เมื่อพูดถึง ‘แฝดสยาม’ หลายคนคงนึกถึง ‘อิน-จัน’ ฝาแฝดที่โด่งดังไปทั่วโลก ซึ่งทั้งคู่ใช้ชีวิตโดยมีหน้าอกติดกันและใช้ตับร่วมกัน นับว่าเป็นฝาแฝดคู่แรกของโลกที่สามารถดำรงชีพเหมือนคนปกติจนถึงวินาทีสุดท้าย
แต่ถ้าหากผู้อ่านยังจำกันได้เมื่อ 14 ปีก่อน คนไทยต่างฮือฮากับวงการแพทย์ไทยเป็นอย่างมากในการผ่าตัดแยกแฝดสยามสำเร็จถือเป็นครั้งแรกของโลก
เสาร์นี้ในอดีต : จะพาย้อนไปเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2550 ทีมแพทย์ศิริราช ได้แถลงความสำเร็จ สามารถผ่าตัดแยกร่างแฝดสยาม 'ปานตะวัน-ปานวาด' ขณะนั้นมีอายุเพียงวัย 8 เดือน นับเป็นครั้งแรกของโลกที่หลังผ่าตัดแยกร่างแล้วมีชีวิตรอด โดยใช้เวลาผ่าตัดนานถึง 12 ชม.
'ปานตะวัน-ปานวาด' เป็นแฝดสยายที่มีลำตัวด้านหน้าติดกันตั้งแต่บริเวณทรวงอกลงมาถึงผนังหน้าท้อง ซึ่งอวัยวะภายในที่ติดกัน 2 ส่วน คือ ‘ตับและหัวใจ’ โดยมีตับติดกันเป็นบริเวณกว้าง รวมทั้งมีหัวใจเชื่อมต่อกันด้วย โดยหัวใจห้องบนขวาของแฝดพี่ ปานตะวัน เชื่อมกับหัวใจห้องบนซ้ายของแฝดน้อง ปานวาด และมีเลือดจากปานตะวันไหลผ่านมายังปานวาดตลอดเวลา
วินาทีชีวิตของ 'ปานวาด-ปานตะวัน'
20 กุมภาพันธ์ 2550 นับเป็นวันที่บีบคนหัวใจผู้เป็นพ่อแม่ของ 'ปานตะวัน-ปานวาด' โดยทีมแพทย์ได้ลงความเห็นว่าจะผ่าตัดแยกร่าง ซึ่งจากการตรวจสอบร่างการของแฝดสยามพบมีสิ่งที่เชื่อมต่อกันถึง 2 จุด ที่ต้องระวัดระวังเป็นอย่างมาก
โดยการผ่าแยกแฝดสยามปานวาด-ปานตะวัน เริ่มตั้งแต่การดมยาสลบจนทารกทั้งคู่ออกจากห้องผ่าตัด ใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 12 ชั่วโมงเศษ ใช้ทีมงานทั้งสิ้น 61 คน เป็นวิสัญญีแพทย์ 14 คน ศัลยแพทย์หัวใจ 5 คน ศัลยแพทย์ตกแต่ง 7 คน กุมารศัลยแพทย์ 5 คน และพยาบาลห้องผ่าตัด 30 คน ซึ่งจุดสำคัญของการผ่าตัดในครั้งนี้คือในส่วนของ 'หัวใจ'
ศ.คลินิก นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล 1 ในทีมแพทย์ที่ร่วมผ่าตัดครั้งสำคัญเผยว่า หัวใจของ ปานวาด-ปานตะวัน มีเลือดไหลเวียนซึ่งกันและกัน จุดนี้เองที่ทำให้ทีมแพทย์ต่างวิตกกังวลหวั่นเป็นอันตรายแก่เด็กทั้ง โดยกุมารแพทย์ใช้วิธีสวนหัวใจด้วยสายสวนติดบอลลูนเพื่อเข้าไปปิด บริเวณรอยเชื่อมต่อของหัวใจเสมือนเป็นการแยกหัวใจชั่วคราว ปรากฏว่าไม่เกิดผลเสียต่อทารกทั้งสองแต่อย่างใดจึงตัดสินใจผ่าตัดแยกร่าง
ซึ่งหลังจากแยกหัวใจสำเร็จ ปานตะวันแฝดพี่ไม่มีปัญหาอะไร แต่ปานวาดซึ่งเป็นแฝดน้องนั้นหัวใจด้านบนมีช่องรั่วอยู่เล็กน้อยไม่รุน แรงมาก ซึ่งช่องนี้ไม่สามารถปิดโดยใช้เครื่องมือได้ ต้องผ่าตัดปิดเท่านั้น และคาดว่าจะผ่าตัดปิดให้ได้เมื่อเด็กเติบโตมากกว่านี้ ซึ่งในช่วงที่ยังไม่ได้ผ่าตัดจะต้องให้ยารักษา
แล้วทำไมแฝดติดกัน ?
แฝดตัวติดกันเกิดจากไข่ที่ได้รับการผสมเพียงใบเดียว ดังนั้นฝาแฝดประเภทนี้จึงเป็นแฝดแท้ที่มีรูปร่างหน้าตาเหมือนกันเสมอ ในทางการแพทย์มีคำอธิบาย 2 ทฤษฎีที่ชี้ว่าเหตุใดแฝดบางคู่จึงมีร่างกายเชื่อมติดกันได้ ซึ่งอาจเกิดจากการแบ่งเซลล์แยกเป็นตัวอ่อน 2 ตัวที่ล่าช้าเกินไป ทำให้มีอวัยวะบางส่วนแยกกันไม่ขาด หรือไม่ก็เกิดการแยกตัวอย่างสมบูรณ์แล้ว แต่บางส่วนของตัวอ่อนยังคงสัมผัสกันอยู่ ทำให้เซลล์เกิดเชื่อมประสานกันเมื่อตัวอ่อนเติบโตขึ้น
"ทั้งนี้จากการทีมแพทย์ได้สืบค้นข้อมูลวารสารทั่วโลกพบว่า ยังไม่พบว่ามีการผ่าตัดเด็กแฝดที่ตัวติดกัน หัวใจติดกัน ผนังหัวใจติดกัน และตับติดกัน แล้วรอดชีวิตทั้งคู่ ดังนั้น ปานวาด-ปานตะวัน น่าจะเป็นครั้งแรกในโลกที่ รพ.ศิริราช ผ่าตัดแยกแฝดสยามที่มีหัวใจติดกันและตับติดกันเป็นผลสำเร็จ"
ซึ่งปัจจุบัน "ปานวาด-ปานตะวัน" เติบโตเป็นเด็กที่แข็งแรงและสามารถใช้ชีวิตได้ปกติเหมือนกับเด็กทั่วไป
อ้างอิง
clinicdek.com , komchadluek.net , wikipedia.org. , vburabhaOfficial , BBC
ขอบคุณภาพ ไทยรัฐ
ฉลวยลักษณ์ ประไพวงษ์ สุดยอด หมอไทยเก่งที่สุดในโลก
20 ก.พ. 2564 เวลา 01.02 น.
คุณหมอเก่งมาก อยากเห็นแฝดสองคนตอนนี้ช่วยไปสัมภาษณ์น้องหน่อย ชอบอ่านข่าวแบบนี้มากกว่า ยายแนทหรือดาราหญิงแก่มาใส่บิกินี่ แหกแช้งขาโชว์
20 ก.พ. 2564 เวลา 01.30 น.
JIM ยินดีและดีใจกับครอบครัวของน้องด้วยนะคะ
20 ก.พ. 2564 เวลา 01.02 น.
Jacky Chan น่ารักทั่งคู่ดีใจกับคุณพ่อคุณแม่ด้วยครับ
20 ก.พ. 2564 เวลา 00.56 น.
ยินดีกับครอบครัวด้วยนะค่ะ ขอให้นู๋ทั้งมีสุขภาพแข็งแรงตลอดไปนะคะ
20 ก.พ. 2564 เวลา 01.22 น.
ดูทั้งหมด