ทั่วไป

ทำไม? 'เรียนออนไลน์ไทย' ไปไม่ถึงฝัน

กรุงเทพธุรกิจ
อัพเดต 25 พ.ค. 2563 เวลา 02.58 น. • เผยแพร่ 25 พ.ค. 2563 เวลา 00.45 น.

ปัญหาที่เกิดขึ้นในการเรียนออนไลน์เกิดขึ้น ตั้งแต่ สัญญาณสะดุด ค้นหาช่องไม่เจอ พ่อแม่ เด็กไม่มีอุปกรณ์ บ้านเด็กไม่มี Wifi ความเข้าใจระหว่างพ่อแม่กับข้อมูลที่ครูชี้แจงคลาดเคลื่อน เนื้อหามีข้อผิดพลาด ฯลฯ ร้อนถึงหน่วยงานที่รับผิดชอบอย่าง “กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) และ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)” ต้องรีบออกมาแถลงทำความเข้าใจกับผู้ปกครอง

ทว่ายิ่งออกมาอธิบายถึงแนวทางการแก้ไขปัญหามากเท่าใด? กลับสะท้อนให้เห็นถึงการเตรียมพร้อมของระบบการเรียนออนไลน์ที่ยังไม่สมบูรณ์มากเท่านั้น เพราะต่อให้ยอมรับได้ว่าทุกอย่างเป็นเรื่องใหม่ เป็นครั้งแรกของระบบการศึกษาไทยที่จัดทำขึ้นในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่เสมือนสพฐ.จะไม่ได้คำนึงถึงความแตกต่างของครอบครัว ความเหลื่อมล้ำที่หยั่งรากลึกของสังคมไทย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง
159029897462

เพราะสภาพความเป็นจริงในโรงเรียนที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานกว่า 30,000 โรง มีเด็กอยู่ในระบบเกือบ 7 ล้านคน แต่ละคนมาจากพื้นฐานครอบครัวแตกต่างกัน บางโรงเรียนเต็มไปด้วยเด็กที่มาจากครอบครัวที่พร้อมทุกอย่าง ขณะที่บางโรงเรียนต้องดูแลเด็กครอบครัวยากจน เด็กด้อยโอกาส เด็กห่างไกล เด็กในพื้นที่ทุรกันดาร

เมื่อต้องมาใช้ระบบการเรียนทางไกลผ่านดาวเทียมหรือ DLTV ของมูลนิธิทางไกลผ่านดาวเทียมในพระบรมราชูปถัมภ์ ถึงจะมีช่องทางในการเรียนทั้งทางทีวีดิจิทัล ช่อง 37-51 ,ทีวีดาวเทียม Ku-Band (จานทึบ) ช่อง 186-200,ทีวีดาวเทียม C-Band (จานโปร่ง) ช่อง 337-351 และเรียนทางออนไลน์ www.dltv.ac.th ,Youtube DLTV1 Channel ถึง DLTV15 Channel และทางมือถือ Application DLTV ก็ใช่ว่าเด็กทุกคนจะเข้าถึงระบบต่างๆ เหล่านี้ได้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

จากการสำรวจครอบครัวของเด็กในสังกัดสพฐ.พบว่าบ้านของเด็ก 1.5 ล้านคน ไม่มีกล่องทีวีดิจิทัล ย้ำชัดว่าเด็กอีกจำนวนมากไม่พร้อมเรียนออนไลน์ และต่อให้สพฐ.มีการเตรียมการแก้ปัญหา โดยหารือกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ในการจัดหาแจกกล่องรับสัญญาณดิจิทัลให้แก่เด็ก ซึ่งกระทรวงดีอีเอส ได้รับปากจะจัดหากล่องรับสัญญาณดิจิทัลให้ถึง 2 ล้านกล่อง แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีความคืบหน้าของครอบครัวที่โชคดีได้รับแจกกล่องรับสัญญาณดิจิทัลแต่อย่างใด

159029897660

ก่อนจะมีการเรียนออนไลน์ “ณัฎฐพล ทีปสุวรรณ" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)” เชื่อว่าครัวเรือนทั่วประเทศไทย 90 % มีทีวี แล้วเด็กจะเรียนออนไลน์ผ่านทีวี แต่เมื่อมีการเรียนออนไลน์จริงๆ เด็ก 50 % ไม่ได้ใช้ทีวีในการเรียนรู้แต่เลือกใช้มือถือ สมาร์ทโฟน ในการดึงสัญญาณผ่านเว็บไซต์ของ DLTV หรือเรียนผ่าน YouTube ปัญหาที่ตามมา คือ ผู้ปกครองต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายอินเตอร์เน็ตเพิ่มเข้ามาอีก

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ปัญหาที่ตามมาก็คือแล้วพ่อแม่ผู้ปกครองที่หาเช้ากินค่ำ หรือได้รับผลกระทบจากโควิด-19 สถานประกอบการปิดตัวลง ถูกเลิกจ้างงาน เงินเดือนเหลือเพียงครึ่งเดียว จะหาเงินจากไหนให้ลูกไปจ่ายค่าเน็ตเรียนออนไลน์

ว่ากันว่า ขณะนี้ ศธ.ได้หารือร่วมกับกระทรวงดีอีเอสเพื่อช่วยเหลือผู้ปกครองในการจ่ายค่าบริการอินเตอร์เน็ต แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เรื่องดังกล่าวต้องนำเข้าคณะรัฐมนตรี ศธ.และกระทรวงดีอีเอสพิจารณาทันทีไม่ได้ อย่างนี้ ได้แต่หวังว่าผู้ใหญ่ของบ้านเมืองจะรีบหารือรีบสรุป เพื่อช่วยเหลือพ่อแม่ผู้ปกครอง และเด็กไทยให้ได้โอกาสเข้าถึงการศึกษาได้อย่างเท่าเทียม

159029897478

ทุกคนต่างเข้าใจดีว่า“การเรียนออนไลน์” เรื่องใหม่แกะกล่องของไทย จนทำให้ปัญหาผุดขึ้นอย่างกับดอกเห็ด แม้ว่า “ศธ. และสพฐ.” ชี้แจงมาตลอดว่าได้วางแนวทางแก้ปัญหาไว้ทุกเรื่อง (ไม่ใช่ว่าเกิดปัญหาแล้วตามแก้) โดยล่าสุด สพฐ.ได้ขอให้สำนักงานเขตพื้นที่ (สพท.)ทุกแห่งได้ลงพื้นที่ติดตามและสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้ปกครองและนักเรียนถึงการเรียนผ่านระบบนี้ด้วย โดยจะต้องลงไปสำรวจเด็กเป็นรายบุคคลและรายโรงเรียนว่าปัญหาจากการทดสอบระบบเหล่านี้มีอะไรบ้าง เพื่อนำไปสู่การแก้ไขให้มีความสมบูรณ์

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาระบบการเรียนออนไลน์ให้สมบูรณ์เต็ม 100 ได้นั้นต้องเกิดการความร่วมมือ บูรณาการร่วมกันทุกฝ่าย ต้องอาศัยความร่วมมือของครู และพ่อแม่ผู้ปกครอง ที่ต้องทำงานประสาน สื่อสาร แลกเปลี่ยน ทำความเข้าใจระบบการเรียนออนไลน์ อันนำไปสู่การช่วยเหลือเด็ก ให้มากขึ้นกว่าการเรียนในห้องเรียนจริง บ้านกลายเป็นห้องเรียน พ่อแม่กลายเป็นครู ครูก็ต้องเป็นพี่เลี้ยงคอยช่วยเหลือนักเรียนและพ่อแม่ในช่วงวิกฤตเช่นนี้

"การเรียนออนไลน์” ถึงจะเป็นเพียงการเตรียมความพร้อม หรือการปรับพื้นฐานไม่ใช่การเรียนปกติ ไม่มีผลต่อการประเมินเด็กใดๆ ทั้งสิ้น และเป็นเจตนาดีของ “ศธ.สพฐ. และทุกหน่วยงานในสังกัดของศธ.” ทีมีเป้าหมายชัดเจนส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนให้เกิดความต่อเนื่อง แต่ด้วยเงื่อนไข ข้อจำกัดหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น พื้นฐานของครอบครัวเด็กแตกต่างกัน ความหลากหลายของโรงเรียน ความพร้อมของครู เด็ก ผู้ปกครอง และบริบทในแต่ละพื้นที่ ทั้งในตัวเมืองและชนบท ส่งผลให้ความคาดหวัง ความฝันที่ตั้งไว้กับการเรียนออนไลน์ เพื่อช่วยเหลือเด็ก กลายเป็นช่องว่างระหว่างครอบครัวเด็กจนและเด็กรวยขยายวงกว้างเข้าไปอีก

159029907441

เห็นได้จากผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) ได้ทำการสำรวจผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ด้านสังคมที่ได้ผ่านทางออนไลน์ ระหว่างวันที่ 13-19 เมษายน ที่ผ่านมา ซึ่งมีผู้ร่วมตอบแบบสอบถาม 43,448 ราย พบว่า ร้อยละ 60 กังวลว่าบุตรหลานไม่พร้อมจะเรียนผ่านทางระบบออนไลน์ สาเหตุหลักที่สร้างความกังวล คือ ไม่มีคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ค แท็บเลต รองลงมาคือ ผู้ปกครองไม่มีเวลาและไม่มีทักษะด้านไอทีในการช่วยเหลือบุตรหลานในการเรียนออนไลน์ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาคือ ไม่มีอินเทอร์เน็ตใช้งาน และเด็กไม่มีทักษะด้านไอที

คงเป็นบทเรียนที่ผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องไปทำการบ้านอย่างหนัก ทบทวนว่าระบบการเรียนออนไลน์ของระบบการศึกษาไทยจะเดินหน้าไปอย่างไร รูปแบบไหนถึงจะเหมาะสมกับลักษณะการเรียนรู้ของเด็กไทยและบริบทของ ครอบครัวไทยอย่างไรถึงจะเหมาะสมมากที่สุด

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 21
  • สลิ่มสมองหมาๆ
    25 พ.ค. 2563 เวลา 07.10 น.
  • เนตไม่มี เนตแพง เนตเน่าช้า
    25 พ.ค. 2563 เวลา 05.14 น.
  • จายเมิงแลง😁😁😁😁
    ผู้ปกครองไม่พร้อม ฐานะทางบ้าน กูถามมึงหน่อยไอ้ตู่ถ้าไม่เกิดวิกฤติโควิด จะมีมั้ยเรียนออนไลน์ มึงไม่พร้อมเลยสักอย่าง ทลึ่งอยากสืบทอดอำนาจ เป็นไงทุกวันนี้ ประชาชนตายสมใจมึงยัง ก๊อปข้อความไปฟ้องมันเลยรออยู่
    25 พ.ค. 2563 เวลา 05.06 น.
  • 😇😇ปี้หนาน😇😇
    นั่งเก้าอี้ ในห้องแอร์ ออกคำสัง ครูรอฟัง ทั้งประเทศ เขตสยาม เป็นคำสั่ง รมต. ต้องทำตาม ไม่เคยถาม ความพร้อม ของชุมชน เด็กต่างคน ต่างถิ่น ต่างพื้นที่ ท่านคิดว่า มีทีวี ทุกแห่งหน ผู้ปกครอง ไม่ได้มี เน็ตทุกคน บ้างก็จน ไม่มีแม้ กระแสไฟ ลองออกจาก ห้องแอร์ ที่ท่านนั่ง แล้วไปยัง บ้านที่เด็ก อยู่อาศัย บางครอบครัว ยังไม่รู้ กินอะไร แล้วจะใช้ เรียนออนไลน์ ยังไงกัน
    25 พ.ค. 2563 เวลา 04.59 น.
  • Antimoon
    หัวเรือพังพินาศ​ ถามจริงพึ่งได้หรอ​ 🐃🐃🤣🤣🤣
    25 พ.ค. 2563 เวลา 04.57 น.
ดูทั้งหมด