ทั่วไป

"มะละกะ"ผลไม้พื้นเมืองสายพันธุ์ตะกั่วป่าต้องหามาชิม!

TNN ช่อง16
อัพเดต 24 ส.ค. 2562 เวลา 01.35 น. • เผยแพร่ 24 ส.ค. 2562 เวลา 01.35 น. • TNN Thailand
เกษตรอำเภอตะกั่วป่าจ.พังงาเตรียมส่งเสริมให้เกษตกรปลูก"มะละกะ"ผลไม้พื้นเมืองที่กำลังมาแรงและขายได้ราคาดีกว่าลองกองหรือลางสาด เหนียวหนึบคล้ายวุ้นมะพร้าวหรือแยลลี่รสหวานเย็นกลมกล่อม

มะละกะ ชื่อนี้หลายคนอาจไม่รู้จัก หรือเข้าใจผิดคิดว่าเป็น ลองกอง หรือ ลางสาด เพราะแท้จริงแล้ว มะละกะ คือผลไม้ชนิดหนึ่งที่มีลักษณะผลคล้าย ลองกอง หรือ ลางสาด แต่เมื่อมีโอกาสได้รับประทานมะละกะแล้ว ก็จะทราบทันทีว่า มะละกะ มีลักษณะเด่นเฉพาะตัว ที่แตกต่างจากลองกอง หรือลางสาดโดยสิ้นเชิง เนื่องจากเนื้อของมะละกะ จะเหนียวหนึบคล้ายวุ้นมะพร้าว หรือ แยลลี่ รสหวานเย็นกลมกล่อม ยากที่จะหาผลไม้ชนิดอื่นมาทดแทนได้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

         

นายปราโมทย์ เจียมจำนงค์ เกษตรกร อ.ตะกั่วป่า เปิดเผยว่า มะละกะ เป็นผลไม้ตระกูลเดียวกับลางสาด หรือลองกอง มีต้นกำเนิดอยู่ที่บ้านบางลาน หมู่ที่ 6 ตำบลโคกเคียน อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา บางต้นก็มีอายุมากกว่า 100 ปี ปัจจุบันมีการขยายพันธุ์ไปปลูกในพื้นที่ใกล้เคียง แต่ไม่ได้ปลูกเพื่อการค้า ทำให้แต่ละบ้านมีไม่ถึง 10 ต้น  

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

                      

ว่าที่ ร้อยเอก พงศ์ศักดิ์ เวทยาวงศ์ นายอำเภอตะกั่วป่า เปิดเผยว่า  เนื่องจากมะละกะเป็นผลไม้พื้นเมืองที่แปลกมีรสชาติเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทางอำเภอตะกั่วป่า จึงได้หาแนวทางส่งเสริม และอนุรักษ์ไว้ เพื่อให้เกษตรกรได้ปลูกเพิ่มขึ้นเป็นผลไม้ประจำอำเภอตะกั่วป่า อีกชนิดหนึ่ง ปัจจุบันพบว่ามีพื้นที่ปลูกรวมกันไม่ถึง 5 ไร่

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

                       

นายสุธี ชิวหากาญจน์ เกษตรอำเภอตะกั่วป่า เปิดเผยว่า มะละกะเป็นผลไม้พื้นเมืองของอำเภอตะกั่วป่า ที่หากินยาก จะให้ผลผลิตในช่วงเดือนสิงหาคม ถึงเดือนกันยายนของทุกปี เนื่องจากพื้นที่ปลูกยังมีน้อย ประกอบกับมะละกะ กำลังได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น ทางสำนักงานเกษตรอำเภอตะกั่วป่า จะเร่งหาแนวทางจดทะเบียนเป็นพืช GI และส่งเสริมให้เกษตรกรทุกครอบครัวได้ปลูกมะละกะบ้านละ 5-10 ต้น โดยทางราชการจะสนับสนุนต้นพันธุ์ให้ประชาชนในพื้นที่นำไปปลูกฟรี พร้อมทั้งจัดประกวดเพื่อค้นหาสายพันธุ์ที่ดีที่สุด

                     

สำหรับมะละกะเป็นผลไม้พื้นเมืองที่เริ่มเป็นที่รู้จัก และได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น สามารถจำหน่ายได้ราคากิโลกรัมละ 30-50 บาท เนื่องจากมีผลผลิตน้อย จึงต้องสั่งจองล่วงหน้า    

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 9
  • จูล่ง
    ลางสาดเตอะ
    24 ส.ค. 2562 เวลา 09.19 น.
  • แยกไม่ออก5555
    24 ส.ค. 2562 เวลา 07.01 น.
  • Winzent
    มันคือ ลางสุก ป่ะ ที่นครเรียกแบบนี้
    24 ส.ค. 2562 เวลา 05.21 น.
  • chun
    อยากกินนนนน
    24 ส.ค. 2562 เวลา 03.38 น.
  • ที่สตูลมีมานานแล้ว เรียก รูกู หรือรูกูน้ำ แต่ละจังหวัดเรียกไม่เหมือนกัน
    24 ส.ค. 2562 เวลา 03.23 น.
ดูทั้งหมด