ไลฟ์สไตล์

งานศพฉันจะเป็นอย่างไรดี? แบบสำรวจในอังกฤษพบ คนวัยมิลเลนเนียม เริ่มเตรียมพร้อมวางแผนงานศพของตัวเองกันแล้ว

The MATTER
อัพเดต 18 มิ.ย. 2562 เวลา 06.30 น. • เผยแพร่ 15 มิ.ย. 2562 เวลา 10.00 น. • Brief

แม้ในชีวิต จะมีหลายสิ่งหลายอย่างไม่แน่นอน แต่เรื่องของการเกิด และความตาย กลับเป็นเรื่องที่ต้องเกิดกับทุกๆ คน เพียงแต่แค่ไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ และเป็นอย่างไร ซึ่งไม่ว่าช่วงอายุไหน ก็มีโอกาสประสบกับความตายได้เท่าๆ กัน แต่จากผลสำรวจล่าสุด กลับพบว่า คนในยุคมิลเลนเนียมได้เตรียมพร้อมกับงานศพของตัวเองมากกว่าช่วงวัยอื่นๆ

การสำรวจของบริษัทผู้จัดงานศพ CPJ Field ได้สอบถามคนจำนวนกว่า 2,000 คน ที่เพิ่งสูญเสียญาติ หรือเพื่อนสนิท พบว่า 19% จากผู้คนอายุ 18-34 ปี ได้เริ่มวางแผนงานศพของตัวเอง หลังจากสูญเสียคนที่รัก ซึ่งถือว่าเป็นช่วงอายุที่เตรียมตัวมากที่สุด เมื่อเทียบกับ 15% ของช่วงอายุ 35-54 ปี และอีกเพียง 10% ของช่วงอายุมากกว่า 55 ปี

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

แม้ว่าช่วงอายุมากกว่า 55 ปี จะมีเปอร์เซ็นที่ต่ำที่สุด แต่ทางบริษัทก็มองว่า พวกเขาอาจจะวางแผนงานศพของตัวเองไว้แล้ว ก่อนจะสูญเสียคนใกล้ชิดก็เป็นได้ และนอกจากนี้ Jeremy Field กรรมการผู้จัดการของ CPJ Field ยังให้ความเห็นว่า 4 ใน 5 ของผู้ที่รู้คำปรารถนาก่อนตาย จะช่วยให้พวกเขาจัดงาน และเลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่เสียชีวิตได้ ในขณะที่ 76% ระบุว่า มันทำให้พวกเขาผ่อนคลายแรงกดดันในการวางแผนงานศพ และอีก 73% มองว่า การวางแผนได้ช่วยคนที่เหลือในครอบครัวในการตัดสินใจ

Arabella วัย 26 ปี เล่าว่าเธอตัดสินใจเตรียมงานศพของเธอล่วงหน้า หลังจากสูญเสียทั้งแม่และปู่ในช่วงเวลาสั้นๆ และได้รับแรงบันดาลใจจากแม่ ที่วางแผนทุกอย่างไว้หลังจากถูกวินิจฉัยว่าป่วยหนัก เธอบอกว่า มันเป็นเหมือนการวางแผนงานวันเกิด งานแต่งงาน และการเกษียณอายุ ซึ่งทุกคนต่างมีวิธี และไอเดียที่ตนเองชอบ ที่เหมือนการตั้งค่าบางอย่างเป็นแนวทาง เช่น เธออยากให้ศพของเธอถูกเผา และให้เถ้าถ่านของเธอกระจายไปในหน้าผาใน Cornwall เปิดเพลง 2-3 เพลงที่ชอบ โดยที่ไม่ใช่งานที่เศร้าโศกมาก แต่เป็นการแบ่งปันความสุข

Chloe McKnight ผู้อำนวยการของ CPJ Field ยังเสริมว่า การไม่ทราบความปรารถนาในงานศพของคนที่คุณรัก ได้สร้างความกังวลต่อครอบครัวที่อยู่เบื้องหลังในการจัดการ เช่น การเลือกว่าจะฝัง หรือเผา จนบางครั้งพวกเขาไม่ได้จดจ่อกับการอาลัยคนที่รัก และเป็นการเพิ่มความวุ่นวายในการจัดการด้วย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

แต่ถึงอย่างนั้น เราก็เห็นกระแสในปัจจุบัน ที่พูดถึงวัฒนธรรมของความตาย ไม่ว่าจะเป็นการเปิดคาเฟ่ความตาย สารดคี ซึ่งได้ทำให้เรื่องต้องห้ามอย่างการตายถูกพูดถึงในชีวิตประจำวัน และทำให้คนทั่วไปคุ้นชินกับเรื่องของความตายมากขึ้น ซึ่งการได้พูดคุยอาจทำให้ความตายไม่ใช่เรื่องของการหวาดกลัว แต่ยังสร้างประสบการณ์ การแบ่งปันที่เปิดกว้างมากขึ้นในสังคมด้วย

อ้างอิงจาก

https://www.vice.com/en_asia/article/nea9q8/twenties-millennials-funeral-planning

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

#Brief #TheMATTER

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 5
  • บริจาค หมดแล้วค่ะ นั้นคือการวางแผนของเรา เมื่อตายไป สิ่งใดในร่างกายที่จะช่วยชีวิตคนอื่นต่อได้ก็เอาไป ค่ะส่วนที่ใช้ไม่ได้ ก็แค่เผา ไม่เหลือไว้เน่าเปลือย เหม็นรบกวนคนอื่นก็แค่นั้นค่ะ ร่างกายก็ยืมเเขามา เมื่อเราไม่ได้ใช้ ก็คนอื่นที่ต้องการใช้ต่อไป หากวาสนามีชาติหน้าเราก็ได้ร่างกายใหม่ ไม่ได้กลับมาใช้ของเดิมจะห่วงทำไมกัน. จะเกิดมาสมบูรณ์หรือไม่ กรรมเท่านั้นที่กำหนด อนาคต หลังความตาย
    17 มิ.ย. 2562 เวลา 05.53 น.
  • LKN Pn 0986628264
    เราเองก้อเคยวางแปนค่ะ ขนาดเลือกรูป เลือกของชำร่วยเลยทีเดียว
    15 มิ.ย. 2562 เวลา 14.17 น.
  • Lek Dean
    คนตาย..อย่าใช้เงินมากเลย คนอยู่จะแย่เอานะคะ. บริจาคให้ได้บุญดีกว่าค่ะ
    15 มิ.ย. 2562 เวลา 14.07 น.
  • vanvisa
    บริจาคเถอะ. เป้นบุญ
    15 มิ.ย. 2562 เวลา 13.26 น.
  • Toom
    ความตายไม่ได้น่ากลัว ความพิการต่างหาก ที่น่ากลัวกว่า
    15 มิ.ย. 2562 เวลา 12.27 น.
ดูทั้งหมด