กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ประกาศ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก 6 จังหวัดภาคใต้ ช่วงวันที่ 4 - 6 พฤศจิกายน 2565
ประกาศ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 52/2565 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ภาคใต้
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้ติดตามการคาดการณ์สภาพอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 4 - 5 พฤศจิกายน 2565 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนล่างเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศมาเลเซีย ทำให้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง
กอนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ต้องเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก บริเวณภาคใต้ ในช่วงวันที่ 4 - 6 พฤศจิกายน 2565 ได้แก่
จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อำเภอท่าฉาง กาญจนดิษฐ์ ดอนสัก เกาะสมุย และเกาะพะงัน)
จังหวัดนครศรีธรรมราช (อำเภอขนอม เมืองนครศรีธรรมราช สิชล จุฬาภรณ์ ท่าศาลา นบพิตำ พระพรหม เชียรใหญ่ เฉลิมพระเกียรติ ชะอวด หัวไทร และปากพนัง)
จังหวัดพัทลุง (อำเภอเมืองพัทลุง กงหรา ป่าบอน ศรีบรรพต บางแก้ว และเขาชัยสน)
จังหวัดสงขลา (อำเภอหาดใหญ่ กระแสสินธุ์ ระโนด สะเดา สทิงพระ สะบ้าย้อย และสิงหนคร)
จังหวัดยะลา (อำเภอยะหา และเบตง)
จังหวัดปัตตานี (อำเภอสายบุรี)
จังหวัดนราธิวาส (อำเภอจะแนะ ยี่งอ ระแงะ สุไหงปาดี)
ธนาคารกรุงไทย แจงแล้ว ส่งSMS เชิญชวนประชาชน ได้รับสิทธิ์ยื่นกู้ผ่านลิงก์
ประกันสังคม ชี้แจงแล้ว หลังว่อนข่าวปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำให้ทุกอาชีพ
อาจารย์คณะแพทย์ เผยสอนนักศึกษามา 26 ปี ไม่เคยเจอรายงานที่ยอดเยี่ยมแบบนี้
ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้
1. ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ
2. ติดตาม ตรวจสอบ ซ่อมแซม แนวคันบริเวณริมแม่น้ำ และเร่งกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ พร้อมวางแผนการบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม โดยปรับแผนระบายน้ำจากเขื่อนและประตูระบายน้ำ เพื่อพร่องน้ำและบริหารพื้นที่ลุ่มต่ำให้เป็นแก้มลิงหน่วงน้ำ เพื่อลดผลกระทบจากมวลน้ำที่จะไหลหลากมายังบริเวณพื้นที่เสี่ยง
3. เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที
4. ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการอพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์
ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมที่ Tnews