สุขภาพ

“มะขามแขก” สมุนไพรยาระบายจากธรรมชาติ เผยวิธีการกินไม่ให้มากเกินไป

PPTV HD 36
อัพเดต 14 ธ.ค. 2567 เวลา 08.19 น. • เผยแพร่ 15 ธ.ค. 2567 เวลา 20.00 น.
เปิดข้อมูลทางการแพทย์ของมะขามแขกสมุนไพรไทยเด่นเรื่องยาระบาย เผยข้อควรระวัง อาการข้างเคียง และวิธีการทาน

มะขามแขก (Senna alexandrina P. Miller) เป็นสมุนไพรไทยที่ขึ้นชื่อเรื่องแก้อาการท้องผูก ที่ใช้กันมาอย่างยาวนาน ซึ่งตามตำราสมุนำพร คือการนำใบหรือฝักแห้งมาต้มเพื่อรับประทาน แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาในรูปแบบยาเม็ด แคปซูล และยาชงทั้งแบบสมุนไพรเดียวและผสมรวมกับสมุนไพรชนิดอื่น ซึ่งต้องกินแต่พอดีและจำเป็นเท่านั้น

มะขามแขกมีสารออกฤทธิ์ที่สำคัญ คือ sennoside A และ sennoside B ซึ่งสารทั้งสองชนิดนี้จะถูกเปลี่ยนให้มีฤทธิ์ระบายด้วยการทำงานของเอนไซม์จากแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

“กระถิน” สมุนไพรช่วยลดน้ำตาลในเลือด แต่พิวรีนสูงก่อนกินต้องระวัง

“ย่านาง” ประโยชน์สมุนไพรเย็น ขจัดพิษกระตุ้นระบบไหลเวียนเลือด

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

จากนั้นจึงออกฤทธิ์กระตุ้นผนังลำไส้ใหญ่ให้เกิดการการบีบตัว รวมทั้งยับยั้งการดูดน้ำกลับที่บริเวณลำไส้ใหญ่ ส่งผลให้เกิดการขับถ่าย

ขนาดและวิธีการยาระบายมะขามแขก

ปริมาณของสาร sennosides ที่แนะนำสำหรับบรรเทาอาการท้องผูก คือ 17.2-30 มิลลิกรัมต่อวัน โดยขนาดสูงสุดที่รับประทานได้ คือ 68.8 มิลลิกรัมต่อวัน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
  • สำหรับยาระบายมะขามแขกในรูปแบบเม็ดและแคปซูล แนะนำให้รับประทาน 2-4 เม็ด ก่อนนอน
  • รูปแบบยาชง แนะนำให้รับประทานครั้งละ 2 กรัม ชงกับน้ำร้อนประมาณ 120-200 มิลลิลิตร ก่อนนอน

อาการข้างเคียงจากการใช้ยาระบายมะขามแขก

อาการข้างเคียงทั่วไปที่พบ ได้แก่ ปวดเกร็งท้อง ปวดมวนท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น

เปิดสรรพคุณ “เพชรสังฆาต” สมุนไพรไทย เด่นรักษาริดสีดวง เผยข้อควรระวัง!

ข้อควรระวังที่สำคัญ

  • ผู้หญิงมีครรภ์ หรือ มีประจำเดือน ห้ามรับประทาน
  • ไม่ควรใช้ติดต่อกันนานเกิน 1 สัปดาห์ เพราะอาจทำให้ท้องเสียจนเกิดการสูญเสียน้ำและเกลือแร่มากเกินไป รวมทั้งยังทำให้ลำไส้ใหญ่ชินต่อยา ส่งผลให้ไม่สามารถขับถ่ายได้ถ้าไม่ใช้ยาถ่าย7
  • หยุดใช้เมื่อมีเลือดออกจากทวารหนัก7
  • ควรระวังการใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี หรือในผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (inflammatory bowel disease)7
  • การรับประทานยาในขนาดสูงอาจทำให้เกิดไตอักเสบ7
  • ห้ามใช้ยาระบายมะขามแขกในผู้ที่มีภาวะทางเดินอาหารอุดตัน หรือปวดท้องโดยไม่ทราบสาเหตุ1

มะขามแขกเป็นสมุนไพรไทยที่มีการพัฒนาให้อยู่ในรูปยาแผนปัจจุบันหรือยาพัฒนาจากสมุนไพรซึ่งถูกบรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติสำหรับใช้เพื่อบรรเทาอาการท้องผูก มีผลทำให้การถ่ายอุจจาระคล่องขึ้น อย่างไรก็ตามไม่ควรใช้มะขามแขกติดต่อกันเป็นระยะเวลานานเพราะจะทำให้ลำไส้ใหญ่ชินต่อยา และไม่สามารถขับถ่ายได้ถ้าไม่ใช้ยาถ่าย อีกทั้งควรเลือกจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ ระวังยาปลอมซึ่งไม่มีฤทธิ์เป็นยาถ่ายเป็นพิษต่อร่างกายซะเอง

ขอบคุณข้อมูลจาก : คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล

“กระเจี๊ยบแดง” ประโยชน์สมุนไพร ชะลอไขมันอุดตันในเลือดมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ

“บอระเพ็ด” สมุนไพรรสขม สรรพคุณช่วยให้เจริญอาหาร ข้อควรระวังก่อนใช้

ดูข่าวต้นฉบับ