ไอที ธุรกิจ

อว.ส่ง 'เครื่องตรวจวัดฝุ่นPM2.5' ถึงมือ สธ. หวังเฝ้าระวังเตือนภัยสุขภาพประชาชน

กรุงเทพธุรกิจ
อัพเดต 23 ก.พ. 2564 เวลา 10.10 น. • เผยแพร่ 23 ก.พ. 2564 เวลา 09.45 น.
161407489731

ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า การแก้ปัญหาและรับมือ PM2.5 ถือเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งในมิติการสร้างและพัฒนานวัตกรรม อว. มอบหมาย วช. ในฐานะหน่วยงานบริหารงานวิจัยของประเทศ (PMU) สนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมตามแผนงานสำคัญของประเทศ กลุ่มเรื่อง PM2.5 เพื่อเสริมประสิทธิภาพการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 โดยมุ่งหวังให้ประเทศมีการจัดการคุณภาพอากาศที่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาของประเทศไทยในอนาคตให้มีความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม  และสิ่งแวดล้อม  ซึ่งการนำนวัตกรรมจากงานวิจัย “เครื่องตรวจวัดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กด้วยระบบเซนเซอร์ (Dust Boy)” ไปใช้ประโยชน์จริงในการเฝ้าระวัง เตือนภัยสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 เพื่อสุขภาพของประชาชน 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
161407491056

ทางด้าน นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัด สธ. กล่าวถึง ความห่วงใยประชาชน และตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือ PM2.5 ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจากการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ทั้งโรคระบบทางเดินหายใจ โรคระบบหัวใจและหลอดเลือดและโรคมะเร็ง อันเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร “เครื่องตรวจวัดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กด้วยระบบเซนเซอร์ (Dust Boy)” ถือเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นประโยชน์และมีคุณค่าอย่างยิ่งต่อการนำไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพของการเฝ้าระวัง เพื่อสื่อสารแจ้งเตือนความเสี่ยงต่อสุขภาพ ทั้งในระดับครอบครัวและชุมชน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่ประกอบด้วยประชาชนทุกกลุ่มวัยอาศัยอยู่รวมกัน ให้มีการดูแลป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที "ได้มีการร่วมกับภาคีที่เกี่ยวข้องผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติ มีการบูรณาการทั้งภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา วิจัยและพัฒนานวัตกรรมป้องกันและแก้ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก โดยได้สนับสนุนให้กระทรวงสาธารณสุขติดตั้งในสถานบริการสาธารณสุขไปแล้ว 284 เครื่อง และในปีนี้ยังสนับสนุนอีก 500 เครื่อง เพื่อติดตั้งในสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รวมถึงสถานที่ที่มีกลุ่มเสี่ยง เช่น โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก สถานดูแลผู้สูงอายุ โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงมลพิษทางอากาศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเฝ้าระวัง แจ้งเตือน ดูแลป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงเปราะบาง เช่น กลุ่มเด็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยเรื้อรังเป็นต้น ทั้งในระดับครอบครัวและชุมชน" 

161407494633
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ  กล่าวว่า PM2.5 เป็นแผนงานสำคัญภายใต้โปรแกรม 7 โจทย์ท้าทายด้านทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และการเกษตร ที่ วช. สนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนาเพื่อเสริมประสิทธิภาพประสิทธิภาพการป้องกัน และแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) โดยมุ่งหวังให้ประเทศมีการจัดการคุณภาพอากาศที่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาของประเทศไทยในอนาคตให้มีความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

ในการเฝ้าระวังและเตือนภัยสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก วช. เล็งเห็นถึงความสำคัญและได้สนับสนุนการดำเนินงานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559ภายใต้แผนงานวิจัยท้าทายไทย (Grand Challenges Thailand) : ประเทศไทยไร้หมอกควัน (Haze Free Thailand) โครงการ “การเฝ้าระวังและติดตามคุณภาพอากาศด้วยเครื่องวัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5และ PM10 แบบเซนเซอร์ (DustBoy)” ที่มี รองศาสตราจารย์ ดร. เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล สังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นหัวหน้าโครงการ และ วช. ยังสนับสนุนขยายการติดตั้งเครื่อง DustBoy เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลในการเฝ้าระวังและเตือนภัยสถานการณ์ PM2.5 แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่องในภาพรวมของประเทศไทย ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลคุณภาพอากาศ เพื่อการเฝ้าระวัง แจ้งเตือนประชาชนให้พร้อมรับมือกับสถานการณ์ PM2.5 ได้อย่างทันท่วงที

161407495840
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

"ในขณะเดียวกันก็สนับสนุนการสร้างมาตรฐานเครื่องวัดฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) รูปแบบ Low Cost Sensor จากงานวิจัย เพื่อให้ค่าฝุ่น PM2.5 ที่รายงานมีความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับร่วมกัน รวมทั้งการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการแสดงค่าฝุ่น PM2.5 ของแต่ละเครื่องมือในแต่ละเทคนิค อีกทั้งพัฒนาระบบข้อมูลคุณภาพอากาศ (Air Quality Information Center: AQIC) ผ่านเว็บไซต์ https://pm2_5.nrct.go.th โดยความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการเชื่อมโยงและแสดงผลคุณภาพอากาศจากการรวบรวมข้อมูลการรายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศ ค่าความเข้มข้นฝุ่น PM2.5 และ PM10 จากหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วประเทศ"

ดูข่าวต้นฉบับ