ทั่วไป

"ฉลาดซื้อ"เผยผลตรวจน้ำส้ม พบสารเคมีตกค้าง 13 ชนิด

new18
อัพเดต 15 พ.ย. 2562 เวลา 07.17 น. • เผยแพร่ 15 พ.ย. 2562 เวลา 06.55 น. • new18
ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อเผยผลตรวจน้ำส้ม พบสารเคมีตกค้าง 13 ชนิด พบสารกันบูด 2 ตัวอย่าง แต่ไม่พบยาปฏิชีวนะ 4 ชนิด

*ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อเผยผลตรวจน้ำส้ม พบสารเคมีตกค้าง 13 ชนิด พบสารกันบูด 2 ตัวอย่าง แต่ไม่พบยาปฏิชีวนะ 4 ชนิด *

เมื่อวันที่ 15 พ.ย. ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ ภายใต้โครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ น.ส.สารี อ๋องสมหวัง บรรณาธิการบริหารนิตยสารฉลาดซื้อ เปิดเผยผลทดสอบ “น้ำส้มคั้นสดและน้ำส้ม 100%” 30 ตัวอย่าง ดังนี้ 1. ผลการทดสอบสารเคมีตกค้าง พบ มีตัวอย่างน้ำส้มจำนวน 18 ตัวอย่าง พบสารเคมีตกค้าง 60% และไม่พบจำนวน 12 ตัวอย่าง 40%

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

การทดสอบครั้งนี้พบสารเคมีตกค้างทั้งสิ้น 13 ชนิด ได้แก่ Imazalil พบในน้ำส้ม 8 ยี่ห้อ, Imidacloprid พบในน้ำส้ม 8 ยี่ห้อ, Ethion พบในน้ำส้ม 5 ยี่ห้อ, Carbofuran พบในน้ำส้ม 4 ยี่ห้อ, Carbendazim พบในน้ำส้ม 3 ยี่ห้อ, Acetamiprid พบในน้ำส้ม 3 ยี่ห้อ, Carbofuran-3-hydroxy พบในน้ำส้ม 3 ยี่ห้อ, Profenofos พบในน้ำส้ม 2 ยี่ห้อ, Chlorpyrifos พบในน้ำส้ม 1 ยี่ห้อ, Methomyl พบในน้ำส้ม 1 ยี่ห้อ, Azoxystrobin พบในน้ำส้ม 1 ยี่ห้อ, Fenobucarb พบในน้ำส้ม 1 ยี่ห้อ, และ Prothiofosพบในน้ำส้ม 1 ยี่ห้อ

2. ผลการทดสอบวัตถุกันเสีย พบ 4 ตัวอย่าง แต่ไม่เกินมาตรฐาน ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อได้ส่งตรวจยืนยันอีกครั้ง พบว่า มีวัตถุกันเสีย ใน 2 ตัวอย่างเท่านั้น 3. ปริมาณน้ำตาล ผลทดสอบพบว่า ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 9.84 กรัม/100 มิลลิลิตร (ใกล้เคียงกับปริมาณน้ำตาลในน้ำส้มคั้นที่เคยมีผู้วิจัย โดยอ้างอิงจากงานเว็บไซต์ CalForLife.com ที่ระบุว่า ในน้ำส้มคั้นควรจะมีปริมาณน้ำตาล 8.4 กรัม/หน่วยบริโภค 100 กรัม) หากสนใจปริมาณน้ำตาลเพิ่มเติม สามารถอ่านได้จาก www.ฉลาดซื้อ.com

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

4. ผลทดสอบหายาปฏิชีวนะ 4 ชนิด ได้แก่ Amoxycillin, Ampicillin, Benzyl penicillin และ Tetracycline ผลทดสอบไม่พบการตกค้างยาปฏิชีวนะทั้ง 4 ชนิดในทุกตัวอย่าง แต่ก็ไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะ

ด้าน น.ส.ปรกชล อู๋ทรัพย์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานการตกค้างของสารเคมีทางการเกษตรใน ‘น้ำส้มคั้นสดและน้ำส้ม 100%’ จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 356) พ.ศ. 2556 เรื่อง เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท หรือประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม (ฉบับที่ 3635) พ.ศ. 2549 กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำผลไม : น้ำสม มาตรฐานเลขที่ มอก. 99 – 2549 ซึ่งหมายความว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่ยอมรับให้มีการตกค้างของสารเคมีในน้ำส้มคั้นสดและน้ำส้ม 100% ตัวอย่างที่พบสารเคมีตกค้างเป็นตัวอย่างที่มาจากการคั้นสดแล้วบรรจุขวดขายโดยตรงแก่ผู้บริโภค ผลิตภัณฑ์บรรจุในขวดปิดสนิทที่ได้รับเครื่องหมาย อย. และรวมทั้งผลิตภัณฑ์มาตรฐานอุตสาหกรรม เสนอให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการเฝ้าระวังสารเคมีตกค้างในน้ำส้มและผลิตภัณฑ์น้ำผักผลไม้ต่อเนื่องเป็นระยะจนมั่นใจว่าไม่มีการตรวจพบสารตกค้าง และประกาศให้ผู้บริโภครับทราบข้อมูลทุกครั้ง เสนอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ควบคุมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการผลิตพืชอาหารอย่างเข้มงวดเพื่อให้เกิดความปลอดภัยจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตั้งแต่ต้นทางของการผลิตอาหาร

ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) กล่าวว่า ผลการทดสอบไม่พบยาปฏิชีวนะทั้ง 4 ชนิดในทุกตัวอย่าง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดี เห็นพัฒนาการที่น่าพอใจ เพราะเคยมีรายงานในปี 2560 พบการตกค้างของยาปฏิชีวนะในน้ำส้ม แม้จะมีปริมาณไม่มาก อย่างไรก็ดี การไม่พบอาจยังไม่ได้ยืนยันว่าไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะ เพราะจากงานวิจัยปีล่าสุดพบว่า สวนส้มมีการใช้ยาปฏิชีวนะมากถึง 95% เรื่องนี้คงต้องศึกษาถึงการใช้และการตกค้างของเชื้อดื้อยาและ/หรือ ยีนส์เชื้อดื้อยา ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะในการปลูกส้มอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพคนงาน หากตกค้างย่อมส่งผลต่อผู้บริโภคและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในหลายด้าน ที่ต่อเนื่องถึงคุณภาพดินและแหล่งน้ำ 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

“ทุกวันนี้เรามีการใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาโรค ทำให้เรามีโอกาสที่จะได้รับยาดังกล่าวอยู่แล้ว และหากเรารับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนบ่อยๆ ก็อาจทำเราได้รับยาปฏิชีวนะในปริมาณที่มากเกินไปโดยไม่รู้ตัว ซึ่งการได้รับยาดังกล่าวบ่อยครั้งจะส่งผลให้เกิดอาการแพ้ยา และรวมถึงเกิดเชื้อดื้อยา ส่งผลให้จำเป็นต้องใช้ยาที่แรงขึ้นเรื่อยๆ จนสุดท้ายอาจไม่มีตัวยาใดมารักษาได้เลย อีกทั้งยังคาดหวังว่ารัฐบาลจะกำกับให้มีนโยบายที่ชัดเจนในการลดการใช้ยาปฏิชีวนะในทางการเกษตรและยกเลิกการใช้ในท้ายที่สุด รวมถึงมีกลไกสนับสนุนในการทำเกษตรอินทรีย์” ผศ.ภญ.ดร.นิยดากล่าว

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 26
  • BabyBoss
    ไม่บอกยี่ห้อแล้วจะรู้มั้ย
    15 พ.ย. 2562 เวลา 08.22 น.
  • varaporn
    ออกข่าวแล้วควรบอกยี่ห้อด้วย ไร้ประโยชน์สิ้นดี
    15 พ.ย. 2562 เวลา 08.22 น.
  • Pol Thunya
    ยี่ห้ออะไรล่ะ ?
    15 พ.ย. 2562 เวลา 08.11 น.
  • ซ่อนกลิ่น
    อย่าไปหวังกับมาตรการอะไรเลยค่า ผู้บริโภคทั้งโลก ปล่อยให้เขาผลิตกองไว้รกโลกซะให้เข็ด พวกเราหันไปซื้อผลไม้สดๆ ตามฤดูกาล ราคาถูก ล้างให้สะอาดทานให้อร่อย มีประโยชน์กว่าเยอะ
    15 พ.ย. 2562 เวลา 08.21 น.
  • Surapun
    ประกาศให้ทราบ​ ไม่เกิดประโยชน์ใดต่อผู้บริโภค​ .. เเต่มาตรการถัดไปคือ​ การบังคับใช้ต่อขบวนการผลิต​ จาก​หน่วยงาน​ อุตสหกรรมเเละเกษตร​ ทั้งหลาย​ ที่ควรต้องจริงจัง​ เข้มงวด
    15 พ.ย. 2562 เวลา 08.09 น.
ดูทั้งหมด