ไลฟ์สไตล์

เหตุใดคนรวยจึงมองโลกต่างจากคนอื่น

issue247.com
อัพเดต 28 มี.ค. 2562 เวลา 05.35 น. • เผยแพร่ 29 มี.ค. 2562 เวลา 00.00 น.

วิธีมองโลกของคนเราขึ้นอยู่กับว่าเรามาจากวัฒนธรรมไหนบนโลกนี้ ยกตัวอย่างเช่นชาวเอเชียตะวันออกจะมีแนวคิดแบบองค์รวม ขณะที่ชาวตะวันตกจะชอบการวิเคราะห์มากกว่า หนึ่งในตัวอย่างที่เห็นชัดมากที่สุดคือไมเคิล วาร์นัม นักประสาทวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยรัฐแอริโซน่า ในปี 2015 เขากับเพื่อนร่วมงานได้รับสมัครผู้เข้าร่วมการทดลองการสร้างภาพสมองจำนวน 58 คน เริ่มจากให้ผู้เข้าร่วมกรอกประวัติเกี่ยวกับชนชั้นทางสังคม (ระดับการศึกษาของผู้ปกครอง รายได้ของครอบครัว เป็นต้น) ก่อนที่จะเข้ารับการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง ผู้เข้าร่วมจะได้เห็นภาพใบหน้าปกติและใบหน้าแสดงอาการเจ็บปวดขณะที่ต้องดูอย่างอื่นไปด้วย (ภาพใบหน้าคือ “การเบี่ยงเบนความสนใจ” เพื่อไม่ให้ผู้เข้าร่วมรู้ว่าพวกเขากำลังถูกทดสอบความเห็นอกเห็นใจอยู่) ผลลัพธ์ “แสดงให้เห็นว่าผู้ที่มีสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจสูงจะมีการตอบสนองต่อ ‘ความเจ็บปวด’ ของคนอื่นลดลง” และการสร้างภาพสมองจะหลีกเลี่ยง “ความเอนเอียงเรื่องความน่าพอใจทางสังคม” ซึ่งพวกเขาต้องการทำให้ตัวเองดูดีหรือน่าเห็นอกเห็นใจมากขึ้น วาร์นัม กล่าวว่า “ผู้ที่มาจากชนชั้นทางสังคมต่ำจะมีระบบเซลล์กระจกเงาที่อ่อนไหวต่อการตอบสนองมากกว่าและกระบวนการรับรู้ของมนุษย์จะได้รับผลกระทบจากชนชั้นทางสังคม”

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ส่วนการศึกษาเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ทีมวิจัยนำโดย Pia Dietze นักศึกษาปริญญาเอกแห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์ค ได้จัดการทดลองขึ้นมาสามแบบ เริ่มจากแบบแรกพวกเขาได้ขอให้ผู้ที่เดินอยู่บนถนนนิวยอร์คซิตี้จำนวน 61 คนสวมแว่น Google Glass และเดินไปรอบๆอาคารเป็นเวลาหนึ่งนาทีพร้อมกับบันทึกภาพการมองของพวกเขา ปรากฏว่าผู้เข้าร่วมที่มีชนชั้นทางสังคมสูงจะมี “การจ้องมองทางสังคม” สั้น ส่วนการทดลองแบบที่สองนักศึกษาปริญญาตรีจำนวน 158 คนจะต้องดูภาพเมืองต่างๆ 41 แห่ง ผลที่ได้คือผู้เข้าร่วมที่อยู่ในชนชั้นแรงงานจะใช้เวลานานกว่าผู้ที่อยู่ในชนชั้นทางสังคมปานกลาง-สูง ถึงร้อยละ 25 และในการทดลองแบบที่สามผู้เข้าร่วมเกือบ 400 คนต้องดูว่าสัญลักษณ์คนหรือวัตถุมีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเสี้ยววินาทีหรือไม่ ปรากฏว่าผู้ที่อยู่ในชนชั้นแรงงานสามารถจับการเปลี่ยนแปลงของใบหน้าได้เร็วกว่าผู้ที่อยู่ในชนชั้นทางสังคมปานกลาง-สูง ดังนั้นผลลัพธ์เหล่านี้แสดงให้เห็นว่า “ชนชั้นทางสังคมมีอิทธิพลต่อความสนใจทางสังคม (ที่มีต่อมนุษย์) อย่างแพร่หลายและลึกซึ้ง ชนชั้นของคุณจะขัดเกลา “นิเวศวิทยา” ที่คุณเติบโตขึ้นมารวมถึงปลูกฝังนิสัยในการให้ความสนใจของคุณอีกด้วย เป็นไปได้ว่าการเกิดมาในชนชั้นที่ยากจนหมายความว่าคุณต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่นและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย ดังนั้นคุณจึงต้องสนใจผู้อื่นเพื่อให้ตัวเองปลอดภัย ขณะเดียวกันผู้ที่อยู่ในชนชั้นทางสังคมสูงจะสนใจแต่เป้าหมายและความปรารถนาของตัวเองเท่านั้นจนอาจทำให้พวกเขามองข้ามคนอื่นๆ หากคุณมีอำนาจและสถานะทางสังคมสูงคุณก็ไม่จำเป็นต้องใส่ใจความคิดเห็นและความรู้สึกของคนอื่น

 

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 5
  • Poppy Stitch Meow
    คนรวย ส่วนมาก ที่กรูเจอ ก็เลวเลวทั้งนั้น ไม่งั้น รวยไม่ได้
    21 ก.ค. 2561 เวลา 10.45 น.
  • Pattie
    มองอีกมุม คนจนบางอาจมีนิสัยและการแสดงออกบางอย่างที่คนรวยไม่ชอบ เช่นจับกลุ่มนินทาคน ตั้งวงไพ่วงเหล้า กร่าง พูดห้วนๆไม่สุภาพ อยากรู้อยากเห็นเกินงาม มองอะไรมุมเดียว ใช้กำลังหรือการด่าแก้ปัญหา เฉพาะบางคนนะคะ เราก็จนแต่ส่วนใหญ่เราไม่ทำแบบนั้นค่ะ
    20 ก.ค. 2561 เวลา 09.02 น.
  • Imung
    เวลารวย ก้มักคิดว่าตัวเองไม่จำเป็นต้อง พึ่งหรือง้อใคร มันก้จะมีนิสัยประมาน ไม่สนใครสนแค่ตัวเองต้องการอะไรพอ
    20 ก.ค. 2561 เวลา 04.12 น.
  • @...
    คงอาจเป็นเพราะความมีพร้อมของตนเองจึงทำให้เกิดมีความคิดที่เปรียบเทียบเกิดขึ้น.
    19 ก.ค. 2561 เวลา 20.57 น.
  • Amy
    พูดง่ายๆว่าเห็นแก่ตัวเองมากกว่างั้นเหอะ
    19 ก.ค. 2561 เวลา 15.10 น.
ดูทั้งหมด