ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

'คนกรุง' มีภาระหนี้ 'บ้าน' มากสุด

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ - Economics
เผยแพร่ 24 ต.ค. 2561 เวลา 01.45 น.

ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ร่วมกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับหนี้สินครัวเรือนในกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ 1,171 คน (วันที่ 24-28 ส.ค.2561) พบว่าสาเหตุอันดับแรกที่คนกรุงเป็นหนี้มาจากการซื้อบ้าน ส่วนใหญ่กู้จากธนาคารพาณิชย์ บริษัทไฟแนนซ์/ลิสซิ่ง แต่มีถึง 15.3% ที่กู้เงินนอกระบบ

ผลสำรวจสะท้อนว่ามาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ เช่น สินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับของกระทรวงการคลัง (สินเชื่อพิโก) และสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพ ภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย (นาโนไฟแนนซ์) ซึ่งคิดดอกเบี้ยสูงถึง 36% ต่อปี ไม่ได้เป็นการช่วยเหลือผู้บริโภคอย่างแท้จริง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

คนกรุงมีข้อมูลไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจเข้าสู่มาตรการแก้ไขปัญหาของภาครัฐ โดยเฉพาะคลินิกแก้หนี้ที่มีเกณฑ์เข้มงวดซับซ้อน ซึ่งหากปรับแก้ไขก็จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของ "ลูกหนี้" ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 3
  • สุรเดช ด่านชาญจิตต์
    ควบคุมดอกเบี้ยแบ็งค์เพื่อซื้อบ้านที่ 1.5% ถือว่าเหมาะสมที่สุดครับ รัฐบาลทุกรัฐบาลควรเข้ามาควบคุมได้แล้วครับ
    24 ต.ค. 2561 เวลา 05.48 น.
  • Kangwan
    ดูราคาบ้านกทม.เดี๋ยวนี้สิซื้อแทบไม่ได้ราคาทาวโฮมก็ปาเข้าเกือบ2ล้านละไม่ต้องบ้านหรูอะไรเลย
    24 ต.ค. 2561 เวลา 10.33 น.
  • เป็นเพราะไทยส่งเสริมวัฒนธรรมการเป็นหนี้จนซึมซับพฤติกรรมดังกล่าว และมีการถ่ายทอดวัฒนธรรมการเป็นหนี้จากรุ่นสู่รุ่นและสนุกไปกับการฟังเพลง "ชีวิตนี้ใช้หนี้อย่างเดียว" เพื่อปลอบใจตัวเอง การเข้าสู่วังวนของหนี้สินทั้งชีวิตของคุณจะต้องทำงานรับใช้เจ้าหนี้ไปตลอดชีวิตการทำงาน ลองเปลี่ยนพฤติกรรมเสียใหม่ที่ไม่เอาเงินในอนาคตมาใช้ วันนี้มีไม่เหมือนเขา มีไม่เท่าเขา แต่ถ้าคุณอดทน อดออม คุณจะหลุดพ้นจากบ่วงหนี้ ไม่ต้องทำงานรับใข้เจ้าหนี้ ถึงตอนนั้นคุณต้องมีมากกว่าเขาอย่างแน่นอน
    24 ต.ค. 2561 เวลา 05.44 น.
ดูทั้งหมด