ทั่วไป

เผือกร้อน “รัฐบาลใหม่” ตีตั๋ว 65 บาท BTS ตลอดสาย จบไม่ลง? 

ฐานเศรษฐกิจ
เผยแพร่ 15 ก.ค. 2562 เวลา 04.00 น.

     ยืดเยื้อไม่จบ! เจรจาต่ออายุสัญญาสัมปทาน รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายใหม่ 2 ช่วง หมอชิต-คูคต และ แบริ่ง-สมุทรปราการ ระหว่างกรุงเทพมหานคร(กทม.) ในนามบริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด และบีทีเอสในนาม บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ BTSC  ผู้รับสัมปทานเดิม
     ปมมาจากโจทย์ที่ว่า “กทม.”ต้องการผู้บริหารจัดการเดินรถเพียงรายเดียวหรือซิงเกิลโอเปอเรชัน เพื่อความสะดวกไม่ต้องเปลี่ยนระบบ เปลี่ยนขบวนรถให้ยุ่งยากแก่ผู้โดยสารและที่สำคัญกทม.ต้องการบีบให้อัตราค่าโดยสารตลอดทั้งสายไม่เกิน 65 บาท หลังจากถูกสังคมกดดันหนักถึงราคาค่าบริการรถไฟฟ้าเมืองไทยถือว่าแพงมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น  

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

      เพราะหากคิดตามราคาปัจจุบันเริ่มต้นสถานีละ 15 บาท  และอัตราค่าบริการตลอดสายที่เปิดให้บริการทุกสถานีปัจจุบันอยู่ที่ไม่เกิน 59 บาท แต่ห้าหากเปิดให้บริการครบทุกสถานีตลอดสาย (คูคตถึงสมุทรปราการ)  ค่าโดยสารตลอดทั้งสายจะสูงลิบถึง 140-150 บาท เป็นเรื่องที่คนกรุงรับไม่ได้ และกทม.ก็ต้องถูกสับเละ ! 

     โดยปัจจุบันราคาค่าโดยสารจากหมอชิต-อ่อนนุชอยู่ที่ 44 บาท จากอ่อนนุชถึงแบริ่งเพิ่มอีก 15 บาท เป็นการเหมาจ่าย จากแบริ่งปากน้ำ สมุทรปราการ ที่เพิ่งเปิดบริการปลายปี 2561 ขณะนี้ยังนั่งฟรีไม่คิดเงิน 
   

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

      ด้วยส่วนต่อขยายที่เปิดให้บริการเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยวันที่ 11 สิงหาคมนี้จะเปิดเพิ่มอีก 1 สถานีจาก หมอชิต-เซ็นทรัลลาดพร้าว และสิ้นปีจะเปิดบริการถึงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์   ผู้ว่าฯ กทม. “พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง” จึงต้องการเคลียร์เรื่องสัมปทานและราคาให้จบโดยเร็ว 
      โดยโยนเผือกร้อนมาที่  “บีทีเอส”  ให้ยึดราคาไม่เกิน 65 บาทตลอดสาย ซึ่งหมายถึงสถานีต้นทางจากคูคตถึงปลายทาง สมุทรปราการ ที่จะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในปี 2563 รวมระยะทางราว 60 กิโลเมตรจำนวน 47 สถานี เชื่อมโยงถึง 3 จังหวัด คือ กทม.สมุทรปราการ และ ปทุมธานี แต่ราคาค่าโดยสารต้องไม่เกิน 65 บาทขาดตัว

     โจทย์นี้ทำเอา “เจ้าสัวคีรี กาญจนพาสน์”  ถึงกับ “กุมขมับ” พยายามหาสูตรคำนวณให้ลงตัวและเจ็บตัวน้อยที่สุด ซึ่งว่ากันว่าในที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาเรื่องนี้ ซึ่งตั้งโดย “พล.อ.อนุพงษ์  เผ่าจินดา”  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีการเสนอหลายแนวทางในการเจรจาต่อรอง 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

     

   ขณะเดียวกันก็ต้องไม่ลืมว่ารถไฟฟ้าสายสีเขียวยังมีผู้เกี่ยวข้องกันถึง 3 กลุ่ม คือ กทม. –บีทีเอสและ รฟม.หรือการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ที่เข้ามาเอี่ยวในฐานะ ที่เป็นผู้ลงทุนส่วนต่อขยายหัว-ท้ายที่กำลังจะเปิดบริการและ รฟม.ก็เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจอยู่ภายใต้กระทรวงคมนาคม ส่วนกทม.อยู่ในการกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทย 

      เรื่องเกี่ยวพันระหว่าง กทม.กับรฟม.เคลียร์กันจบไปแล้ว หลังจากมติครม.ให้รฟม.ต้องโอนทรัพย์สินและหนี้สินทั้งหมดที่ลงทุนไปแล้วราว 8 หมื่นล้านบาทให้ กทม. รับภาระต่อ แต่กทม.ไม่มีเงิน จึงผลักภาระให้เอกชน สูตรในการคำนวณต่อสัญญาสัมปทานใหม่ระหว่างกทม.กับบีทีเอส

     จึงระบุไว้ในเงื่อนไขหลัก 3 ประการคือ  1. บีทีเอส ต้องแบกรับภาระหนี้ 8 หมื่นล้านบาท 2. คิดค่าตั๋วไม่เกิน 65 บาทตลอดสาย และ 3. ต้องลงทุนระบบอาณัติสัญญาณอีก 2.3 หมื่นล้านบาท  

 
     ส่วนเงื่อนไขที่บีทีเอสต้องการคือ 1. ต่อสัญญาออกไปอีก 40 ปี หรือสิ้นสุดในปี 2603  โดยเป็นการเหมารวมกับอีก 2 สัญญาเดิมที่มีอยู่คือ สัมปทานเดินรถช่วง หมอชิต-อ่อนนุช  และ สนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน ที่จะหมดภายในปี 2572 และสัญญารับจ้างบริหาร ส่วนต่อขยาย อ่อนนุช-แบริ่ง และสะพานตากสิน-บางหว้า ที่จะสิ้นสุดลงในปี 2585 และ 3. การขอเงินสนับสนุนอีกปีละ 1 พันล้านบาท แต่ประเด็นหลังนี้ตกไปเพราะกทม.ไม่มีเงินสนับสนุน 
     ปัจจุบันบีทีเอสมีผู้โดยสารใช้บริการวันละ 8 แสนคนต่อวัน  ซึ่งเมื่อมีการขยายเส้นทางเพิ่มยอดผู้โดยสารต้องเพิ่มขึ้นแน่นอน ยิ่งมีรถไฟฟ้าสายใหม่ ๆ เปิดบริการโดยเฉพาะสายสีเหลืองที่มีจุดเชื่อมต่อกันรวมถึงคอนโดมิเนียมตามแนวรถไฟฟ้าที่จะเปิดขายเพิ่มขึ้น    

      แต่ปัญหาจุกอกของ “บีทีเอส” ก็คือจะทำอย่างไรไม่ให้ผู้โดยสารปัจจุบันเดือดร้อน และการคำนวณราคาใหม่จะคิดกันอย่างไร  เมื่อรายได้จากค่าโดยสารปัจจุบันทั้งหมดได้ถูกโอนเข้ากองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง (บีทีเอสโกรท)  ที่ได้ออกมาก่อนหน้านั้นเพื่อนำไปลงทุนซื้อขบวนรถและชำระหนี้บางส่วน เพื่อลดต้นทุนทางการเงิน รวมถึงค่าธรรมเนียมแรกเข้า เมื่อเชื่อมต่อตั๋วร่วมระบบ EMV ซึ่งประเด็นหลังบีทีเอสมีท่าทีอ่อนลง
      ปมปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่ต้องขบคิดกันต่อจนกว่าจะสะเด็ดน้ำและต้องปิดดีลให้เร็ว เพราะ “บีทีเอส” ยังถูกกดดันด้วยการเปิดบริการสถานีใหม่ ๆ ช่วงนี้อีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะออกมาสูตรไหนอยู่ที่รัฐบาล “บิ๊กตู่ 2” เป็นคนจบปัญหา!  

 

คอลัมภ์: ตื่้น-ลึก-หนา-บาง 

โดย :    เรดไลออน  

                    

 

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 8
  • Weerapat
    แพงเกินถามคนที่จำเป็นต้องใช้สิ
    15 ก.ค. 2562 เวลา 17.49 น.
  • Seven 11 😇
    อีกเส้นที่เอาเปรียบสังคมมานาน มากแล้ว ก้อคือเส้นทางยกระดับ ดอนเมืองโทลเวย์ Free day กันไป เสาร์ อาทิตย์ น่าจะดี คอร์รัปชั่นเยอะไปหรือเปล่า ค่าใช้ทางแพงเกินจริง ประชาชน รับกรรม มานาน วอน เจ้าของ ช่วยปรับลดลงบ้าง เพื่อสังคมไทย น่าอยู่ ผู้คนสรรเสริญ ตายไปไม่เสียชาติเกิดกันดีกว่าครับ รวยแค่ไหน ก้อกินอิ่ม มื้อเดียว ที่เหลือ คือ การเอาเปรียบสังคมไทย
    15 ก.ค. 2562 เวลา 16.14 น.
  • Seven 11 😇
    แค่ ปชช ช่วยใช้กระแสสังคม บีบรัดหน่อย เช่น BTS free day งดใช้ BTS ร่วมกัน ทุกวันเสาร์ อาทิตย์ ที่ไม่ใช่ ธุระเร่งด่วน เด้วค่าโดยสาร ตลอดสาย ซัก 80 บาท คงเป็นจริงได้ครับ เอกชน ไม่น่าถึงขนาดขาดทุน พอค่ารถถูกลง คนก้อแห่ มาใช้มากขึ้น ขึ้นทั้งครอบครัว 4-5 คน ก้อจะทำให้ ค่าเฉลี่ย พอ อยู่ได้ ทั้งผู้ลงทุน ทั้ง ผู้โดยสาร ตามแนวเศรษฐกิจ พอเพียง อีกซัก 10 ปีก่อน แล้วค่อยมาว่ากันใหม่ วินๆทุกฝ่าย ส่วนระยะสั้นๆ ก้อคงไว้ตามเดิม แค่นี้ เจ้าสัว เงินมาก เงินน้อยลง ซักนิด รวยช้าลงนิด แค่นั้นจริงๆ
    15 ก.ค. 2562 เวลา 16.10 น.
  • green
    เมื่อก่อนทำงานนั่งรถเมล์ต่อเดียว ไป 3.50 บาท กลับ 3.50 บาท
    15 ก.ค. 2562 เวลา 15.30 น.
  • มันแพงเว่อร์จริงๆๆนะ
    15 ก.ค. 2562 เวลา 13.14 น.
ดูทั้งหมด