สุขภาพ

โรคที่มักเกิดในเด็กช่วงหน้าฝน

new18
อัพเดต 24 พ.ค. 2562 เวลา 05.09 น. • เผยแพร่ 24 พ.ค. 2562 เวลา 04.45 น. • new18
ในช่วงหน้าฝนแบบนี้ การดูแลลูกหลานให้ไกลจากโรคเป็นสิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองควรใส่ใจ แล้วมีโรคอะไรบ้างที่ควรเตรียมการป้องกัน

ในช่วงหน้าฝนแบบนี้ การดูแลลูกหลานให้ไกลจากโรคเป็นสิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองควรใส่ใจ แล้วมีโรคอะไรบ้างที่ควรเตรียมการป้องกัน

*โรคมือเท้าปาก *

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

โรคมือเท้าปากเกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Enterovirus สามารถติดต่อกันได้ด้วยการสัมผัสสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำลาย หรือตุ่มน้ำใสของผู้ที่เป็นโรค อาการที่เกิดขึ้นในเด็กจะมีอาการไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลีย บางรายอาจมีแผลในเยื่อบุปาก มีตุ่มน้ำหรือตุ่มแดง ๆ บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า ภาวะแทรกซ้อนของโรคนี้คือการขาดน้ำ เนื่องจากการเจ็บปาก ทำให้เด็กรับประทานไม่ได้ นอกจากยังมีภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อยแต่มีความรุนแรงมาก กล่าวคือ สมองอักเสบ และกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ซึ่งเป็นภาวะที่มีความรุนแรงและถึงแก่ชีวิตได้ ถ้าเด็กมีอาการซึม สับสน ชัก ปัสสาวะน้อย ปลายมือหลายเท้าเย็น ช็อค ควรรีบพาไปโรงพยาบาลทันที

*การป้องกันโรคมือเท้าปาก *

- แยกเด็กป่วยให้พักอยู่บ้าน/หยุดเรียน จนกว่าผื่นหรือตุ่มแห้ง เช็ดตัวและให้ยาลดไข้ตามที่แพทย์แนะนำ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

- หากโรงเรียนมีการระบาดของโรคนี้ ควรให้เด็กหยุดเรียน เพื่อลดการแพร่กระจายของโรค

- แยกภาชนะในการดื่มน้ำและรับประทานอาหาร

- หมั่นล้างมือให้สะอาดบ่อยๆ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

- หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่แออัด

- หลีกเลี่ยงการเล่นของเล่นร่วมกับผู้อื่น

โรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่มีการระบาดอยู่เป็นระยะ โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน ซึ่งเป็นฤดูที่มักมีน้ำขังตามที่ต่าง ๆ ส่งผลให้ยุงลายมาวางไข่ และสามารถนำเชื้อไวรัสเดงกี่จากตัวยุงลายมาสู่คนได้ สามารถติดต่อโดยพาหะของโรค คือ ยุงลาย ลักษณะอาการผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน มีไข้สูงติดต่อกัน 2-7 วัน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร อาจพบจุดเลือดออกกระขายอยู่ตามลำตัว แขน ขา ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจเกิดภาวะไหลเวียนโลหิตล้มเหลวหรือภาวะช็อค โดยผู้ป่วยจะมีอาการกระสับกระส่าย ปลายมือปลายเท้าเย็น ความดันโลหิตต่ำ

*การวินิจฉัยนอกจากประวัติ อาการและอาการแสดง แพทย์อาจตรวจเลือดว่ามีโอกาสจะเป็นโรคไข้เลือดออกได้มากน้อยเพียงใด แต่ในรายที่มีอาการไม่รุนแรง สามารถสังเกตการณ์ที่บ้านได้ และให้การรักษาโดยให้ยาลดไข้ และสารน้ำอย่างเพียงพอ แต่ถ้าพบว่าเด็กมีอาการรุนแรง หรือมีอาการแสดงของภาวะช็อค แพทย์ก็จะพิจารณาให้เฝ้าดูอาการที่โรงพยาบาล ทั้งนี้ การป้องกันคือการไม่ให้เด็กถูกยุงลายกัด โดยทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ไม่ให้มีน้ำขังตามภาชนะ ควรหาฝาปิดโอ่งหรือถังน้ำ เพื่อไม่ให้ยุงลายลงไปวางไข่ได้ *

โรคไข้หวัดใหญ่

โรคไข้หวัดใหญ่เกิดจากไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus) สามารถติดต่อกันได้โดยการหายใจเอาละอองฝอยของน้ำลายหรือน้ำมูกเข้าไป หรือสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วย ในเด็กจะมีอาการไข้สูง ไอ มีน้ำมูก ปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว มีอาการซึม งอแง และไม่ค่อยกินอาหาร

*การป้องกันให้พาบุตรหลานของท่านไปฉีดวัคซีน หมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ หากไม่มีน้ำสบู่ให้ใช้ alcohol gel สำหรับล้างมือแทน หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีคนแออัด หากจำเป็นต้องอยู่ในที่ดังกล่าวจริง ๆ ควรสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกัน *

*อ.พญ.โสภิดา บุญสาธร ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ *

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 1
  • pjoe
    มีประโยชน์มากๆครับ ลูกเคยเป็นพ่อแม่อย่างเราใจแทบขาด ต้องช่วยกันรณรงค์อีกครั้ง
    24 พ.ค. 2562 เวลา 12.50 น.
ดูทั้งหมด