ทั่วไป

รัสเซีย “ฉุกเฉิน” น้ำมันรั่วขั้วโลกเหนือ

new18
อัพเดต 05 มิ.ย. 2563 เวลา 02.56 น. • เผยแพร่ 05 มิ.ย. 2563 เวลา 01.25 น. • new18
ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ลงนามในคำสั่ง ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสิ่งแวดล้อม หลังจากน้ำมันดีเซล 20,000 ตัน รั่วออกจากถังเก็บ ในโรงงานพลังงานทางภาคเหนือ ไหลลงสู่แม่น้ำหลายสาย ที่เชื่อมต่อกับทะเลอาร์กติก ในอาร์กติก เซอร์เคิล หรือ พื้นที่รอบขั้วโลกเหนือ

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ลงนามในคำสั่ง ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสิ่งแวดล้อม หลังจากน้ำมันดีเซล 20,000 ตัน รั่วออกจากถังเก็บ ในโรงงานพลังงานทางภาคเหนือ ไหลลงสู่แม่น้ำหลายสาย ที่เชื่อมต่อกับทะเลอาร์กติก ในอาร์กติก เซอร์เคิล หรือ พื้นที่รอบขั้วโลกเหนือ

การรั่วไหลเกิดขึ้น เมื่อถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงพังทลายลง เมื่อวันศุกร์ที่ 29 พ.ค.ที่ผ่านมา ในโรงไฟฟ้าเอ็นเทค (NTEK) ของบริษัทนอริลสก์ นิกเกิล แถบชานเมืองนอริลสก์ ในแคว้นไซบีเรีย
นอริลสก์ นิกเกิล เป็นบริษัทผู้ผลิตนิกเกิล และแพลเลเดียม ชั้นนำของโลก หลังเกิดเหตุนายอิยาเชสลาฟ สตารอสติน ผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าเอ็นเทค ถูกตำรวจนำตัวไปคุมขัง เพื่อสอบปากคำ จนถึงวันที่ 31 ก.ค. และยังไม่มีการตั้งข้อหา แต่เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการสอบสวนรัสเซีย หรือ เอสเค (The Russian Investigative Committee : SK) เปิดการสอบสวนเป็นคดีอาญา ในข้อหาก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม และละเลยต่อหน้าที่ เนื่องจากแจ้งเหตุรั่วไหล ไปยังรัฐบาลในกรุงมอสโก ล่าช้า 2 วันหลังเกิดเหตุ
จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า แผ่นดินทรุดตัวใต้ถังเก็บน้ำมัน คือสาเหตุของการพังทลาย และน้ำมันรั่วไหล เหตุเกิดขณะที่ทุ่งน้ำแข็งขั้วโลกเหนือกำลังละลาย ท่ามกลางอากาศร้อนผิดปกติ ในช่วงนี้ของปี
รายงานของสื่อทางการรัสเซีย ระบุว่า น้ำมันดีเซลไหลลงสู่แม้น้ำอัมบาร์นายา ทำให้น้ำในแม่น้ำกลายเป็นสีแดงเข้ม ระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตรจากโรงงาน โดยการรั่วไหลทำให้เกิดการปนเปื้อน ครอบคลุมพื้นที่ จนถึงขณะนี้ 350 ตารางกิโลเมตร
ปูตินแสดงความโกรธเคือง หลังทราบจากรายงานว่า เจ้าหน้าที่เพิ่งได้รับแจ้งเหตุเมื่อวันอาทิตย์ (31 พ.ค.) แต่นายเยฟเกนี ไซนิชอฟ รัฐมนตรีกระทรวงสถานการณ์ฉุกเฉินรัสเซีย เผยต่อปูตินว่า โรงงานใช้ความพยายามควบคุมการรั่วไหลอยู่นาน 2 วัน เมื่อไม่สำเร็จจึงได้แจ้งเหตุต่อเจ้าหน้าที่
นายโอเล็ก มิตวอล อดีตรองประธานกลุ่มรณรงค์เพื่อสิ่งอวดล้อมในรัสเซีย รอสปรีรอดนัดซอร์ (Rosprirodnadzor) กล่าวว่า ไม่เคยเกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลในเขตอาร์กติก รุนแรงอย่างนี้มาก่อน การชะล้างทำความสะอาดแม่น้ำอัมบาร์นายา อาจต้องใช้งบประมาณสูงถึง 100,000 ล้านรูเบิลส์ หรือ 45,962 ล้านบาท และใช้เวลานานประมาณ 5 ถึง 10 ปี.

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 5
  • เพ็ญศรี
    น่ากลัวมากไม่รู้ต่อไปจะมีผลต่อธรรมชาติแค่ไหน
    05 มิ.ย. 2563 เวลา 03.20 น.
  • 👀👀Nang👀👀
    ตายหมู่เลย โควิค 19 อีโบล่า น้ำมันรั่ว ไปแล้วโลกล่เรานะ ไม่ข่ายเราลาโลก
    05 มิ.ย. 2563 เวลา 02.51 น.
  • ใครอยู่แถวนั้นช่วยจุดไฟหน่อย​ แล้วอะไรๆจะดีขึ้น เชื่อกุ
    05 มิ.ย. 2563 เวลา 06.22 น.
  • Koi5665♾
    😱😱😰
    05 มิ.ย. 2563 เวลา 02.38 น.
  • noi
    ดูไว้เป็นตัวอย่าง ไอ้พวกที่จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ประเทศมหาอำนาจอย่างรัสเซียเขามีโรงงานร้อยแปดพันโรงงาน ยังมีปัญหาการรั่วไหลของน้ำมัน นิวเคลียร์ฯลฯ และประเทศไทยแค่ขนส่งธรรมดายังมีปัญหา บริษัทพลังงานใหญ่ขนส่งพลังงานรั่วในทะเลแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นประจำและส่วนใหญ่ก็ไม่รับผิดชอบความเสียหาย ไทยเรานี่เด่นเรื่องแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ ลองใช้สมองอันที่มีแต่เล่ห์เหลี่ยมของพวกนี้ดูซิแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่ประเมินค่าไม่ได้เหล่านี้จะเสียหายเท่าไหร่ มันสามารถขยายความเสียหายเชื่อมตลอดน่านน้ำ เหนื่อยแทน
    05 มิ.ย. 2563 เวลา 02.46 น.
ดูทั้งหมด