ไลฟ์สไตล์

แชร์ภาพถ่ายหอไอเฟลที่ตอนกลางคืนผิดกฏหมายจริงเหรอ?

Thaiware
อัพเดต 19 ต.ค. 2562 เวลา 10.00 น. • เผยแพร่ 19 ต.ค. 2562 เวลา 10.00 น. • moonlightkz
การแชร์ภาพถ่ายของหอไอเฟลตอนกลางคืน หมายถึงภาพที่ถูกถ่ายตอนกลางคืน ไม่ใช่แชร์ภาพตอนที่ฟ้ามืดแล้ว ผิดกฏหมาย?

แชร์ภาพหอไอเฟลตอนกลางคืน ละเมิดลิขสิทธิ์จริงเหรอ?

มีเรื่องหนึ่งที่นักท่องเที่ยวผู้เดินทางไปเที่ยงประเทศฝรั่งเศสมักจะได้รับการเตือนอยู่บ่อยๆ นั่นก็คือ"อย่าแชร์ภาพถ่ายหอไอเฟลที่ถ่ายตอนกลางคืนนะ มันผิดกฎหมาย" อนึ่ง ไม่ได้หมายความว่าแชร์ภาพหอไอเฟลตอนกลางคืนผิดกฎหมาย แต่ถ้าแชร์ตอนกลางวันจะถูกกฎหมายนะ คนละความหมายกัน ภาษาไทยมันดิ้นเก่ง ผู้พูดหมายถึงว่า การเผยแพร่ถ่ายภาพหอไอเฟลตอนกลางคืนขณะที่หอเปิดไฟอยู่ต่างหาก ที่มีสิทธิ์ผิดกฎหมาย คำถามก็คือ แชร์ภาพหอไอเฟลตอนกลางคืนจะโดนฟ้องอย่างที่เขาว่าจริงหรือไม่?

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

หอไอเฟลเป็นแลนด์มาร์คอันโดดเด่นของเมืองปารีส ในประเทศฝรั่งเศส ในแต่ละวันปีมีนักท่องเที่ยวหลายล้านคนที่เดินทางไปเยี่ยมชมหอคอยแห่งนี้ แน่นอนว่าใครที่ไปเยือนก็จะต้องถ่ายภาพหอไอเฟลเก็บไว้กันน่าจะทุกคนล่ะเนอะ เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าครั้งหนึ่งฉันเคยมาเยือนสถานที่แห่งนี้แล้วนะ

แชร์ภาพถ่ายหอไอเฟลที่ตอนกลางคืนผิดกฏหมายจริงเหรอ?
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง


ภาพจาก https://pixabay.com/images/id-2000717/

เวลาที่เราค้นหารูปภาพหอไอเฟลจากพวกหนังสือนำเที่ยว หรือเว็บไซต์ท่องเที่ยว หรือตามเว็บแจกภาพ หากสังเกตดีๆ จะพบว่าเป็นเรื่องยากมากที่เราจะได้เห็นภาพของหอไอเฟลในยามค่ำคืน (เสิร์ชก็เจอบ้างแหละ แต่ส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นหอไอเฟลจำลองที่มีการสร้างเลียนแบบอยู่หลายแห่ง) ส่วนใหญ่ภาพที่ถูกนำมาใช้จะเป็นภาพหอไอเฟลตอนกลางวันเสียส่วนใหญ่ เรื่องนี้มีเหตุผลของมันอยู่ นั่นก็คือ ปัญหาด้านลิขสิทธิ์

หอไอเฟลตอนกลางวันเป็นสถานที่สาธารณะ แต่ไฟที่หอไอเฟลเปิดตอนกลางคืนถือเป็นผลงานศิลปะที่มีลิขสิทธิ์คุ้มครองอยู่

หอไอเฟลกับกฎหมายลิขสิทธิ์ที่แสนซับซ้อน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ว่ากันด้วยกฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศฝรั่งเศสเสียก่อน ที่นั่นเขาให้อำนาจคุ้มครองแก่ผู้สร้างสรรค์ผลงานต้นฉบับในการขาย หรือทำซ้ำ ซึ่งสิ่งก่อสร้างอย่างหอไอเฟลก็นับเป็นเหมือนผลงานศิลปะชิ้นหนึ่งที่เราเห็นในพิพิธภัณฑ์ลูฟ 

ตามหลักของประเทศสมาชิกกลุ่มสหภาพยุโรปแล้ว กฎหมายลิขสิทธิ์จะให้อำนาจคุ้มครองแก่ผู้สร้างไปอีก 70 ปี หลังจากที่เจ้าของลิขสิทธิ์เสียชีวิต สำหรับหอไอเฟลเป็นผลงานขอ อาเลกซ็องดร์ กูสตาฟว์ แอแฟล (Alexandre Gustave Eiffel) วิศวกร และสถาปนิกชาวฝรั่งเศส ผู้เป็นปรมาจารย์ในด้านการก่อสร้างด้วยเหล็ก ซึ่งตัวเขาได้เสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1923 นั่นก็คือ หอไอเฟลจะได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ต่อไปอีก 70 ปี นั่นก็คือ ปี ค.ศ. 1993 จากนั้นหอไอเฟลก็จะกลายเป็นสมบัติสาธารณะที่ไม่ว่าใครก็มีอิสระในการสร้างเลียนแบบได้ เราถึงได้เห็น หอไอเฟลในลาสเวกัสที่สร้างขึ้นในปี 1999 หรือในจีนเมื่อปี 2007 ก็มีการสร้างขึ้นที่เมือง Sky City (ด้านล่างนี้ภาพซ้ายคือหอไอเฟลในประเทศจีน ส่วนภาพขวาคือของเดิมในปารีส)

แชร์ภาพถ่ายหอไอเฟลที่ตอนกลางคืนผิดกฏหมายจริงเหรอ?

ภาพจาก https://www.indiatoday.in/lifestyle/travel/story/eiffel-tower-to-versailles-there-is-paris-in-china-and-everything-is-eerily-similar-1265376-2018-06-20

อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ. 1985 หอไอเฟลในปารีสได้มีการตกแต่งด้วยไฟกว่า 20,000 ดวง ซึ่งไฟเหล่านี้ถูกออกแบบการติดตั้งโดย Pierre Bideau แน่นอนว่า "การออกแบบไฟบนหอไอเฟล" ได้รับการคุ้มครองโดยลิขสิทธิ์ด้วยเช่นกัน (เป็นลิขสิทธิ์ของ Société d’Exploitation de la Tour Eiffel (SETE))

ดังนั้นการนำภาพถ่าย หรือวิดีโอของหอไอเฟลที่เปิดไฟอยู่ไปใช้โดยไม่ได้ขออนุญาตก่อนจึงนับเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ แม้แต่การถ่ายภาพในเชิง Freedom of panorama โดยติดหอไอเฟลยามค่ำคืนมาด้วยก็ถือว่านับเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ได้

Freedom of panorama คืออะไร?

Freedom of panorama คือ ข้อกำหนดที่อนุญาตให้ช่างภาพ หรือคนทั่วไป สามารถถ่ายภาพตึก, ภาพศิลปะ, ประติมากรรม หรืออนุสาวรีย์ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่สาธารณะได้ ถึงแม้ว่าสิ่งเหล่านั้นจะได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์อยู่ก็ตาม

แปลว่าการแชร์ภาพหอไอเฟลยามค่ำคืนผิดกฎหมาย?

มาถึงคำถามสำคัญ ว่าสรุปเราถ่ายได้หรือไม่ได้กันแน่ ก่อนอื่นต้องบอกว่าถ่ายน่ะถ่ายได้อยู่แล้ว ของใหญ่โตขนาดนั้น จะไปห้ามไม่ให้ถ่ายได้อย่างไร แต่ประเด็นที่สำคัญที่สุด คือนำไปใช้หรือเผยแพร่ต่อได้หรือไม่?

ตามกฎใหม่ที่ทางฝรั่งเศสได้ประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2016 ได้อนุญาตให้สามารถถ่ายภาพแบบ Freedom of panorama ได้แล้ว แต่มีข้อแม้ว่า ภาพ หรือวิดีโอที่ถูกบันทึกจะเป็นการใช้งานแบบส่วนตัวเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้แสวงหาผลกำไรต่อได้

ดังนั้น ไม่ต้องกังวลว่าหากถ่ายหอไอเฟลตอนกลางคืน แล้วแชร์ลง Facebook, Instaram ฯลฯ จะถูกฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์ ตราบใดที่เราไม่เอาภาพที่ถ่ายได้ไปใช้หารายได้ผ่านช่องทางอื่นๆ อย่างเช่น ขายภาพต่อให้เว็บไซต์ขายภาพ 

อันที่จริง ไม่ใช่แค่หอไอเฟลเท่านั้น ที่อยู่ภายใต้กฎข้อคุ้มครองนี้ สถานที่สำคัญต่างๆ ส่วนใหญ่ก็ถือคุ้มครองด้วยกฎนี้เช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น พีระมิดลูฟวร์, รูปปั้นนางเงือกริมอ่าวโคเปนเฮเกนประเทศเดนมาร์ก, Atomium sculpture อาคารในกรุงบรัสเซลส์ประเทศเบลเยียม ฯลฯ เป็นต้น

สรุปอีกที การถ่ายภาพหอไอเฟลตอนกลางคืน จะถ่ายเล่น, ถ่ายจริงจัง หรือจะเซลฟี่แล้วลง Social network สามารถทำได้โดยไม่ผิดกฎหมาย แต่อย่าเอารูปไปหารายได้ต่อก็แล้วกัน ไม่งั้นโดนฟ้องขึ้นมา เดี๋ยวจะงานเข้าเสียเปล่าๆ

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 7
  • ศักดิ์ ดา
    สรุปถ่ายภาพหอไอเฟล ตอนกลางคืนขณะเปิดไฟ ถ่ายได้ฯส่งต่อได้ฯ แต่ห้ามนำไปแสวงประโยชน์ทางการค้าฯ เพราะมีลิขสิทธิ์เกี่ยวกับการแสดงแสงสียามค่ำคืน ถ้าห้ามไปหมดทุกเรื่องฯจะทุบหม้อข้าวตัวเองเปล่าๆ
    19 ต.ค. 2562 เวลา 12.33 น.
  • ViP
    อ่านสรุปคือจบ
    19 ต.ค. 2562 เวลา 12.37 น.
  • M
    เคยไปแต่จะไม่ไปอีกหอไอเฟลตามทางเดินสกปรกมากๆมีแต่หมากฝรั่งเต็มถนนอาหารก็ไม่อร่อยของก็แพง
    19 ต.ค. 2562 เวลา 17.56 น.
  • 👑A🐒d🐣d
    อ่านซะเยอะ สรุปได้ถ้าไม่ใช่การค้า อืมโชคดีถ่ายมาไม่ได้เอาไปขายใคร 555
    20 ต.ค. 2562 เวลา 02.00 น.
  • TT
    ป้อมบอกตอบได้ทุกเรื่อง ล่าสุดถามเรื่องขึ้นเงินเดือนนายพล ป้อมตอบ"ไม่รู้"....555
    21 ต.ค. 2562 เวลา 00.56 น.
ดูทั้งหมด