ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

“ปิ้งย่างคนโสด” แข่งดุ Yakiniku Like ลุยขยายฐาน Gen Z-Young adult

การเงินธนาคาร
อัพเดต 30 พ.ย. เวลา 11.31 น. • เผยแพร่ 30 พ.ย. เวลา 04.19 น.

“Yakiniku Like” เจ้าของแท็กไลน์ “ปิ้งย่างคนโสด” วางเป้า 5 ปี 30 สาขาเร่งมือขยายสาขา - บู๊สต์การตลาดดึง Gen Z-Young adult เข้าพอร์ตหลังเศรษฐกิจไม่ดี กำลังซื้อแผ่ว ฉุดคนกรุงกินปิ้งย่างน้อยลงเดือนละ 3-10%

ภาพรวมตลาดปิ้งย่างในประเทศไทยช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมามีมูลค่ารวมกว่า 9 พันล้านบาท การเติบโตอยู่ในระดับ “ทรงตัว” จากการแข่งขันที่ค่อนข้างสูงจากการที่มีผู้เล่นหน้าใหม่ตบเท้าเข้ามาในตลาดอย่างคึกคัก

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ย้อนไปเมื่อ 3 ปีที่แล้ว “Yakiniku Like” แบรนด์ปิ้งย่างจากประเทศญี่ปุ่นได้ขยายการลงทุนเข้ามาในประเทศไทยพร้อมกับจุดเทรนด์ใหม่ “ปิ้งย่างคนโสด” เป็นจุดขายโดยมีเป้าหมายขยายสาขาครบ 30 สาขาภายใน 5 ปี

อย่างผู้บริหาร “ทิพย์สุดา อเนกวัชรากรณ์” ยอมรับว่าภายใต้เศรษฐกิจ กำลังซื้อ และการแข่งขันของตลาดอาจทำให้ “Yakiniku Like” อาจไปไม่ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้และอาจต้องใช้เวลา 6-7 ปีถึงจะสามารถขยายสาขาครบ 30 สาขาได้

หนึ่งในกลยุทธ์ที่สำคัญ คือ“การตลาด” ที่หลังจากนี้จะเข้มข้นมากขึ้นสะท้อนผ่าน “งบการตลาด” ซึ่งเดิมใช้เพียง 2% ของยอดขาย โดยปี 2568 จะเพิ่มงบการตลาดเป็น 12 ล้านบาทเพื่อเร่งสร้างการรับรู้เพราะปัจจุบันคนไทย 8 ใน 10 ไม่รู้จัก “Yakiniku Like” ที่ผ่านมาอยู่ได้ด้วยลูกค้าเดิมที่กลับมาทานซ้ำ ดังนั้นเป้าในปี 2568 คือการสร้างฐานลูกค้าใหม่ๆโดยเฉพาะ Young adult & First jobber

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

อย่างไรก็ดี ทิพย์สุดา อเนกวัชรากรณ์ Marketing Manager Yakiniku Like Thailand เปิดเผยว่า Yakiniku Like เข้ามาในประเทศไทยประมาณ 3 ปี ขยายสาขาไปแล้วกว่า 14 สาขา โดยสาขาที่มีทราฟฟิกดีที่สุดและยอดขายดีที่สุดคือ สาขาลาดพร้าวและเมกาบางนา มีทราฟฟิกเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ราวๆ 400 ที่นั่งหรือ 6 เทิร์น รายได้เฉลี่ยต่อสาขาราวๆ 5 ล้านบาทต่อเดือน

ล่าสุดเปิดสาขาที่ 15 สาขาพื้นที่ 160 ตรว. จำนวน 75 ที่นั่งใหญ่เป็นอันดับ 3 ของสาขาในไทย ซึ่งสัดส่วนการลงทุนกว่า 30% ของค่าก่อสร้างร้านเป็นการลงทุนในส่วนของ “เตาดูดควัน2ระบบ” เพื่อมั่นใจว่าลูกค้าจะไม่มีกลิ่นจากการทานปิ้งย่างติดตัว

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

“3 ปีในประเทศการเติบโต “Yakiniku Like” ค่อนข้างเกินคาดไปเยอะ ในปีแรกแพลนเปิด 3 สาขาแต่สามารถเปิดได้จริง 5 สาขา ส่วนในปีที่แล้วสามารถขยายได้ 6 สาขาและปีนี้คาดว่าจะเปิดสาขาทั้งหมดได้ 5 สาขา

ขณะที่การเติบโตปี 2566 เราตั้งเป้าเติบโตที่ 10% ปิดรายได้ไปที่ 390 ล้านบาทแต่เราเติบโตจริงๆ 12% ปีนี้ตั้งเป้าโต 15% ดังนั้นในปี2568 เราตั้งเป้าการเติบโตของยอดขายไว้ที่ 20% และแพลนเปิดเพิ่มอีก 3 สาขาในกรุงเทพฯและปริมณฑล”

ร้านของเราเป็น “Solo dining” จากประเทศญี่ปุ่น ดังนั้นไม่ว่าสาขาที่ไทยหรือสาขาที่ญี่ปุ่นจะมี Quality เดียวกันไม่เคยลด Quality โดยให้ความสำคัญกับ Value for money ทำให้ลูกค้าที่มากินค่อนข้างติดใจและมาซ้ำ

เมื่อช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา Yakiniku Like ได้ล๊อนซ์ “Loyalty Program” จากการเก็บข้อมูลพบว่า มี Heavy User ที่มากินซ้ำๆมากกว่า 2 ครั้งต่อเดือนสูงถึง 30% รวมถึงได้ New User เพิ่มมากขึ้นจากการขยายสาขาและลูกค้ามากินซ้ำเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอายุ 25-30 ปี ค่าใช้จ่ายต่อหัวเฉลี่ย 350 บาท และค่าใช้จ่ายต่อบิลเฉลี่ย 760 บาท และเป็นผู้หญิง 60-70% เป็นคนไทย 80-90% มีแค่บางสาขาเท่านั้นที่มีนักท่องเที่ยวเยอะขึ้นในช่วงหลัง

“เรายังมีช่องว่างทางการตลาดอีกมากในการที่จะขยายกลุ่มลูกค้าใหม่ ตอนนี้เรามีสมาชิกLoyalty Program 1 แสนคน ใน 3 เดือน ตั้งเป้าขยายLoyalty Program 70%ของลูกค้าทั้งหมด และในปปี2568 ตั้งเป้าแอคทีฟยูสเซอร์ 10% โดยเฉพาะลูกค้าใหม่Gen Zและวัยรุ่น”

Solo dining เริ่มดุคู่แข่งเริ่มเปิดโต๊ะกินเดี่ยว

ผู้บริหารกล่าวต่อไปว่าเราเป็น Solo dining สิ่งที่ Yakiniku Like โปรโมทมาตลอด คือเรื่องของ tasty Quick และ Value for money ปัจจุบันมีการแข่งขันที่สูงนอกจากแข่งกับร้านปิ้งย่างแล้ว ยังต้องแข่งกับ Buffet ซึ่งก็ “ยาก” แต่เชื่อว่า Value for money สามารถออฟเฟอร์คุณภาพและความอร่อยได้คุ้มค่ากับเม็ดเงินที่ลูกค้าจ่าย

“หลังๆ หลายๆแบรนด์อาจพูดถึง Solo dining มากขึ้นเพราะภาพรวมคนแต่งงานน้อยลง ทำให้ครอบครัวใหญ่น้อยลงไปด้วยทำให้เทรนด์ของการทานคนเดียวเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับด้วยไลฟ์สไตล์ของวัยรุ่นและ Gen Z ต่างๆไม่ต้องพึ่งพาบุคคลอื่น เน้นเป็นตัวของตัวเอง และด้วยแทํ็กไลน์ของเราคือ Solo dining เพราะฉะนั้นเราก็แท็กทาร์เก็ตของเราให้สบายใจที่จะมาทานและสะดวก”

อย่างไรก็ดีผู้บริหารยอมรับว่า แม้จะวางโพชิชั่นเป็น Solo dining แต่จริง ๆ แล้วสัดส่วนของลูกค้า Solo ของ Yakiniku Like อยู่ที่ 25% แม้ว่าจะมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ที่ราวๆ 10-20% แต่ก็ยังน้อยกว่าญี่ปุ่นที่มีสัดส่วนลูกค้า Solo เกือบ 40%

“สังคมไทยอาจจะไม่ได้ไปไกลเท่าญี่ปุ่น สัดส่วนลูกค้าของเราเป็นคูเปอร์หรือมา 2 คน 25% และมาเป็นกลุ่ม 50% ซึ่งลูกค้าที่มาทานเป็นกลุ่มจะมี benefit กับเรามากกว่า เพราะนอกจากสั่ง 1 เซ็ตแล้วยังสั่งเมนู อลาคาร์ท อื่นเข้ามาแชร์กันทำให้ค่าใช้จ่ายต่อบิลสูงกว่า”

นอกจากนี้ ตามแผน 5 ปี (2564-2568) Yakiniku Like ตั้งเป้าที่จะเปิดสาขาครบ 30 สาขา หรือเฉลี่ยปีละ 5-6 สาขาในกทม.และปริมนฑล แต่ปัจจุบันจากสถานการณ์เศรษฐกิจและกำลังซื้อต่างๆ การแข่งขันค่อนข้างสูงและมีหลายแบรนด์ที่เริ่มเปิด Solo diningมากขึ้น สะท้อนผ่านทราฟฟิกของลูกค้าที่มาทานในร้านน้อยลงในทุกเดือน 3-10% โดยเฉพาะเดือนกันยายนค่อนข้างลดลงอย่างมาก ดังนั้นอาจต้องใช้เวลา7-8ปีที่จะไปถึงเป้า 30 สาขา

อัดการตลาดขยายฐานลูกค้าเรียกทราฟฟิกใหม่เข้าร้าน

ทิพย์สุดา แชร์อีกหนึ่งมุมที่น่าสนใจของ Yakiniku Like ว่า แบรนด์นี้อยู่มา 2 ปีกว่าโดยไม่มีการทำการตลาดใดๆทำให้เห็นว่าแบรนด์มีความสตรอง ลูกค้ารู้จักเราจากการบอกปากต่อปาก และ Social Media แต่จุดเปลี่ยนคือ การที่ “เสือร้องไห้” มารีวิวสาขาเมกาบางนาทำให้คำว่า “ปิ้งย่างคนโสด” กลายเป็นแท็กไลน์ของร้านและมีลูกค้าทำการตลาดให้ในช่วง 2 ปีแรก

ทั้งนี้ Yakiniku Like วางงบการตลาดประมาณ 2% ของยอดขายหรือ 6-7 ล้านบาทเท่านั้นแต่ในปี 2568 เพิ่มงบการตลาดเป็น 12 ล้านบาทเพื่อบิ๊วท์แบรนด์มากขึ้นโดยจะทำงานร่วมกับ KOL และเน้นการทำ CRM

“8 ใน10 ของคนไม่รู้จักเราเพราะฉนั้นตลาดในไทยเรายังมีโอกาส และคาดว่าในปีหน้ากำลังซื้อน่าจะกลับมาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเข้ามา แต่กำลังซื้อภายในประเทศน่าจะยังเหนื่อยบวกกับการแข่งขันที่สูง และต้นทุนวัตถุดิบที่เราแบกกว่า30% มากว่า8 เดือนจากเนื้อคารูบิพรีเมี่ยมที่ใช้70%ต่อเดือนราคาแพงขึ้นจากปริมาณที่น้อนลงไม่เพียงพอกับความต้องการทั้งโลก

ซึ่งเดือนที่ผ่านมาเราปรับราคาเมนูขึ้นราวๆ3% และปรับเซ็ทเมนูใหม่ให้มีความคุ้มค่าโดยม่ให้ลูกค้ารับภาระมากเกินไป ดังนั้นภาพรวมของYakiniku Like ปีหน้าก็อาจดีขึ้นกว่าเดิมไม่มาก”

อ่านข่าว แวดวงธุรกิจ ที่น่าสนใจ ทั้งหมด ได้ที่นี่

ดูข่าวต้นฉบับ