ทั่วไป

ปธ.ฎีกา ถามสังคมอยู่อย่างไร หากคนไทยไม่ยอมรับองค์กร รธน.

คมชัดลึกออนไลน์
เผยแพร่ 26 เม.ย. 2562 เวลา 04.34 น.

วันที่ 26 เม.ย.-นายชีพ จุลมนต์ ประธานศาลฎีกา กล่าวกับผู้เข้ารับการอบรม ผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง(บ.ย.ส.) รุ่นที่ 23 ในงานสัมมนา ตอนหนึ่งว่า การดำเนินชีวิต หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องเกี่ยวข้องกับแพทย์และศาล โดยเฉพาะศาล ฝ่ายชนะคดีก็จะพึงพอใจได้รับความเป็นธรรม หากแพ้คดีก็จะบอกว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือแม้แต่คนๆ เดียวกันเวลามาใช้บริการชนะคดีก็ดีไป หากแพ้คดีก็จะพูดว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรม ทำให้สังคมกังขาตลอด ซึ่งไม่ว่าศาลใดในโลก ความยุติธรรมคือความพึงพอใจ

"ศาลไม่ได้มีส่วนได้เสียกับใคร ศาลเป็นองค์กรตั้งรับเราไม่ได้ทำงานเชิงรุก ทำงานต่อเมื่อมีผู้นำคดีมาฟ้องต่อศาล เราถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ให้ความเป็นธรรม ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากผู้แพ้คดี ดังนั้น เราไม่มีทางทำให้ชนะคดีทั้งสองฝ่ายไม่มีทางเป็นไปได้"

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ประธานศาลฎีกา กล่าวต่อว่า ศาลโต้ตอบการวิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้ ต้องอดทน เพราะถึงพูดอย่างไรคนแพ้คดีก็ไม่มีทางเห็นด้วยกับเรา ดังนั้นไม่มีประโยชน์ไปโต้ตอบหรือกลายเป็นคู่กรณี เพราะศาลมีหน้าที่ชี้ขาดแพ้ชนะให้แก่คู่กรณีที่นำคดีขึ้นมาสู่ศาล

"ความเป็นผู้ใหญ่วัดกันที่ความอดทนเป็นสำคัญ จึงอยากให้แต่ละฝ่ายเข้าใจบทบาทหน้าที่ของกันและกัน"

นายชีพ ยังกล่าวถึง ปัญหาทุกวันนี้คนไทยเราไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน กฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดการปกครองประเทศ ได้กำหนดบทบาทหน้าที่องค์กรต่างๆ ไว้ ทั้งฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ ศาล องค์กรต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ ทุกอย่างเขียนไว้ในกฎหมายหมด แต่คนไทย สังคมไทยเราไม่ยอมรับองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ เมื่อวินิจฉัยชี้ขาดแล้วก็ไม่พอใจ คนไทยส่วนหนึ่งไม่ยอมรับ ถามว่า สังคมเราจะอยู่ได้อย่างไร หากเราไม่ยอมรับ ก็จะกลายเป็นใช้ความพึงพอใจส่วนตัว สังคมไม่สงบสุข ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทยอย่างเดียวที่เป็น ทั่วโลกแม้ประเทศซึ่งอ้างว่า ศิวิไลซ์ ประเทศเจริญแล้ว หากไม่พอใจรัฐ ก็ออกมาก่อความวุ่นวายมากมาย จึงอยากฝาก ถ้าเราไม่ยอมรับกติกา ไม่ว่ากติกาใดๆทั้งสิ้น ก็วุ่นวาย หากเราไม่เห็นด้วยกับกติกาก็ต้องแก้กติกาก่อน แต่เมื่อวินิจฉัยหรือตัดสินออกมาแล้ว ไม่มีทางพึงพอใจได้ทุกฝ่าย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 251
  • P. CHAYOOT
    โครงสร้างทาง นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ มีการแทรกแซงจากผู้มีอำนาจ ทำให้ขาดความยุติธรรมและสังคมไม่ยอมรับซึ่งกันและกันทำให้เกิดความวุ่นวาย เห็นควรให้อำนาจทั้งสามอำนาจต้องเป็นอิสระซึ่งกันและกันโดยแท้จริงอันจะทำให้เกิดการถ่วงดุล และที่สำคัญที่สุดอย่าให้ฝ่ายบริหารเข้ามามีอำนาจแต่งตั้งองค์กรอิสระต่างๆที่มีอำนาจชี้ขาดให้ความเป็นธรรมทางการเมืองได้ เพราะผู้มีอำนาจอาจใช้ช่องทางนี่ในการครอบงำเพื่อผลประโยชน์ตนได้โดยง่าย
    26 เม.ย. 2562 เวลา 08.46 น.
  • สุเนตร นามโยธา
    แม้แต่พระปฏิมายังไม่วายคำติฉิน.คนหรือจะสิ้นคำนินทา.เป็นกำลังใจให้ครับท่านถ้าไม่ปิดทองหลังพระก็เป็นพระที่สมบูรณ์แบบไม่ได้เหมือนหน้าที่ๆท่านต้องรับผิดชอบ.ไมถูกใจคนทั้งหมดก็ต้องยอม.ยิ้มสู้ครับ
    26 เม.ย. 2562 เวลา 08.30 น.
  • 👤💥🐍Marudech🐍💥👤
    ท่านเข้าใจคำว่า "สังคมมนุษย์"รึเปล่า แค่ท่านคิดแบบนี้ก็รู้แล้วว่าความคิดท่านโคตรไม่ฉลาด สังคมมองดูก็รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ท่านบิดสังคมเองครับ
    26 เม.ย. 2562 เวลา 08.07 น.
  • Samrans
    ท่านลองนั่งนึกดูว่า องค์กรประเภทเดียวกันกับท่านมาจากไหน ใครตั้ง มีความbalanceกับฝ่ายระบอบ ปชต.มั้ย เมื่อไม่ใช่ ปชช.ก็ย่อมเชื่อว่าผลของการตัดสินคดีก็น่าจะไม่ยุติธรรม ทางออกที่ดีที่สุดคือต้องเอา ระบอบศาลของไทยเข้าสู่ศาลโลกครับ จะได้จบ เมื่อจบคดีที่ศาลโลก ใครที่ผิดแล้วคิดจะหนีไปไหนก็คงลำบาก
    26 เม.ย. 2562 เวลา 08.03 น.
  • S.Klamsri (หมูน้อย)
    ประชาชนถามประธานศาลฎีกาหากองค์กรที่ก่อตั้งตามรัฐธรรมนูญไม่ประพฤติตนให้อยู่ในระเบียบและเป็นกลางไม่มีความยุติธรรมจะให้ประชาชนเชื่อถือได้อย่างไรรบกวนช่วยตอบประชาชนด้วยครับ
    26 เม.ย. 2562 เวลา 08.00 น.
ดูทั้งหมด