ไลฟ์สไตล์

ทางสายกลางดีอย่างไร ทำไมต้องเดินสายกลาง

LINE TODAY
เผยแพร่ 05 เม.ย. 2561 เวลา 11.33 น. • Pimpayod

ทางสายกลาง หรือมัชฌิมาปฏิปทา ไม่ใช่ความเป็นกลางระหว่างสองฝ่าย เช่น ปกติกินเหล้า 10 แก้ว ถ้ายึดทางสายกลางก็กินเหลือ 5 แก้ว แบบนี้ไม่ใช่..

แท้จริงแล้วทางสายกลางต้องมีความถูกต้องเป็นเกณฑ์ หมายถึงความพอดีระหว่างความดี เป็นหนทางแห่งความสมดุลที่จะนำไปสู่จุดหมาย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

 

เพราะฉะนั้นทางสายกลางก็คือจุดที่ถูกต้องเพียงจุดเดียว เหมือนการยิงธนูที่มีตรงกลางเป็นเป้าที่ถูกต้องเพียงจุดเดียว หากเบนไปจากเป้า ไม่ว่าไปทางซ้ายหรือขวา ก็คือไปไม่ถึงจุดหมาย แปลว่าไม่ใช่ทางสายกลางนั่นเอง

ในทางพระพุทธศาสนาทางสายกลาง หมายถึงการไม่ยึดถือสุดทั้ง 2 ทาง ได้แก่ อัตตกิลมถานุโยค คือหนทางหรือข้อปฏิบัติที่ไม่ตึงเกินไปจนเป็นความลำบากแก่ตน และกามสุขัลลิกานุโยค คือการไม่หย่อนเกินไปจนเป็นการพอกพูนกามกิเลส ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงกำหนดหลักทางสายกลางนี้ไว้ชัดเจนว่าคืออริยมรรคมีองค์ 8 และหากย่นย่อแล้วก็คือสิ่งที่เรารู้จักกันดีว่าคือ ศีล สมาธิ ปัญญานั่นเอง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ไตรสิกขา หรือศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งก็คือหนทางแห่งการพ้นทุกข์ โดยมี “ศีล” เป็นเครื่องข่มจิตไม่ให้เกิดกิเลส มี “สมาธิ” เป็นเครื่องข่มกิเลส และมี “ปัญญา” ที่รู้ทัน รู้แจ้ง มีเหตุและผลเพื่อสยบกิเลสทั้งหมดทั้งมวลที่ทำให้เกิดทุกข์

จริง ๆ แล้วเราสามารถนำเรื่องของทางสายกลางนี้มาปรับใช้กับการดำเนินชีวิตได้ทุกรูปแบบ เพื่อให้ไม่ทุกข์และประสบความสำเร็จไปถึงจุดมุ่งหมาย อย่างการทำงาน ถ้าอยากประสบความสำเร็จก็ไม่จำเป็นต้องทำงานหนัก หามรุ่งหามค่ำหรือเครียดจนไม่มีเวลาทำอย่างอื่น ซึ่งไม่มีผลดีอะไรกับตัวเองเลย แท้จริงแล้วเราต้องยึดหลักสายกลาง ไม่สุดโต่งเกินไป รับผิดชอบงานที่ทำอย่างตั้งใจ แต่ก็ต้องแบ่งเวลาให้เกิดความสมดุลกับชีวิตและครอบครัวด้วย

อย่างที่บอกว่าทางสายกลางสามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกอย่าง เพราะเป็นหลักที่ยึดความถูกต้องเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสุขภาพ อาหารการกิน ความรัก ครอบครัว ฯลฯ แค่เรายึดความพอดี เหมาะสม และสมดุลทุกอย่างให้ดี ชีวิตเราก็จะสบาย ไม่ทุกข์และเข้าใจความเป็นไปของทุกอย่างที่เกิดขึ้นเอง..

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
ความเห็น 73
  • ยิ่งหลงทาง ยิ่งเสียเวลา เวียนว่ายตายเกิด เจริญรอยตามทางสายกลาง มัชฌิมาปฏิปทาที่เป็นธรรมทำให้มีดวงตา ดังพุทธวจน "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา"
    05 เม.ย. 2561 เวลา 12.16 น.
  • ใช่แล้วคับ การวางเฉย เหมือนพระพุทธรูป คือ ใจนิ่ง นำมาซึ่งความสำเร็จทุกประการ มีความทะยานในใจ ทำไปตามสติไม่หลงทาง ไม่แสดงอาการอยาก จิตใจเมตตา ปล่อยวาง (กรรมของเขาเอง) จิตสงบ สว่าง สะอาด อยากเป็นอะไรย่อมสำเร็จดั่งหวังทุกประการ😇😇😇
    05 เม.ย. 2561 เวลา 12.23 น.
  • @...
    ถ้าเปรียบเสมือนในการดำเนินชีวิต ก็ควรที่จะต้องมีสติอยู่ตลอดเวลา มีความพอดีให้กับชึวิต มีความพอเพียงในสิ่งที่เป็นอยู่ และรับในสิ่งที่เกิด และก็ต้องพร้อมที่จะแก้ไขในสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อให้เป็นไปในทางที่ถูกต้อง และก็ต้องรับฟังอย่างมีเหตุผล เช่นเดียวกับคำว่า ควรรู้ในสิ่งที่ควรจะรัก ควรละจิตที่มีความโลภ ไม่หลุ่มหลงโดยขาดการยั้งคิด เพียงแค่นี้ชีวิตก็จะพบแต่ความสุข.
    05 เม.ย. 2561 เวลา 21.06 น.
  • บุญธรรม..วรรณราช
    สาธุๆๆค่ะ
    05 เม.ย. 2561 เวลา 13.20 น.
  • Aj.NeTi Khimhan
    จิตสว่าง สะอาด สงบ
    05 เม.ย. 2561 เวลา 13.22 น.
ดูทั้งหมด