าระหว่างตั้งครรภ์อาจไปกระตุ้นให้มดลูกบีบตัวแทน

3.ต้องใส่ใจในเด็ก มนุษย์เด็กมีความต่างจากผู้ใหญ่ในแง่เมตาโบลิซึม, ภูมิคุ้มกัน, ระบบย่อยอาหาร และระบบประสาทซึ่งกำลังพัฒนา ยาสมุนไพรหลายชนิดจึงต้องใช้อย่างรอบคอบ เช่น สมุนไพรฝรั่งตัวหนึ่งชื่อ St.John’s wort อาจตีกันกับยากันชักในเด็กได้ หรือสมุนไพรที่มีวิตามินซีอาจมีผลกับกระบวนการจัดการยาพาราเซตามอลที่เด็กกินให้ช้าลง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
  • เช็กความคลีนไม่ปนเปื้อน ให้ดูแลเรื่องของสารปนเปื้อนและปลอมปนที่คนอาจใส่เข้ามาในกระบวนการผลิตยาสมุนไพร ไม่ใช่แค่ดูความสะอาดอย่างเดียวเท่านั้น แต่ต้องดูให้ลึกถึงมาตรฐานการผลิต เช่น ยาลดความอ้วนที่มาจากสมุนไพร ก็ต้องแน่ใจว่าไม่ได้มียาลดอ้วนที่เป็นยาควบคุมถูกใส่เข้ามาอย่างเฟนเทอร์มีนและเฟนฟลูรามีน
  • เตือนตัวเองเรื่องตับ-ไต สมุนไพรและยาที่รับประทานจำนวนมากที่ไหลเวียนเข้ากระแสเลือดผ่านตับ-ไตของเรา ดังมีภาวะตับอักเสบจากสารพิษ (toxic hepatitis) ที่นำไปสู่ตับแข็งและตับวายได้ ซึ่งอาจเกิดได้จากสมุนไพร หรืออย่างสมุนไพรลดน้ำหนักตระกูลไคร้เครือ (Aristolochia) ที่ทำให้เกิดภาวะไตอักเสบและนำไปสู่ไตวายได้

6.อย่านอนใจอาจแพ้ได้ สมุนไพรก็ไม่ต่างจากยาแผนปัจจุบันที่เราท่านอาจแพ้ได้ ดังนั้น จึงควรต้องรอบคอบไว้ หากมีอาการแพ้รุนแรง เช่น มีผื่นลมพิษขึ้น หายใจเหนื่อย แน่นหน้าอก มีเสียงหวีดเวลาหายใจ ก็ควรต้องรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็นอาการแพ้รุนแรงแบบ anaphylaxis

และ 7. สมุนไพรช่วยได้แต่อย่าเทยาหมอ ยาจากธรรมชาติเป็นของดีที่ช่วยชีวิตเรามานับแต่สมัยพ่อแม่บรรพบุรุษนับพันปี แต่ยุคนี้ก็มียาแผนปัจจุบันที่ช่วยเราได้อยู่ จึงขอให้ดูใช้ยาสมุนไพรแบบไม่ประมาท นั่นคือ การไม่หยุดยาประจำที่รักษาโรคอยู่เอง เช่น เป็นเบาหวานอยู่ก็อย่าเพิ่งไปหยุดยาของคุณหมอเขาเพราะเราอยากกินยาสมุนไพรที่เพื่อนแนะนำ

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 7
  • นก_ศศินันท์
    อยากให้หมอพูดความจริงเรื่องยาแผนปัจจุบันที่หมอสั่งจ่ายให้คนไทยบางคนต้องกินยาจนอิ่มแทนข้าวด้วยนะคะ.ยาแผนปัจจุบันที่คนไข้กินรักษาโรคหนึ่งแต่ทำให้เกิดโรคตามมาอีกหลายโรคนั้นมีอยู่จริงใช่ไหมคะ
    21 พ.ย. 2562 เวลา 12.00 น.
  • TUMP
    ทุกอย่างมีคุณก็มีโทษ ยาสมุนไพรจากธรรมชาติ(ธรรมชาติแท้ๆ)ถือว่าปลอดภัยที่สุดแล้ว ยาแผนปัจจุบันทานกันเข้าไปประจำกระเพาะ ตับ ไต ม้ามฯลฯ พังยับเยิน ไม่เห็นหมอแผนปัจจุบันคนไหนออกมาพูดหรืออธิบายผลข้างเคียงที่น่ากลัวเหล่านี้ให้ผู้ป่วยฟังสักราย ส่วนตัวเมื่อก่อนเป็นเก๊าท์ รับยาหมอมาทาน ได้ของแถมมาคือ ยามันระคายเคืองกระเพาะ ทำให้เป็นโรคกระเพาะเรื้อรัง กรดในกระเพาะมากผิดปกติ ไตเริ่มแย่ขึ้นเรื่อยๆ เลยเลิกกินยาแผนปัจจุบัน มาใช้ยาสมุนไพรแทน หายขาดโรคเก๊าท์ไปแล้ว เลิกกินยาแผนปัจจุบันเด็ดขาดมากว่าสิบปีแล้ว
    21 พ.ย. 2562 เวลา 12.28 น.
  • ณรงค์ศักดิ์. เฮงดี
    เฉพาะต้องการทานยาสมุนไพรปรึกษาแพทย์แผนไทยดีที่สุดครับ เลือกดูที่ได้มาตรฐาน มีใบประกอบวิชาชีพ มีสถบันรับรอง โอเคนะ
    21 พ.ย. 2562 เวลา 12.28 น.
  • thit
    สมุนไพรแทบจะไม่มี่ผลข้างเคียง แต่ใช้ให้ถูกกับโรค ยาแผนปัจจุบันหากกินแล้วแพ้ จะแพ้ตลอด สมุนไพรปลอดภัยกว่า
    21 พ.ย. 2562 เวลา 11.19 น.
  • สมุนไพรประกอบด้วยสารเคมีที่พืชสังเคราะห์มากมาย โอกาสมีผลข้างเคียงสูงกว่ายาปัจจุบัน ที่เลือกเฉพาะสารที่เป็นยามาใช้
    21 พ.ย. 2562 เวลา 12.10 น.
ดูทั้งหมด