ไอที ธุรกิจ

ถอดบทเรียน “ไร่รื่นรมย์” ธุรกิจที่สร้างออแกนิค ไลฟ์สไตล์ ให้เกิดขึ้นได้จริง

TODAY
อัพเดต 05 ม.ค. 2566 เวลา 08.30 น. • เผยแพร่ 07 ม.ค. 2566 เวลา 02.00 น. • workpointTODAY

จากการทำเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ของตัวเอง สู่การขยับขยายเป็นคาเฟ่ ฟาร์มสเตย์ แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ และศูนย์เรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์บนพื้นที่ 200 ไร่ คือเส้นทางการเติบโตของ “ไร่รื่นรมย์” ตลอด 7 ปีที่ผ่านมา และปฏิเสธไม่ได้ว่านี่คือสิ่งที่เรียกว่าความสำเร็จ เพราะกระแสตอบรับจากคนจำนวนมาก ได้ทำให้เป้าหมายในการผลักดันออแกนิค ไลฟ์สไตล์ ที่ เปิ้ล - ศิริวิมล กิตะพาณิชย์ เคยตั้งไว้ เกิดขึ้นได้จริง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ออแกนิค ไลฟ์สไตล์ เป้าหมายของไร่รื่นรมย์

ออแกนิค ไลฟ์สไตล์ คืออะไร?

เชื่อว่าหลายคนคงเกิดความสงสัยในใจไม่ต่างจากผู้เขียน เพราะในเมื่อขึ้นชื่อว่าเป็นไลฟ์สไตล์ ก็คงจะไม่ใช่แค่การปลูกพืชออแกนิคแล้วจบไป ดังนั้น เปิ้ล - ศิริวิมล กิตะพาณิชย์ ผู้บุกเบิกและผู้บริหารไร่รื่นรมย์ ช่วยไขข้อข้องใจว่า “ออแกนิค ไลฟ์สไตล์ คือการใช้ชีวิตอย่างเห็นคุณค่าของธรรมชาติ และทำให้คนคืนดีกับคน ชุมชน และสิ่งแวดล้อม”

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

แล้วออแกนิค ไลฟ์สไตล์ มาเกี่ยวข้องกับไร่รื่นรมย์ได้อย่างไร?

เขากล่าวเพิ่มเติมว่า หลังจากค้นพบความต้องการของตัวเองหลังเรียนจบว่าอยากช่วยพัฒนาชุมชนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ก็พบว่าสิ่งที่ตอบโจทย์ที่สุดคือการทำเกษตรอินทรีย์ หรือไร่ออแกนิค จึงได้นำแนวคิดออแกนิค ไลฟ์สไตล์ มาตั้งเป็นเป้าหมายในการทำไร่รื่นรมย์ ตั้งแต่วันแรกจนถึงปัจจุบัน และไม่หยุดอยู่แค่การทำไร่

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

“ไร่รื่นรมย์อยากให้ผู้บริโภคเห็นคุณค่าของธรรมชาติ เราถึงอยากโปรโมตเรื่องออแกนิค ไลฟ์สไตล์ ให้คนรุ่นใหม่เข้าถึงได้ง่าย หลายครั้งที่ลูกค้ามาพักที่ไร่เพื่อสัมผัสวิถีชีวิตแบบออแกนิคแล้วรู้สึกประทับใจ แต่ไม่สามารถพักที่เชียงรายตลอดไปได้ เขาอยากกลับไปกิน นอน ใช้ชีวิตอย่างนี้ที่บ้านของตัวเอง เลยเป็นโจทย์ที่ทำให้เราพยายาม from Farm to City คือไม่ใช่แค่ทำไร่ แต่พัฒนาสินค้าเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภค และส่งไปถึงบ้านของเขาด้วย เพื่อสร้างออแกนิค ไลฟ์สไตล์ในทุกๆ ที่”

ช่วยสังคมในแบบของเปิ้ล ศิริวิมล

จากที่เปิ้ลได้ลงไปคลุกคลีกับชุมชนหลายๆ กลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มวิสาหกิจหรือเกษตรกรรายย่อย เห็นว่ามีที่อยากทำเกษตรอินทรีย์ แต่ยังติดปัญหาเรื่องการขายและเซอร์วิสอยู่ เราเลยเอาโจทย์ปัญหาตรงนี้มาเป็นเหมือนตัวกลางที่ทำให้เราเป็น 1 ช่องทางในการขายสินค้าให้เขา ดังนั้นเวลาขายของ เปิ้ลก็จะบอกว่าอันนี้เป็นของชุมชนไหน แบรนด์ไหน เราจะไม่บอกว่าเป็นของเราเอง เพื่อช่วยโปรโมตแบรนด์เล็กๆ ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น

“เกษตรกรแต่ละกลุ่มมีความต้องการที่แตกต่างกันไป เช่น มีฟักทองเกรด B ซึ่งเป็นเกรดที่หน้าตาไม่สวย แต่คุณภาพและคุณค่าทางอาหารยังดีอยู่ เดิมทีเขาจะเอาไปทำเป็นปุ๋ย เราก็จะช่วยต่อยอดทำเป็นซุป เพื่อให้ผู้บริโภคกินได้ง่ายขึ้น และช่วยเพิ่มมูลค่า สร้างรายได้ ให้กับเกษตรกร”

สำเร็จและเติบโตได้ด้วยโลกออนไลน์

ปัจจุบันเป้าหมายออแกนิค ไลฟ์สไตล์ ที่ได้ช่วยทั้งคนและสิ่งแวดล้อมนั้นเกิดขึ้นแล้ว เห็นได้จากการที่ไร่รื่นรมย์เติบโตอย่างต่อเนื่อง มีลูกค้าทั้งไทยและต่างชาติ แวะเวียนไปอุดหนุนไม่ขาดสาย รวมทั้งสั่งซื้อสินค้าอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ธุรกิจ ชุมชน และสิ่งแวดล้อมอยู่ได้ ซึ่งเมื่อย้อนถามถึงปัจจัยความสำเร็จ ผู้บุกเบิกไร่รื่นรมย์บอกว่า เป็นเพราะช่องทางออนไลน์ ที่ทำให้คนรู้จักไร่ได้อย่างรวดเร็ว

“เราเติบโตมาจากออนไลน์ตั้งแต่แรก เราโพสต์เรื่องของเราไปเรื่อยๆ คนก็เริ่มมีความสนใจมากขึ้น และอีกอย่างคือเราไม่ได้มองว่าเขาเป็นลูกค้า แต่มองว่าเป็นเพื่อนสนิทที่เราอยากจะส่งของดีๆ สิ่งดีๆ ข้อความดีๆ หรือบทความดีๆ ให้กับเขา เราเลยจะมีการสื่อสารกับเขาอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะใน LINE”

อุปสรรคและทางแก้เมื่อธุรกิจโตเร็ว

กว่าจะถึงวันนี้ เส้นทางก็ไม่ได้โรยด้วยกลีบดอกไม้เสียทีเดียว ยังคงมีอุปสรรคให้พบเจออยู่บ้าง โดยสิ่งหนึ่งที่เลี่ยงไม่ได้เมื่อธุรกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว คือ การบริหารจัดการลูกค้า

เปิ้ล ศิริวิมล แชร์ว่า แม้ LINE จะช่วยให้สื่อสารกับลูกค้าได้สะดวกสบาย แต่เมื่อจำนวนลูกค้า Add Friend มาเป็นเพื่อนกัน เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ก็ทำให้การบริการลูกค้าเริ่มจัดการได้ยาก เพราะข้อมูลมีการตกหล่น สุดท้ายจึงหันมาใช้ LINE Official Account หรือที่หลายคนเรียกกันติดปากว่า LINE OA เพื่อแก้ปัญหา

“หลังจากที่มี LINE OA @rairuenrom ก็ช่วยให้จัดการข้อมูลลูกค้าได้ดีขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น และทำให้ศึกษาฟีดแบ็คจากลูกค้าได้ด้วย ซึ่งนั่นช่วยให้การตลาดของเราพัฒนา และสามารถเติบโตขึ้นได้ เพราะทุกฟีเจอร์ของ LINE OA ดีกับคนทำธุรกิจ”

Premium ID เป็นสิ่งที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกไว้วางใจ เพราะช่วยให้เราดูมืออาชีพ เป็นบริษัทที่เป็นทางการ และมีอยู่จริง

Rich Menu ฟีเจอร์นี้จะมีลิงก์ให้ลูกค้าสามารถกดดูข้อมูลต่างๆ ได้โดยไม่ต้องรอให้แอดมินตอบ ถือว่าสะดวกสบายมาก เพราะมีหลายครั้งที่แอดมินอาจตอบไม่ทัน

Broadcast ไร่รื่นรมย์ใช้เพื่อโปรโมตสินค้าไปถึงลูกค้าทุกคนแบบไม่มีตกหล่น เช่น ฤดูกาลของอโวคาโด เราก็จะมีภาพที่เป็น Rich Message อธิบายว่าเป็นพันธุ์ไหน ราคาเท่าไหร่ กี่กิโล เพื่อแจ้งข่าวสาร และมีลิงก์ให้ลูกค้าสามารถกดสั่งซื้อได้ผ่านทาง LINE Shopping

Chat Tag เพราะลูกค้าแต่ละคนมีความต้องการที่แตกต่างกัน และสินค้าของไร่รื่นรมย์มีความหลากหลายมาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพรีออเดอร์ ก็จะใช้เครื่องมือนี้ในการจัดกลุ่มลูกค้าในหลังบ้านว่าใครต้องการหรือสนใจสินค้าอะไร เพื่อให้แอดมินค้นหาข้อมูลลูกค้าได้ง่ายขึ้น เช่น ลูกค้าต้องการสับปะรด แต่ต้องรอพรีออเดอร์ เราก็จะใส่ Tag คำว่าสับปะรดไว้ และเมื่อสับปะรดมาแล้ว ก็จะค้นหาลูกค้าคนนั้นจากแท็กสับปะรด

Note หลังจากที่ใช้ Chat Tag แล้ว ก็มีโน้ตที่ช่วยบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมด้วย เช่น ความต้องเป็นพิเศษของลูกค้า ช่วงเวลาที่ต้องการให้จัดส่ง เป็นต้น เพื่อให้แอดมินทุกคนมีความเข้าใจตรงกัน และสามารถบริการโจทย์ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าแอดมินคนไหนจะหยุดงาน ทุกอย่างก็จะไปต่อได้อย่างไม่มีสะดุด

เสริมด้วยการโฆษณาที่ตรงกลุ่ม

นอกจากนั้น ไร่รื่นรมย์ยังมีการยิงโฆษณาด้วย LINE Ads เพื่อดึงลูกค้าใหม่จากทั่วทุกมุมของประเทศให้ Add Friend เพิ่มเพื่อนเข้ามารับข้อมูลข่าวสาร และโปรโมชั่นใน LINE OA ด้วย โดยฟีเจอร์นี้จะช่วยส่งโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมายได้ตามที่ต้องการ เพราะบางครั้งเราก็ต้องการยิงโฆษณากับแค่บางกลุ่มเท่านั้น ทำให้ไม่เปลืองงบประมาณ และสื่อสารกับคนได้ถูกกลุ่มมากขึ้น

“LINE OA ตอบโจทย์คนทำธุรกิจมากค่ะ เพราะไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน อยู่เชียงราย หรืออยู่กลางทุ่ง ก็ยังสามารถขายของ และคุยกับลูกค้าได้ตลอดเวลา ที่ผ่านมาเราใช้ LINE OA มาตลอด เหมือนเพื่อนที่เติบโตมาพร้อมกัน ในอนาคตก็มีความตั้งใจที่จะใช้ต่อไป”

สรุปบทเรียนที่ทำให้ไร่รื่นรมย์พบกับความสำเร็จ

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าโลกออนไลน์จะเป็นปัจจัยหลักที่สร้างออแกนิค ไลฟ์สไตล์สู่คนหมู่มากได้สำเร็จ แต่ระหว่างทางก็มีปัจจัยอื่นที่เป็นแรงเสริมด้วยเช่นกัน โดยเปิ้ล ศิริวิมล ผู้บุกเบิกและผู้บริหารไร่รื่นรมย์ แบ่งปันบทเรียนตลอดหลายปีที่ผ่านมาว่า

“นอกจากการทำการตลาดออนไลน์แล้ว คนที่การทำเกษตรร่วมกับชุมชน จะต้องมีการปรับตัว และเรียนรู้ที่จะพัฒนาศักยภาพของตัวเองอยู่เสมอ เพื่อให้สามารถพัฒนาชุมชนต่อไปได้ เพราะในปัจจุบันมีคนที่ทำ ออแกนิคฟาร์มเยอะมาก การไม่หยุดพัฒนาจะทำให้เราแตกต่าง กลายเป็นฟาร์มที่ลูกค้าไว้ใจ และเลือกให้เป็นเพื่อนสนิท”

ดูข่าวต้นฉบับ