ไลฟ์สไตล์

เพลงที่รักจะอยู่กับเราตลอดไป การสร้าง Playlist ให้ตัวเองวันนี้ อาจช่วยเหลือเราจากโรคความจำเสื่อมในอนาคตได้

The MATTER
อัพเดต 21 พ.ค. 2562 เวลา 12.36 น. • เผยแพร่ 19 พ.ค. 2562 เวลา 06.00 น. • Brief

เคยรู้สึกไหมว่า เวลาจัด Playlist ให้กับตัวเองทีไร ก็มีความสุขแทบจะทุกครั้ง เหมือนได้รวบรวมสิ่งที่เราชอบมาไว้ด้วยกัน เหมือนเป็นโลกที่เราสร้างขึ้นมาแล้วเราก็ได้ใช้เวลาอย่างเต็มที่ได้ไปกับมัน

ไม่ใช่แค่ความสุขที่ได้ฟังเพลงในวันนี้ หากแต่การจัด Playlist ให้กับตัวเองยังน่าจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ‘สมอง’ ของเราในระยะยาวอีกด้วยนะ เพราะมันสามารถช่วยเหลือเราในกรณีที่เกิด ‘อัลไซเมอร์ ‘หรือโรคสมองเสื่อมในอนาคตได้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะสมองของเรานั้น มันมีส่วนที่เก็บความทรงจำเกี่ยวกับเพลงที่เราชอบเอาไว้ในเป็นการเฉพาะ แถมยังเก็บไว้ในแบบที่แม้เราจะเป็นโรคความจำเสื่อม แต่ความทรงจำตรงนี้ก็จะไม่สูญหายไปไหน

เคยมีการศึกษากับกลุ่มคนที่เป็นอัลไซเมอร์ในระยะเริ่มแรก 20 คน เพื่อหาคำตอบว่าเพลงมันกระตุ้นความทรงจำของพวกเขาได้อย่างไรบ้าง สิ่งที่พบคือเมื่อได้ฟังเพลงที่คุ้นเคยในอดีต (บางเพลงผ่านไปแล้วกว่า 20 ปี) สมองในหลายส่วนก็ได้กลับทำงานขึ้นอย่างตื่นตัวอีกครั้ง รวมถึงสมองที่ทำงานเกี่ยวข้องกับอารมณ์และการใช้ภาษา

“คุณอาจจะจำชื่อตัวเองไม่ได้ อาจจะไม่รู้จักสภาพแวดล้อมรอบตัวอีกต่อไ แต่คุณจะยังสามารถรู้สึกดีไปกับเพลงได้ เพราะสมองในส่วนนั้นมันไม่ได้เสียหายไป” Corinne Fischer ผู้อำนวยการคลีนิคด้านความผิดปกติด้านความทรงจำจากโรงพยาบาล St. Michael’s ที่สหรัฐฯ ระบุ

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

สอดคล้องกับ Cretien van Campen ผู้เขียนหนังสือชื่อว่า ‘The Proust Effect: The Senses as Doorways to Lost Memories’ ที่ย้ำว่า บทเพลงที่คุ้นเคยหรือชื่นชอบในอดีต มันมีประโยชน์ต่อการฟื้นฟูโรคความจำเสื่อมได้ไม่น้อย

Playlist ที่เราสร้างขึ้นในวันนี้ (ในยุคที่เราสามารถสร้างขึ้นมาได้ง่ายมากขึ้นกว่าแต่ก่อน) จึงมีส่วนสำคัญมากๆ กับความทรงจำของตัวเรา และอาจจะเป็นประโยชน์ต่ออนาคต เพราะมีหลายครั้งที่วิธีการบำบัด หรือช่วยผู้ป่วยอัลไซเมอร์ มักทำผ่านบทเพลงที่เขาชื่นชอบในอดีต เพื่อกระตุ้นให้ความจำบางอย่างมันกลับมาได้

และยิ่งเราอยู่ในยุคสมัยที่ Playlist ในอินเทอร์เน็ตนั้นนั้นมันถูกเก็บรักษาไว้ผ่าน Platform ต่างๆ บนโลกดิจิทัลอยู่แล้ว มันจึงไม่ยากมากนัก ที่จะถูกนำกลับมาใช้เป็นประโยชน์อีกครั้ง เพื่อดึงความทรงจำในอดีตกลับมาช่วยเหลือตัวเราเองในอนาคต

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

อ้างอิงจาก

https://www.weforum.org/agenda/2019/03/study-memories-of-music-cannot-be-lost-to-alzheimers-and-dementia/

https://www.cbc.ca/news/health/alzheimers-music-memories-brain-scanning-1.4895791

https://www.fastcompany.com/3022942/the-surprising-science-behind-what-music-does-to-our-brains

http://www.bbc.com/culture/story/20140417-why-does-music-evoke-memories

#Brief #TheMATTER

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 1
  • Ake
    รักเขานักใช่ไหมทำไมไม่อยู่กับเขา จากนี้ไม่มีเราก็เศร้าดี
    21 พ.ค. 2562 เวลา 12.36 น.
ดูทั้งหมด