หุ้น การลงทุน

‘ดาวโจนส์’ พุ่ง 358.67 จุด ตลาดยังโดนกดดัน ‘บอนด์ยีลด์’ พุ่ง กังวล ‘เฟด’ ชะลอลดดอกเบี้ย

The Bangkok Insight
อัพเดต 1 วันที่แล้ว • เผยแพร่ 1 วันที่แล้ว • The Bangkok Insight

ตลาดหุ้นนิวยอร์ก ของสหรัฐ ปิดซื้อขายวานนี้ (13 ม.ค.) ตามเวลาท้องถิ่น โดยที่ "ดาวโจนส์" เพิ่มขึ้น 358.67 จุด แต่บรรยากาศการซื้อขายเป็นไปอย่างผันผวน ตลาดถูกกดดันจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร รวมทั้งความกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะชะลอการลดดอกเบี้ยในปีนี้

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 42,297.12 จุด เพิ่มขึ้น 358.67 จุด หรือ +0.86% ดัชนีเอสแอนด์พี 500 ปิดที่ 5,836.22 จุด เพิ่มขึ้น 9.18 จุด หรือ +0.16% และดัชนีแนสแด็กปิดที่ 19,088.10 จุด ลดลง 73.53 จุด หรือ -0.38%

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
ดาวโจนส์

ข้อมูลที่มีการเปิดเผยในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึงตัวเลขจ้างงานนั้น สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐ มีความแข็งแกร่งและยังคงเผชิญกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ ทำให้นักลงทุนกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะชะลอการลดดอกเบี้ยในปีนี้

นอกจากนี้ การแสดงความเห็นของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดยังส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น และมาตรการภาษีศุลกากรของโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ยังอาจทำให้เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นด้วย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นแตะระดับ 4.805% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 14 เดือนเมื่อคืนนี้ และส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการซื้อขายในตลาด

เครื่องมือ FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 97.3% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 4.25-4.50% ในการประชุมวันที่ 28-29 มกราคม

นอกจากนี้ นักลงทุนคาดว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมีนาคม พฤษภาคม มิถุนายน และกรกฎาคม ก่อนที่จะลดดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 4.00-4.25% ในการประชุมเดือนกันยายน และคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับดังกล่าวในการประชุมที่เหลือจนสิ้นปี 2568

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนธันวาคม ของสหรัฐ ในวันพรุ่งนี้ (15 ม.ค.) ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ดัชนี CPI จะปรับตัวขึ้น 2.9% หลังจากที่เพิ่มขึ้น 2.7% ในเดือนพฤศจิกายน และคาดว่าดัชนี CPI พื้นฐาน (Core CPI) ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน จะเพิ่มขึ้น 3.3% เมื่อเทียบรายปี ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนพฤศจิกายน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ติดตามเราได้ที่

เว็บไซต์ : https://www.thebangkokinsight.com/
Facebook: https://www.facebook.com/TheBangkokInsight
X: https://twitter.com/BangkokInsight
Instagram: https://www.instagram.com/thebangkokinsight/
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCYmFfMznVRzgh5ntwCz2Yx

ดูข่าวต้นฉบับ