ทั่วไป

"อ.เจษฎ์"ไขข้อข้องใจ ปลาไหลไฟฟ้า จริงๆแล้วสร้างกระแสไฟยังไง

ThaiNews - ไทยนิวส์ออนไลน์
อัพเดต 14 ต.ค. 2565 เวลา 07.07 น. • เผยแพร่ 14 ต.ค. 2565 เวลา 06.56 น.

"อ.เจษฎ์" ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไขข้อข้องใจ การสร้างกระแสไฟฟ้า ของปลาไหลไฟฟ้า

"อ.เจษฎ์" ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ระบุข้อความว่า

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

(ตามคำขอ) "ปลาไหลไฟฟ้า สร้างกระแสไฟฟ้าขึ้นมาได้อย่างไร ?"

ในร่างกายของปลาไหลไฟฟ้าจะมีอวัยวะในการผลิตไฟฟ้า 2 ชนิด ที่ทำงานควบคู่กัน โดยนักวิทยาศาสตร์เรียกมันว่า Main organ และ Hunter's organ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

Main organ คืออวัยวะหลักที่มีขนาดใหญ่ 80% ของตัวปลาไหล ประกอบไปด้วยเซลล์ที่คล้ายกล้ามเนื้อเรียกว่า Electrocytes ที่มีการเรียงตัวเป็นชั้นๆ มากถึง 4-5,000 ชั้น ซึ่งในแต่ละชั้นจะผลิตกระแสไฟฟ้าออกมาได้ไม่มากนัก แต่ด้วยจำนวนชั้นที่มากมายขนาดนี้ เมื่อรวมกันจึงทำให้มันสามารถสร้างกระแสไฟฟ้าแบบอนุกรมได้ และเกิดเป็นกระแสไฟฟ้าที่มีกำลังศักย์สูงจนเกิดอันตรายได้ในที่สุด

ส่วน Hunter's organ จะเป็นอวัยวะที่ผลิตไฟฟ้าได้น้อยมากเมื่อเทียบกับ Mian organ แต่ข้อดีของมันคือสามารถผลิตไฟฟ้าได้ต่อเนื่องกว่า และมีคุณสมบัติที่ดีในการตรวจจับเหยื่อรอบรัศมีของมันเป็นหลัก

กระแสไฟฟ้าในร่างกายของพวกมันจะถูกสั่งการผ่านนิวเคลียสไปยังเส้นประสาท โดยเซลล์ประสาทดังกล่าวจะมีค่าเป็นประจุขั้วลบ ซึ่งมีศักย์ไฟฟ้าน้อยกว่า 100 ไมโครโวลต์จากภายนอกเมื่อเทียบกับภายในเซลล์

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ต่อมาเมื่อสัญญาณจากนิวเคลียสถูกส่งมายังเส้นประสาท ส่วนต่อไปที่จะทำงานคือส่วนของปลายประสาท ปลายประสาทของมันจะค่อยๆ ปล่อยสารสื่อประสาทชื่อ อะซีตีคลอรีน ออกมา (acetylcholine)

สารตัวนี้จะทำหน้าที่สร้างเซลล์ประสาทที่มีความต้านทานต่ำขึ้นมาเพื่อเชื่อมต่อส่วนของเซลล์ภายนอกและภายในเข้าด้วยกัน จนเกิดเป็นประจุขั้วบวกและขั้วลบขึ้นมา และก่อให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นมาได้ในที่สุด

จาก https://www.blockdit.com/posts/5e153f9a856ea50c771bd151

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่tnews

ดูข่าวต้นฉบับ