ไลฟ์สไตล์

‘ไม่มีใครหรอก ที่เกิดมาเพื่อกลายเป็นคนขี้เหยียด’ - เพจ Beautiful Madness by Mafuang

TOP PICK TODAY
เผยแพร่ 03 มิ.ย. 2563 เวลา 08.49 น. • เพจ Beautiful Madness by Mafuang

 

 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

‘ฉันอายนะ ที่ต้องแชร์สีผิวร่วมกับคนพวกนี้’

ท่ามกลางเหตุการณ์ความวุ่นวายของเหตุการณ์ Racism หรือการเหยียดชาติพันธุ์ที่กำลังลุกลามเลือดร้อนอยู่ในอเมริกาตอนนี้

นี่เป็นคำพูดของโฮสต์มัมชาวผิวขาว หรือแม่อุปถัมภ์ของเราตอนไปเรียนแลกเปลี่ยนที่อเมริกาเมื่อ 11 ปีที่แล้ว เธอบอกเราอย่างขมขื่น

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

 

 

มันง่ายมากที่จะโจมตีว่าคนไหนเป็นผู้ร้าย และคนไหนเป็นพระเอกผ่านการมองแค่สีผิว

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

พวก white supremacist หรือพวกที่เชื่อว่าคนผิวขาวมีค่าเหนือกว่ามนุษย์ทั่วไป

ก็จะบอกว่า ตัวเองเนี่ยแหละคือฮีโร่ ปกป้องชาติให้ ‘ขาวสะอาด’ ให้ประเทศของตัวเองดีขึ้น โดยจัดการลดค่าคนผิวอื่น/ศาสนาอื่น เพราะเชื่อว่าเขามีความเป็นมนุษย์น้อยกว่า

ในขณะเดียวกัน

อาจมีบางคนที่โจมตี ‘คนขาวทุกคน’ ว่าใจร้าย บ้าอำนาจ ซึ่งเราพิสูจน์มาหลายปีที่ใช้ชีวิตอยู่ในอเมริกาแล้วว่ามันไม่เป็นอย่างนั้นเลย คนขาวทุกคนที่เรารู้จัก ใจดีและน่ารัก ‘กับโลกนี้เสมอ’

(และเอาจริง ปัญหาระดับชาติเกี่ยวกับสีผิว จะให้ผู้มีผิวดำออกมาประท้วงอย่างเดียว เสียงมันไม่ดังพอหรอก ต้องอาศัยพลังจากคน ‘ผิวสีอื่น’ มากมายที่มาทำให้คุณค่าของเสียงที่ไม่ค่อยมีคนฟัง ดังขึ้น)

 

 

จริงๆ แล้ว สิ่งที่เป็นปัญหา คือ ‘เชื้อร้าย’ ที่หยั่งรากลึกอยู่ในใจของคน

ไม่ว่าจะมีรูปร่างภายนอกลักษณะเป็นอย่างไรต่างหาก

 

 

ความเชื่อเรื่อง ‘คุณค่าของคนมีไม่เท่ากัน และชีวิตของฉันมีค่ากว่าชีวิตของกลุ่มคนอื่น’

หล่อหลอมขึ้นมาได้ด้วยการปลูกฝังจากคนในครอบครัว, วัฒนธรรม/บรรยากาศจากสังคมโดยรอบ, และสื่อที่เขาคนนั้นเลือกเสพย์ (เช่น ภาพยนตร์ต่างๆ ที่ชอบใช้นักแสดงผิวดำเล่นเป็นอันธพาล)

 

 

ก่อนหน้าการเสียชีวิตของจอร์จ ฟลอยด์, มีวัยรุ่นผู้หญิงอเมริกันคนขาวคนหนึ่งชื่อ เอมี่ คูเปอร์ เธอพาน้องหมาของเธอไปเดินเล่นโดนไม่ใช้สายจูงในสวนสาธารณะที่มีกฎว่า สุนัขทุกตัวต้องมีสายจูงเพื่อความปลอดภัย

มีชายผิวดำคนหนึ่งขอร้องอย่างสุภาพให้เธอใส่สายจูงกับน้องหมาของเธอได้มั้ย

เธอโกรธมากและโทรหาตำรวจพร้อมบอกว่า ‘ช่วยด้วยค่ะ มีผู้ชายแอฟริกัน-อเมริกันคนหนึ่งขู่จะทำร้ายดิฉัน!’

 

ทำไมประเด็นนี้ถึงสำคัญถึงแม้ชายผิวดำคนนั้นไม่ได้โดนทำร้ายอะไร?

เพราะมันคือความเชื่อของ ‘คนผิวขาว’ ว่า คนผิวดำนั้นมักโดนป้ายสีไปอยู่ในหมวด ‘อาชญากร’ และเธอได้ใช้ ‘อภิสิทธิ์ชนในการเป็นคนขาว’ ของเธอ ปกป้องอีโก้ของตัวเอง เพราะรู้ว่า ‘คนผิวดำอีกฝ่าย’ จะต้องได้รับโทษแน่นอนไม่ว่าเขาจะผิดหรือไม่ เธอรับรู้ความโหดร้ายที่เกิดขึ้นนี้กับชนกลุ่มน้อยต่างๆ ในโลก แต่แทนที่เธอจะใช้ความอภิสิทธิ์ชนของเธอ เป็นกระบอกเสียงเปลี่ยนความผิดให้เป็นถูก เธอกลับใช้อำนาจที่เธอมีสิทธิ์นั่งอยู่บนบังลังก์แห่งความไร้มลทินนั้น ทำร้ายใครก็ตาม ‘ที่ทำให้เธอไม่ถูกใจ’

เหตุการณ์นี้ทำให้ผู้คนมากมาย ตระหนักและสะท้อนกับตัวเองว่า พวกเราสอนลูกของเราดีพอรึยังถึงค่าของมนุษย์ทุกคน และไม่ให้โตมาเป็นเด็กขี้เหยียดแบบนี้

 

 

‘ไม่มีใครเกิดมาเพื่อเกลียดกันและกันเพียงเพราะสีผิว, พื้นเพของครอบครัว, หรือเพียงเพราะศาสนา ผู้คนต่างเรียนรู้ที่จะ ‘เกลียด’

และหากทุกคนเรียนรู้ที่จะ เกลียด ได้

พวกเขาก็สามารถเรียนรู้ที่จะ รัก ได้เหมือนกัน

เพราะ ความรัก นั้นเกิดขึ้นตามธรรมชาติในหัวใจของมนุษย์ง่ายกว่าความเกลียดมากนัก’

เนลสัน แมนเดล่า ผู้นำในตำนานแห่งแอฟริกาใต้เคยกล่าวไว้

 

 

 

ปี 1971 ในเมืองออสติน รัฐเท็กซัส,อเมริกา

สมัยที่โรงเรียนเปลี่ยนจากการแบ่งแยกเด็กผิวขาว เด็กผิวดำ และเด็กเม็กซิกัน

และเพิ่งเปิดให้เด็กทุกคนจากทุกเชื้อชาติเรียนร่วมกันเป็นครั้งแรก

เริ่มแรกเด็กทะเลาะกัน ชกต่อยบ่อยมาก จนมีศาสดราจารย์คนหนึ่งจากมหาวิทยาลัยเท็กซัสชื่อ อีเลียต อรุนสัน เข้ามาช่วยดูแล เขาสร้างกิจกรรมชื่อ ‘ห้องเรียนจิ๊กซอว์’

โดยแบ่งกลุ่มนักเรียน กลุ่มละ 6 คน ทุกคนมีหน้าที่แตกต่างกันไปในการหาข้อมูลจากคำใบ้ เพื่อ

ประกอบกันเป็นคำตอบที่สมบูรณ์ ระหว่างกิจกรรม เด็กๆ ทั้งหลายเริ่มตั้งใจฟังเสียงจากทุกฝ่าย และให้เกียรติกันและกันมากขึ้น เด็กๆ ค่อยๆ เรียนรู้ว่า

‘ทุกคน ไม่ว่าจะมีลักษณะยังไง มีความสำคัญเท่ากันหมด เหมือนทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน’ และทำให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ empathy หรือความสามารถในการเห็นอกเห็นใจอีกฝ่ายอย่างลึกซึ้ง

 

 

 

หนังอีกเรื่อง ที่ตรึงอยู่ในใจของเรา คือ Green Book

ที่คว้ารางวัลออสการ์มาแล้ว

หนังเล่าถึงชายผิวขาวคนหนึ่งที่มีความอคติกับคนผิวดำ

จนวันหนึ่งจับพลัดจับผลูต้องมาทำงานร่วมกับคนผิวดำ

และความมหัศจรรย์แห่งมิตรภาพก็เกิดขึ้น

‘เมื่อเราได้สัมผัสหัวใจของกันและกันอย่างลึกซึ้ง มันก็ง่ายขึ้นที่จะรับรู้ว่า เราทั้งคู่ก็มีความเป็นมนุษย์ไม่ต่างกันออกไปเลย’

 

อ้างอิง:

หนังสือเรียน Social Psychology, Ninth Edition เขียนโดย Elliot Aronson, Timothy D. Wilson, Robin M. Akert, Samuel R. Sommers

ติดตามบทความใหม่จากเพจ Beautiful Madness by Mafuang ได้บน LINE TODAY ทุกวันอังคาร

ความเห็น 9
  • ผมคิดว่าถ้าคนเรานั้นมีจิตสำนึกที่ดีๆให้ต่อกันแล้ว ผมเชื่อว่ายังไงก็สามารถที่จะช่วยทำให้ลดกับในปัญหาต่างๆที่จะเกิดขึ้นตามมาได้เหมือนกันนะครับ.
    03 มิ.ย. 2563 เวลา 11.00 น.
  • Punch
    คนทุกคนเท่ากัน มีสิทธิ์ เสรีภาพเหมือนกัน ไม่ว่าจะ เชื้อชาติไหน ภาษา ศาสนา และสีผิวอะไรค่ะ
    04 มิ.ย. 2563 เวลา 02.36 น.
  • ʝʊռɢ_աɨռ
    ถ้าไม่กระแดะหลอกตัวเอง ทุกคนก็มีเหยียดคนอื่นทั้งนั้น
    04 มิ.ย. 2563 เวลา 12.48 น.
  • ประวิทย์ ตั้งกระจ่าง
    สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นแดนเกิดมีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึงอาศัยเป็นทายาทแห่งกรรม..สัตว์โลกมีกรรมเป็นเครื่องรึงรัดเหมือนลิ่มสลักที่ขันยึดรถที่แล่นไปอยู่.....ขี้เกียจหรือไหม...พิจารณาด้วย.
    03 มิ.ย. 2563 เวลา 21.50 น.
  • number 11
    ไม่แคร์กุรวย​ ปากหมาในที่ของกุระวังพรุน​
    03 มิ.ย. 2563 เวลา 12.26 น.
ดูทั้งหมด