ไลฟ์สไตล์

ขรรค์ชัย-สุจิตต์ ชี้ 'บางระจัน' ไม่ได้รบเพื่อชาติ ไม่ได้ทำเพื่อกรุงศรีฯ แต่สู้เพื่อมาตุภูมิ

MATICHON ONLINE
อัพเดต 17 เม.ย. 2566 เวลา 13.44 น. • เผยแพร่ 17 เม.ย. 2566 เวลา 13.44 น.

ขรรค์ชัย-สุจิตต์ ชี้ ‘บางระจัน’ ไม่ได้รบเพื่อชาติ ไม่ได้ทำเพื่อกรุงศรีฯ แต่สู้เพื่อมาตุภูมิ

ศึกบางระจัน ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในห้วงเวลานี้ โดยเชื่อมโยงกับการเมืองเรื่อง #เลือกตั้ง66

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เมื่อชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ได้เข้าสักการะอนุสาวรีย์วีรบุรุษค่ายบางระจัน จ.สิงห์บุรี พร้อมระบุว่า “อยากให้ทุกคนคิดถึงรากเหง้าของความเป็นคนไทย บรรพชนที่เสียสละชีวิต เสียสละเลือดเนื้อเพื่อแผ่นดินไทยให้มากๆ และไม่อยากให้มีคนรณรงค์หาเสียงให้เกิดความชังชาติ ลืมรากเหง้าความเป็นคนไทย รณรงค์ให้คนไม่ไปเกณฑ์ทหาร”

นำมาซึ่งการถกเถียงในสังคม อาทินายธีรเศรษฐ พัฒน์วราพงษ์ ผู้สมัครส.ส.เขต 1 สิงห์บุรี รองเลขาธิการพรรคก้าวไกล ที่ได้ออกมาโต้ว่า “ชาวบ้านบางระจัน เป็นประชาชนที่สมัครใจรบปกป้องบ้านเกิด ไม่ใช่การบังคับขืนใจเกณฑ์มา”

ประเด็นดังกล่าว รายการขรรค์ชัย-สุจิตต์ ทอดน่องท่องเที่ยว ตอน บางระจันรบเพื่อมาตุภูมิ เพราะถูกเทจากอยุธยา ซึ่งเผยแพร่เมื่อ 30 มีนาคมที่ผ่านมา ผ่านเฟซบุ๊กมติชนออนไลน์, ข่าวสด, ศิลปวัฒนธรรม และยูทูปมติชนทีวี ได้เคยกล่าวถึง บางระจัน ไว้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นายขรรค์ชัย บุนปาน ประธานกรรมการบริษัทมติชน จำกัด (มหาชน) และนายสุจิตต์ วงษ์เทศ ผู้ก่อตั้งนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ระบุในตอนหนึ่ง ว่า คำว่า ‘บางระจัน’ เดิมเรียก ‘บ้านระจัน‘ ชาวบ้านระจันไม่ได้รบเพื่อชาติ เพราะแนวคิดเรื่องชาติเพิ่งเกิดในภายหลังในสมัยรัตนโกสินทร์ นอกจากนี้ ก็ไม่ได้รบเพื่ออยุธยา แต่รบเพื่อมาตุภูมิ เพื่อบ้านเกิดเมืองนอนของตน เหตุการณ์รบอังวะเกิดก่อนกรุงศรีอยุธาแตก 2 ปี ส่วนหลักฐานเอกสารที่ใกล้เหตุการณ์มากที่สุด คือ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) เขียนขึ้นใน พ.ศ.2317 หลังกรุงแตก 7 ปี ชื่อบุคคลที่ถูกกล่าวถึง มีเพียง 2 คนคือ ‘นายจันเขี้ยว‘ ซึ่งภายหลังรู้จักในชื่อ นายจันหนวดเขี้ยว และ ‘พระอาจารย์วัดเขานางบวช‘ ซึ่งต่อมา รู้จักในชื่อ พระอาจารย์ธรรมโชติ บุคคลนอกเหนือจากนั้น เพิ่งปรากฏในเอกสารสมัยรัชกาลที่ 4

“บางระจันไม่ได้อยู่โดดเดี่ยว ในขอบเขตบางระจันที่คนไปชุมนุมกัน กินไปถึงเขตอ่างทอง และสุพรรณบุรี พื้นที่กว้างขวางมาก มีคนหนาแน่นพอสมควร ดูได้จากชุมชนโบราณที่กระจายอยู่ เป็นเหตุให้อังวะต้องมาตี คนจำนวนไม่น้อยจึงมารวมกันอยู่ที่บางระจัน” นายสุจิตต์ กล่าว

จากนั้น นายขรรค์ชัยและนายสุจิตต์ นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ ‘อนุสรณ์สถานวีรชนสีบัวทอง’ อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง 4 คน คือ แท่น อิน เมือง โชติ ที่ไปรวมกับชาวบางระจัน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

“ย่านนี้มีความอุดมสมบูรณ์ พม่าเลยมาเอาเสบียง บ้านสีบัวทองไม่ใช่เพิ่งมีชุมชนสมัยอยุธยา แต่มีชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ตั้งแต่ราว 2500 ปีมาแล้ว ในขณะที่บ้านระจัน ก็เป็นเมืองเก่ามีผู้คนอยู่อาศัยสืบเนื่องกันมา ถ้าไม่ใช่ชุมชนใหญ่ และมีความสำคัญ จะไม่สามารถสร้างโบสถ์วิหารขนาดใหญ่อย่างวัดพระนอนจักรสีห์ได้ เรื่องนี้ต้องอธิบายให้ชัด มิฉะนั้นจินตนาการจะคลาดเคลื่อนได้ สำหรับตัวค่ายบางระจัน มีการใช้คูเมืองเดิมเป็นฐานที่ตั้งกำบัง ชาวบ้านยุคนั้นยึดเป็นค่ายเพราะสร้างอะไรใหม่ไม่ทันในช่วงสงคราม” นายขรรค์ชัยและนายสุจิตต์กล่าว

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

youtube
ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 54
  • Tandy
    แก่กระโหลกเนรคุณชาติทั้งคู่ เล่นคำว่าชาติกับมาตุภูมิ เพื่อจะแถว่าคนสมัยนั้นไม่ได้เกณฑ์ทหารและไม่รู้จักชาติ แต่ชาติหรือมาตุภูมิที่จริงมันก็อันเดียวกันเพียงแค่อาณาเขตที่เขาอยู่มันแบ่งและเรียกกันแบบนั้น ส่วนที่บอกว่าสมัยนั้นไม่ต้องเกณฑ์ ไม่ใช่สมัครใจนะ เกิดไม่ทันดันรู้ดี สมัยก่อนทุกคนต้องเป็นทหารยามศึกสงคราม จึงไม่ต้องเกณฑ์ เข้าใจไหม เฒ่าเนรคุณชาติ
    17 เม.ย. 2566 เวลา 14.17 น.
  • ⚡️⛎Ⓜ️🌜✝️
    ไม่รู้นะ สมัยนี้ยังมีโอกาสจับแดงดำ แต่สมัยนั้นไพร่ทาส ต้องเป็นทหารหมด ชนชั้นที่สูงกว่าก็ต้องไปเป็นนายทหารนำทัพ สมัยนี้ไม่มีสงครามเลยพากันเรียกร้องได้ แต่ถ้าเจอแบบรัสเซียยูเครน จะทำไง สส คงหนีกันหมด เพราะมีเงินมีอำนาจกลัวตาย หนีอย่างเดียว ปล่อยให้บ้านเมืองชาวบ้านที่หนีไปไหนไม่ได่ต่อสู้เอาเอง
    17 เม.ย. 2566 เวลา 18.11 น.
  • สุวรรณ จิตต์ปราณีชัย
    ชาติกับมาตภูมิความหมายก็เหมือนกัน มาตุภูมิแปลว่าบ้านเกิดเมืองนอน,แผ่นดินแม่ ซึ่งก็คือชาตินั่นเอง จะมาพูดออกสื่อให้สับสนเพื่อเจตนาอะไรกันแน่ เอาบางระจันที่ชาวไทยภูมิใจมาให้เปนประเด็นการเมือง เรื่องการเกณฑ์ทหารของพรรคการเมืองใช้หรือไม่ ถ้าใช่คือเลว
    17 เม.ย. 2566 เวลา 21.19 น.
  • KSN🙉🙈🙊
    น่าแปลกที่คนพรรค์นี้ยังมีชีวิตอยู่ได้
    17 เม.ย. 2566 เวลา 17.54 น.
  • K:
    สมัยก่อนก็เกณฑ์ทหารนะ ไปเรียนประวัติศาสตร์ใหม่ พวกไพร่ ทาสชายไปรบไง วุ้ย
    17 เม.ย. 2566 เวลา 18.01 น.
ดูทั้งหมด