ไอที ธุรกิจ

แบงก์รัฐตั้งเป้าสินเชื่อ 4 แสนล. หนุนศก.ฐานรากแข็งแกร่ง

ฐานเศรษฐกิจ
เผยแพร่ 21 ก.ย 2562 เวลา 05.00 น.

ธ.ก.ส.-ออมสิน-เอสเอ็มอีแบงก์ จับมือปล่อยสินเชื่อตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน หวังดันชุมชนมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

ในงานประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ระบุว่า ในส่วนของธ.ก.ส.ได้มีเป้าหมายในการดูแลเศรษฐกิจชุมชน ด้วยการสร้างรายได้สุทธิให้คนในชุมชนระดับฐานรากเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 10% รวมถึงต้องมีอัตราการออมเงินไม่น้อยกว่า 10% ของรายได้รวม พร้อมทั้งมีการจัดการเพิ่มมูลค่าผลผลิตหลักทางการเกษตรไม่น้อยกว่า 20% ของปริมาณผลผลิตรวม และมีองค์กรการเงินชุมชนที่ได้มาตรฐานภายในชุมชน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

 

ขณะที่มาตรการสินเชื่อนั้น วงเงินสินเชื่อรวมกว่า 255,000 ล้านบาท ประกอบด้วย สินเชื่อสมาร์ทฟาร์มเมอร์สร้างไทย อัตราดอกเบี้ย MRR ซึ่งมีเป้าหมายปล่อยสินเชื่อให้ได้ 10,000 ล้านบาทในปี 62 ให้กับผู้ประกอบการ 1 แสนราย ส่วนในปี 63 ตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อ 20,000 ล้านบาท ให้ผู้ประกอบการจำนวน 200,000 ราย และในปี 64 มีเป้าหมายปล่อยสินเชื่อ 30,000 ล้านบาท ให้กับผู้ประกอบการ 300,000 ราย

 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

สินเชื่อ SMAEs สร้างไทย ส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเกษตร อัตราดอกเบี้ย 4% มีเป้าหมายในปี 62 จะปล่อยสินเชื่อ 10,000 ล้านบาท จำนวน 10,000 ราย ส่วนปี 63 ปล่อยสินเชื่อ 20,000 ล้านบาท จำนวน 20,000 ราย และปี 64 ปล่อยสินเชื่อ 30,000 ล้านบาท จำนวน 30,000 ราย สินเชื่อวิสาหกิจชุมชนสร้างไทย อัตราดอกเบี้ย 0.01% โดยมีเป้าหมายปีนี้ปล่อยสินเชื่อได้ 10,000 ล้านบาท จากจำนวนวิสาหกิจ 10,000 กลุ่ม ขณะที่ปี 63 จะปล่อยสินเชื่อ 20,000 ล้านบาท ให้กับ 20,000 กลุ่มวิสาหกิจ และในปี 64 จะปล่อยสินเชื่อ 40,000 ล้านบาท กับวิสาหกิจ 40,000 กลุ่ม และสินเชื่อสหกรณ์การเกษตรสร้างไทย อัตราดอกเบี้ย 0.01% มีเป้าหมายปีนี้ ปล่อยสินเชื่อ 10,000 ล้านบาท จำนวน 1,000 แห่ง ส่วนปี 63 จะปล่อยสินเชื่อ 20,000 ล้านบาท ให้จำนวน 1,200 แห่ง และปี 64 จะปล่อยสินเชื่อ 30,000 ล้านบาท จำนวน 1,500 แห่ง

 

นอกจากนี้ธ.ก.ส.ยังสนับสนุนเกษตรกรปลูกป่าต้นน้ำ 11 จังหวัดภาคเหนือ วงเงินกู้ 5,000 ล้านบาท เป้าหมายเกษตรกรจำนวน 50,000 ราย พื้นที่ 500,000 ไร่ ด้วยการให้อัตราดอกเบี้ยต่ำ 1-3 ปีอีก คิด MRR-3 เพื่อนำเงินไปปลูกป่าในพื้นที่ที่กำหนด โดยมีระยะเวลากู้ไม่เกิน 15 ปี

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ขณะที่ธนาคารออมสิน นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า มีสินเชื่อสร้างโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน อัตราดอกเบี้ยต่ำ กลุ่มเป้าหมาย 2 ล้านราย โดยเตรียมวงเงินไว้ 1.5 แสนล้านบาท เฉลี่ยปล่อยสินเชื่อรายละ 75,000 บาท เช่น สินเชื่อหาบเร่แผงรอบ 4.0 เงื่อนไขผ่อนปรน เป้าหมาย 1 แสนราย ในวงเงิน 5,000 ล้านบาท สินเชื่อสถาบันการเงินประชาชนปล่อยกู้รายละไม่เกิน 10 ล้านบาท สินเชื่อ street food ปล่อยกู้ไม่เกิน 3 ล้านบาท รวมทั้งยังมีสินเชื่อแรงงาน เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบและสร้างอาชีพเสริม สินเชื่อบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ปล่อยกู้ไม่เกิน 50,000 บาทต่อราย

ส่วนธนาคารพัฒนาวิสาหกิจชุมชนขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(ธพว.) ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากคณะรัฐมนตรี(ครม.) 10,000 ล้านบาท ผ่านกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ เพื่อปล่อยกู้ให้กับประชาชนในการพัฒนาสร้างอาชีพ หรือประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กต่อไป

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 3
  • ร.ต.บัญญัติ ข.ธัญญา
    ถ้า ศก.ภายใน ปท. เข้มแข้ง ในระดับ รากหญ้า หนี้ นอกระบบ คงน้อยลงแน่
    22 ก.ย 2562 เวลา 04.43 น.
  • dad
    การแก้ปัญหาระดับจุลภาค..รอดูผลลัพท์...ว่าแก้ปัญหารากหญ้าได้ถึงระดับไหน(ยังดีกว่าไม่ทำ)... ยังติดปัญหาระดับมหภาค...คือรายได้ประชาชาติยังต่ำ... การส่งออกต้องยั่งยืน(ไม่ใช้หาตลาดส่งออกการเกษตรได้แค่ชั่วคราวครั้งเดียวจบ) ฯลฯ
    22 ก.ย 2562 เวลา 00.12 น.
  • Tomvorapot
    ดีมาก และนโยบายการเงินการคลังที่เหมาะสมกับประเทศตอนนี้คือ ปรับอัตราดอกเบี้ยไปอยู่ที่ 1.75% หรือมากกว่า จะลดฟองสบู่ หนี้ครัวเรือน, ปล่อยอัตราแลกเปลี่ยนให้เป็นไปตามกลไกตลาด เพื่อการใช้มาตรการด้านการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจในทางที่ดีๆ เช่น จัดงบวิจัยและพัฒนาไปที่ 3.5% ของจีดีพี, จัดงบฟื้นฟูธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีกราว 2แสนล้าน จะช่วยต้านส่งออกที่ลด และปรับค่าแรงขั้นต่ำไปที่ 400 จะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ดีในยามที่เงินเฟ้อต่ำ เงินบาทแข็ง บัญชีเดินสะพัดเป็นบวก ทุนสำรองสูง ฯลฯ จะทำให้การแข่งขันดีขึ้นครับ
    21 ก.ย 2562 เวลา 07.22 น.
ดูทั้งหมด