ไลฟ์สไตล์

ข้าวเหนียวพันธุ์ข้าวเก่าแก่ของสุวรรณภูมิ

ศิลปวัฒนธรรม
อัพเดต 01 ก.ค. 2565 เวลา 18.17 น. • เผยแพร่ 01 ก.ค. 2565 เวลา 18.17 น.
กระติบข้าวเหนียว (ภาพจาก Temples and Elephants : the narrative of a journey of exploration through upper Siam and Lao. Cart Bock. White Orchid.1985)

ข่าวข้าวเหนียวขึ้นราคาเมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ไม่ทราบว่าคลี่คลายไปอย่างไรบ้าง และสันนิษฐานว่าวันนี้ คนส่วนใหญ่ของประเทศกิน “กินข้าวจ้าว” เป็นหลัก แต่หากย้อนกลับไปดูประวัติศาตร์แล้ว เรากินส่วนใหญ่ในสุวรรณภูมิ “ข้าวเหนียว” มากก่อนกินข้าวจ้าว

สุจิตต์ วงษ์เทศ เขียนเรื่องนี้ไว้ใน “พลังลาว ชาวอีสาน มาจากไหน” (มติชน, 2549) ที่ทำให้รู้ว่าไม่ใช่แค่คนอีสานเท่านั้นที่กินข้าวเหนียว จึงขอสรุปมาเพียงบางส่วนดังนี้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

คนอีสานในวัฒนธรรมลาว กินข้าวเหนียวตั้งแต่หลายพันปีมา แล้วสืบเนื่องถึงปัจจุบัน เช่นเดียวกับคนภาคเหนือ (ในวัฒนธรรมลาว เช่นกัน) เรียก ข้าวนึ่ง จึงมีคําเรียกอย่างดูถูกว่า “ลาวข้าวเหนียว” และ “ลาวข้าวนึ่ง” แต่ปัจจุบัน ข้าวเหนียวหรือข้าวนึ่ง เป็นอาหารยอดนิยม ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่ามีระดับ มีรสนิยม และมีวัฒนธรรม

ที่สําคัญคือ ข้าวเหนียวหรือข้าวนึ่ง มีรากเหง้าเก่าแก่ยาวนาน ที่สุดเรียก ข้าวป่า ราว 7,000 ปีมาแล้ว และเป็นอาหารหลักของคนสุวรรณภูมิ (หรือแหลมทอง) ในกลุ่มชนตระกูลไทย-ลาวทุกชนขึ้นมา แต่ยุคดังเดิมดึกดําบรรพ์ตั้งแต่เหนือสุดจนถึงภาคใต้ ดังที่ทางภาคใต้ เรียกประเพณีแต่งงานว่า “กินเหนียว” หมายถึงกินข้าวเหนียว เพราะต้องเอาข้าวเหนียวไหว้ผีบรรพบุรุษ แสดงว่าบรรพชนคนภาคใต้ใน ตระกูลไทย-ลาว กินข้าวเหนียวเป็นอาหารหลักนั่นเอง

ข้าว ที่เป็นพันธุ์ข้าวปลูกให้คนเราหุงกินเป็นอาหารเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย มีอายุราว 5,500 ปีมาแล้ว นักโบราณคดีไทยและเทศ ขุดพบเมล็ดข้าวเก่าแก่นี้ที่ถ้ำปุงฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอน กําหนดอายุด้วยกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์ได้ราว 2,500-3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

แต่อายุข้าวต้องแก่กว่านั้นอีกหลายพันปีถ้าคิดถึงวิวัฒนาการ จากข้าวป่าขึ้นทั่วไปในธรรมชาติแล้วคนยังไม่รู้จักว่ากินได้ จนเกิดวิกฤตบางอย่างขึ้นมาคนเราถึงรู้ว่ากินได้ แล้วเอามาปลูกกินเป็นอาหาร จนกลายเป็นข้าวปลูก แล้วสืบพันธุ์ข้าวต่อเนื่องมา มีหลักฐานประวัติศาสตร์โบราณคดีพบที่บ้านโนนนกทา จังหวัดขอนแก่น และบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี จนถึงชายทะเลบ้านโคกพนมดี จังหวัดชลบุรี

ฉะนั้นหนังสือบางเล่มอาจใช้อายุข้าวที่พบในประเทศไทยเก่าแก่ถึง 7,000 หรือ 10,000 ปีมาแล้วก็ได้

แกลบหรือเปลือกข้าวอายุ 5,500 ปีมาแล้ว จากถ้ำปุงฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นประเภทข้าวไร่ที่เจริญงอกงามบนที่สูง มีทั้งข้าวเหนียวเมล็ดใหญ่ (Large Type) จัดเป็นพวกชวานิคา (Javanica) และข้าวเจ้าเมล็ดเรียว (Slender Type) จัดเป็นพวกอินดิคา (Indica)

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

คำว่าข้าวเจ้า เดิมเขียนว่าข้าวจ้าว เพราะคำว่าจ้าวแปลว่าแห้ง หมาด ไม่มีน้ำ เรียกข้าวที่หุงให้เป็นข้าวสวยโดนไม่แฉะว่า ข้าวจ้าว

ส่วนข้าวเหนียว เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าข้าวนึ่ง เพราะเป็นข้าวที่หุงเป็นข้าวสวยด้วยการนึ่ง เมื่อสุกเป็นข้าวสวยแล้วจะมียางเหนียวติดกัน

คําว่าข้าว เดิมที่เขียนว่าเข้า แปลว่า ปี (หรือ 12 เดือน) เพราะเหตุที่พืชพันธุ์อย่างนี้ เพาะปลูกด้วยน้ำฝนตามธรรมชาติได้ปีละครั้งเดียวในฤดูฝนเท่านั้น จึงเรียก “เข้า” ต่อมาสะกดเพียนเป็น “ข้าว” จนทุกวันนี้

พันธุ์ข้าวยุคแรกๆ มาจากป่า มีขึ้นทั่วไป แต่เมล็ดมีลักษณะอ้วน ป้อม จัดอยู่ในตระกูลข้าวเหนียว ถือเป็นต้นตระกูลแห่งข้าวเหนียวของ ภูมิภาคนี้ และอาจเกี่ยวข้องกับตระกูลข้าวญี่ปุ่นด้วย

ยุคแรกเริ่มของสุวรรณภูมิ คนทุกเผ่าพันธุ์กินข้าวป่ามาก่อน ซึ่งเป็นตระกูลข้าวเหนียว พบแกลบข้าวเหนียวอยู่ในแผ่นอิฐตามศาสนสถานยุคทวารวดีทั่วทั้งประเทศไทย รวมทั้งที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่สุโขทัย นครปฐม ลงไปถึงนครศรีธรรมราช แสดงว่าคนกินข้าวเหนียวเป็นอาหารหลักตั้งแต่เหนือจรดใต้

นักโบราณคดีกรมศิลปากรขุดพบเมล็ดข้าวเหนียวที่หุงหรือนึ่ง แล้วตกอยู่ในดินบริเวณศาลาโกงวัดมหาธาตุเมืองสุโขทัยด้วย แสดงว่าอาหารหลักในชีวิตประจําวันของคนทั่วไปและพระสงฆ์ยุคนั้นคือข้าวเหนียว

นักวิชาการชาวญี่ปุ่นชื่อ Tayado Watabe เลือกอิฐจากโบราณสถานในภาคต่างๆ ของประเทศไทยไปวิจัย แล้วพบว่าใน อิฐมีแกลบของข้าวชนิดต่างๆ แบ่ง เป็น 3 อย่าง คือ 1. ข้าวเมล็ดป้อม 2. ข้าวเมล็ดใหญ่ 3. ข้าวเมล็ดเรียว

นักวิชาการญี่ปุ่นกล่าวไว้ว่า ข้ามเมล็ดป้อมปลูกกันอยู่ทั่วไปกว่า 1,000 ปี นับแต่ก่อนพุทธศตวรรษที่ 11 จนถึงพุทธศตวรรษที่ 23 ข้าวเผ่านี้คล้ายเผ่าจาปอนนิคา (japonica-like) ครั้นหลังพุทธศตวรรษที่ 23 คงพบปลูกมาก อยู่ที่ภาคเหนือและภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือและหายไปจาก ภาคกลาง ปัจจุบันในภาคทั้ง

ข้าวเมล็ดป้อมนี้น่าจะได้แก่ข้าวเหนียวที่งอกงามในที่ ลุ่ม (the glutinous-lowland variety)

ส่วนข้าวเมล็ดใหญ่นั้นพบอยู่ทั่วไปเมื่อพุทธศตวรรษที่ 20 หลังจากพุทธศตวรรษที่ 20 ก็มีจํานวนลดน้อยลง โดยเฉพาะที่บริเวณภาคกลางเกือบจะสูญพันธุ์ เมื่อพิจารณาดูแผนที่แสดงขั้นความสูง (contour map) ของประเทศไทยแล้ว จะพบว่าข้าวเมล็ดใหญ่งอกงามอยู่ตามภูเขาหรือที่ราบสูง ผลของการศึกษาค้นคว้าหลายครั้งปรากฏว่าที่ภาคเหนือปลูกข้าวเหนียวที่งอกงามในที่สูงกันมาก ข้าวเมล็ดใหญ่นี้ก็น่าจะเป็นข้าวเหนียวที่งอกงามในที่สูง

เฉพาะข้าวเมล็ดเรียวนั้นเมื่อก่อนพุทธศตวรรษที่ 16 พบอยู่ในทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 20-23 ปรากฏว่ามีผู้ปลูกข้าวเมล็ดเรียวกันที่ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ โดยเฉพาะภาคกลางปลูกข้าวมากกว่าที่ภาคอื่น นับแต่พุทธศตวรรษที่ 23 เป็นต้นมา ในภาคกลางข้าวเมล็ดเรียวก็ทวีจํานวน มากขึ้นอย่างรวดเร็ว ข้าวเมล็ดเรียวนี้ได้แก่ข้าวเจ้า

อาจารย์ชิน อยู่ดี สรุปว่า นับแต่พุทธศตวรรษที่ 11 เป็นต้นมา ภาคกลางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเดิมมีข้าวที่พบมากอยู่ 2 จําพวก 8 ข้าวเหนียวเมล็ดป้อมที่งอกงามในที่ลุ่ม และข้าวเหนียวเมล็ดใหญ่ที่งอกงามในที่สูง

ต่อมาข้าวเหนียวเมล็ดใหญ่ค่อยๆ ลดน้อยลง มีข้าวเมล็ดเรียว (ข้าวเจ้า) ค่อยๆ เข้ามาแทนที่ ข้าวเจ้ายิ่งทวีจํานวนมากขึ้นทุกทีจนเข้าแทนที่ ข้าวเหนียวเมล็ดกลมและเมล็ดใหญ่ที่เคยงอกงามอยู่ก่อน ข้าวเจ้าจึงครองความเป็นใหญ่ในภาคกลาง

ข้าวเหนียวเมล็ดกลมที่งอกงามอยู่ในที่ลุ่มและข้าวเหนียวเมล็ด ใหญ่ที่งอกงามในที่สูงนั้น คนในประเทศไทยสมัยโบราณปลูกพวกไหนก่อน? อาจารย์ชินบอกว่า เมื่อพิจารณาดูพัฒนาการของการปลูกข้าว แล้ว คนในประเทศไทยโบราณน่าจะปลูกข้าวเหนียวเมล็ดใหญ่บนที่สูง ก่อนปลูกข้าวเหนียวเมล็ดกลม

ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 11-16 ปรากฏว่ามีการปลูกทั้งข้าวเหนียวเมล็ดป้อมและเมล็ดใหญ่ร่วมสมัยร่วมบริเวณเดียวกัน แสดงว่าวัฒนธรรมการทํานาแบบดั้งเดิมยังคงเหลืออยู่ ในขณะเดียวกันก็เริ่มจะมีการปลูกข้าวเจ้า ซึ่งเป็นพืชหลักในปัจจุบัน

สรุปแล้ว อาจารย์ชินบอกว่ามีการทํานาในประเทศไทยมาแล้วกว่า 5,000 ปี

สมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-16) ที่ภาคใต้มีการปลูกข้าวเหนียวเมล็ดป้อมและเมล็ดใหญ่

สมัยศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13-18) ที่ภาคใต้มีการปลูกข้าวเหนียวเมล็ดป้อมและข้าวเจ้า

สมัยลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ 16-19) ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการปลูกข้าวเหนียวเมล็ดป้อมและเมล็ดใหญ่กับข้าวเจ้า ที่ภาคกลางนิยมปลูกข้าวเหนียวเมล็ดป้อมมาก และปลูกข้าวเจ้ามากขึ้น

สมัยเชียงแสน (พุทธศตวรรษที่ 17-25) ปลูกข้าวเหนียวเมล็ดป้อมและเมล็ดยาวกับข้าวเจ้า ซึ่งมีจํานวนน้อยกว่าข้าวเหนียว

สมัยสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 19-20) ปลูกข้าวเหนียวเมล็ดป้อมมาก ข้าวเหนียวเมล็ดยาวมีบ้าง เริ่มปลูกข้าวเจ้ามากขึ้น

สมัยอยุธยา (พ.ศ. 1893-2310) ตอนต้น ปลูกข้าวเหนียวเมล็ดเมล็ดป้อมมาก ข้าวเหนียวเมล็ดยาวมีบ้าง เริ่มปลูกข้าวเจ้ามากขึ้น

ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 20-23 ปลูกข้าวเหนียวเมล็ดป้อมบ้าง ขาวเหมียวเมล็ดยาวเกือบสูญพันธุ์ แต่ข้าวเจ้านิยมปลูกมากขึ้นหลาย

ถ้ายกบทสรุปของศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี มาอธิบายใหม่ ก็จะได้ความรู้อย่างง่ายๆ กว้างๆ ว่าคนพื้นเมืองดั่งเดิมของสุวรรณภูมิตั้งแต่ราว 3,000 ปีมาแล้วกินข้าวเหนียว (เมล็ดป้อมและเมล็ดใหญ่) จากนาลุ่ม-นาดอน เป็นอาหารหลักทั่วทุกภาคส่วนตั้งแต่เหนือจดใต้

ราวหลัง พ.ศ. 1200 ที่รู้จักในนามยุคทวารวดี-ศรีวิชัย ถึงเริ่มกินข้าวเจ้า (เมล็ดเรียว) โดยคนกลุ่มเล็กๆ หลังจากนั้นค่อยๆ เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนขยายไปทั่วประเทศทุกวันนี้

นี้เป็นที่มาของข้าวเหนียว เป็นข้าวของไพร่ที่เป็นสามัญชนทั่วไป เรียกข้าวไพร่ ส่วนข้าวเจ้าเป็นข้าวของเจ้านายชนชั้นสูง เรียกข้าวเจ้า

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 26 สิงหาคม 2562

ดูข่าวต้นฉบับ