ไอที

เทรนด์พลังงานสะอาดทำพิษ ? ส่งผลกระทบต่อ “ลิง” แอฟริกา

TNN ช่อง16
เผยแพร่ 15 เม.ย. เวลา 07.37 น.
นักวิจัยเยอรมนีทำการศึกษาพื้นที่เหมืองในแอฟริกา พบว่าเทรนด์พลังงานสะอาดกำลังส่งผลกระทบต่อลิงจำนวนมาก ซึ่งคิดเป็น 1 ใน 3 ของจำนวนลิงทั้งหมดบนโลกนี้

ผลการศึกษาใหม่จากหน่วยงานต่าง ๆ ในประเทศเยอรมนี ซึ่งประกอบไปด้วย ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพเชิงบูรณาการแห่งชาติ (iDiv) ร่วมกับ มหาวิทยาลัย Martin Luther Halle-Wittenberg (MLU) และองค์กรอนุรักษ์ที่ไม่แสวงหากำไร Re:wild เปิดเผยว่า ลิงในแอฟริกาเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เนื่องจากมีการบุกรุกพื้นที่ เพื่อทำการขุดแร่เพื่อนำไปพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงานสะอาดต่าง ๆ

เนื่องจากในปัจจุบัน หลายประเทศทั่วโลก พยายามจะเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาดอย่างเร่งด่วน ส่งผลให้เกิดความต้องการด้านแร่ธาตุพวกทองแดง, ลิเทียม, นิกเกิล, โคบอลต์, และธาตุหายากอื่น ๆ มากยิ่งขึ้น เพราะแร่เหล่านี้ เป็นส่วนสำคัญต่อการเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานที่สะอาดกว่าในหลาย ๆ แห่ง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ความต้องการดังกล่าว ทำให้เกิดกระบวนการขุดหาแร่ธาตุเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะแอฟริกาซึ่งเป็นแหล่งรวมแร่ธาตุ เหตุการณ์นี้ส่งผลให้เกิดการตัดไม้ในป่าฝนเขตร้อนที่สำคัญ จนส่งผลกระทบต่อสัตว์มากมาย โดยเฉพาะกับ “ลิง”

การศึกษานี้ได้ทำการเก็บข้อมูลใน 17 ประเทศในทวีปแอฟริกา ซึ่งเป็นที่อยู่ของลิงจำนวนมาก รวมถึงยังเป็นแหล่งขุดเหมืองแร่อย่างแพร่หลาย พบว่ามีลิงชิมแปนซีมากกว่า 23,000 ตัว หรือประมาณ 83% ของลิงทั้งหมดในประเทศกินี กำลังได้รับผลกระทบจากการขุดเหมืองแร่ที่ค่อนข้างหนาแน่นทั้งทางตรงและทางอ้อม

พวกมันได้รับมลภาวะทางอากาศที่แย่ลง สูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัย เสี่ยงที่จะถูกล่ามากขึ้น ไปจนถึงโรคภัยไข้เจ็บที่เข้าถึงตัวได้มากกว่าเดิม จากการศึกษาพบว่ากว่า 20% ของพื้นที่เหมือง ทับซ้อนกับแหล่งที่อยู่อาศัยสำคัญของสัตว์ต่าง ๆ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ทางนักวิจัยยืนยันว่า การศึกษานี้ถูกทำขึ้น เพื่อประเมินภัยคุกคามจากการทำเหมือง ต่อประชากรลิงในแอฟริกา ซึ่งมีมากเป็น 1 ใน 3 ของลิงบนโลกทั้งหมด โดยมีกอริลลา, โบโนโบ, และชิมแปนซี รวมกว่า 180,000 ตัว

ดร. Jessica Junker นักวิจัยของ Re:wild และอดีตนักวิจัยปริญญาเอกของ iDiv และ MLU กล่าวว่า “การที่เหมืองต่าง ๆ เลือกที่จะไม่แชร์ข้อมูลของตน เป็นการขัดขวางด้านการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบ ที่เหมืองทำต่อประชากรลิงพันธุ์ใหญ่ต่าง ๆ รวมไปถึงถิ่นที่อยู่อาศัยของพวกมัน

การเลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เป็นผลดีต่อสภาพอากาศ แต่ต้องทำในลักษณะที่ไม่เป็นอันตรายต่อความหลากหลายทางชีวภาพต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบัน มันกำลังขัดแย้งกับเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่ตั้งเป้ากันเอาไว้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

บริษัท, องค์กร, นักลงทุน, และประเทศต่าง ๆ ควรตระหนักเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ บางครั้งการปล่อยให้บางภูมิภาคปราศจากการแตะต้อง อาจเป็นผลดีมากกว่า เพราะมันสามารถลดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ และช่วยป้องกันโรคระบาดในอนาคตได้”

การศึกษานี้ได้รับการตีพิมม์ลงในวารสารของ Science Advances สำหรับใครที่สนใจสามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดผลการศึกษาทั้งหมดได้ที่นี่ >> https://www.science.org/doi/10.1126/sciadv.adl0335

@แหล่งที่มา science.org@(color:rgb(104,104,104);)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดูข่าวต้นฉบับ

ดูบทความอื่นๆ จาก TNN ช่อง16

Xiaomi ดึง “แบมแบม” เปิดตัว ‘Redmi Note 13 Series’ อย่างเป็นทางการในประเทศไทย
TNN ช่อง16
ไทยพบแหล่งลิเทียม 14.8 ล้านตัน ใหญ่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก เตรียมเป็นผู้เล่นหลักวงการ EV
TNN ช่อง16
JAS 39 Gripen E VS F-16 Block 70 2 ตัวเลือกน่าจับตาที่กองทัพอากาศไทยเล็งพาเข้าฝูงบิน
TNN ช่อง16
เปิดตัว “OPPO Pad Neo” 10,990 บาท ได้จอ 2.4K พร้อม gadget หูฟังไร้สาย TWS อีก 2 รุ่น
TNN ช่อง16
สรุปสเปก Tesla Model 2 Redwood รถ EV ราคาถูกที่จะกลับมาทวงแชมป์ยอดขาย EV
TNN ช่อง16
Samsung ประกาศแล้ว ! Galaxy AI อัปเดตเมื่อไหร่ รุ่นไหนได้ไปต่อ
TNN ช่อง16
ทำป่วนกันทั้งโลก ! Facebook, Instagram และ Thread ล่ม ยังไม่ทราบสาเหตุ
TNN ช่อง16
realme ดึง "ใหม่ ดาวิกา" เปิดตัว "realme 12 Pro+ 5G" เริ่มต้น 13,999 บาท ได้กล้อง 64 MP ซูม 120 เท่า !
TNN ช่อง16
หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ตัวแรกของโลกที่ "ตีลังกากลับหลัง" โดยไม่ใช้ระบบไฮดรอลิก
TNN ช่อง16