ไลฟ์สไตล์

หัวหมอนะนายจ๋า! 'Cobra Effect' เมื่อคนอินเดียต้ม (ตุ๋น) อังกฤษซะเปื่อย

Histofun Deluxe
เผยแพร่ 30 ส.ค. 2565 เวลา 05.55 น.
ทัชมาฮาล สิ่งก่อสร้างมหัศจรรย์ของอินเดีย

'Cobra Effect' เป็นสำนวนหนึ่งในทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งหมายถึงการแก้ปัญหาที่ยิ่งทำให้ปัญหาเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ยิ่งแก้ยิ่งเละ สำนวนนี้ถูกคิดค้นโดยนักเศรษฐศาสตร์ชาวเยอรมัน ฮอสท์ ซีเบิร์ต (Horst Siebert)

ส่วนที่มาของชื่อ Cobra Effect ก็อ้างอิงจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงที่อังกฤษปกครองอินเดีย โดยในตอนนั้นทางอังกฤษพบว่า ในอินเดียมีจำนวนประชากรของงูเห่ามากจนเกินไป โดยเฉพาะในเขตเมืองเดลี (Delhi) แน่นอนว่าการมีสัตว์ที่มีพิษร้ายแรงแบบนี้ ย่อมไม่ส่งผลดีอย่างแน่นอน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ด้วยเหตุนี้รัฐบาลอังกฤษที่ปกครองอินเดีย เลยออกแคมเปญรณรงค์ให้ชาวอินเดียออกกวาดล้างงูเห่า โดยคนที่ฆ่างูเห่าได้ทางอังกฤษจะมอบเงินรางวัลเป็นการตอบแทน เรียกได้ว่ายิ่งฆ่างูเห่าได้เท่าไหร่ก็ยิ่งได้เงินมากเท่านั้น

ปรากฏว่าแคมเปญที่อังกฤษออกมา ก็เป็นที่สนใจกับชาวอินเดียอย่างมาก จำนวนประชากรงูเห่าในเดลีรวมถึงในอินเดียก็ลดลงจริง ๆ แต่ทว่ากลับมีชาวอินเดียหลายคนที่หัวใสเกิดปิ๊งไอเดียว่า ในเมื่อพวกเขาฆ่างูเห่าได้หลายตัว พวกเขาก็จะได้เงินมากขึ้น แล้วทำไมพวกเขาถึงไม่เพาะเลี้ยงงูเห่าหลาย ๆ ตัว แล้วค่อยเอาไปฆ่าล่ะ?

แผนการสุดครีเอทที่ว่านี้ สุดท้ายทางอังกฤษก็ล่วงรู้เข้า อังกฤษเลยยุติแคมเปญออกล่างูเห่า เลยส่งผลให้งูเห่าจำนวนมากที่ชาวอินเดียมีกลายเป็นของไร้ค่าในทันที พวกเขาเลยนำงูเห่าไปทิ้งในป่า ซึ่งนี่ก็คือสาเหตุที่ทำให้ทุกวันนี้ อินเดียกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่มีประชากรงูมากที่สุดในโลก และยังเป็นประเทศที่มีผู้เสียชีวิตจากการถูกงูกัดมากที่สุดในโลก

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

โดยข้อมูลจากปี 2020 พบว่า ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา มีชาวอินเดียเสียชีวิตจากการถูกงูกัดมากถึง 1.2 ล้านคนเลยทีเดียว

อ้างอิง

• https://ourworld.unu.edu/en/systems-thinking-and-the-cobra-effect

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

• https://www.boredpanda.com/bizarre-historical-events-that-actually-took-place/?utm_source=google&utm_medium=organic&utm_campaign=organic

• https://www.bbc.com/news/world-asia-india-53331803

ดูข่าวต้นฉบับ