ทั่วไป

ครม. อนุมัติร่างกฎ ก.พ. ให้ข้าราชการอายุเกิน 60 รับราชการต่อ หวังแก้ปัญหาขาดแคลนบุคลากร

THE STANDARD
อัพเดต 22 พ.ค. 2562 เวลา 05.42 น. • เผยแพร่ 22 พ.ค. 2562 เวลา 05.41 น. • thestandard.co
ครม. อนุมัติร่างกฎ ก.พ. ให้ข้าราชการอายุเกิน 60 รับราชการต่อ หวังแก้ปัญหาขาดแคลนบุคลากร

ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวานนี้ (21 พ.ค.) มีการสรุปสาระสำคัญอยู่หลายประเด็น โดยหนึ่งในประเด็นที่น่าสนใจคือการผ่านร่างกฎ ก.พ. ให้ข้าราชการที่มีอายุครบ 60 ปีสามารถรับราชการต่อไป เพื่อบรรเทาปัญหาความขาดแคลนบุคลากรในสาขาที่เป็นภารกิจสำคัญของรัฐ รวมถึงรองรับปัญหาการเข้าสู่สังคมสูงวัย

 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เมื่อวานนี้ (21 พ.ค.) หลังการประชุมคณะรัฐมนตรี โดยมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ได้มีการอนุมัติหลักการร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับต่อไป

 

โดยมีสาระสำคัญอยู่ที่ร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ยังคงหลักการเดิมตามกฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป พ.ศ. 2552

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

 

ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 108 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ที่กำหนดให้การรับราชการต่อไปเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่อายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ผู้นั้นต้องเป็นผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ หรือระดับทรงคุณวุฒิ หรือตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโส หรือระดับทักษะพิเศษ แต่ให้สามารถนำระยะเวลาที่เคยดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับเชี่ยวชาญ หรือระดับทรงคุณวุฒิ หรือตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโส หรือระดับทักษะพิเศษ แล้วแต่กรณี ซึ่งต่อเนื่องกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปีมาใช้เป็นคุณสมบัติในการพิจารณาให้รับราชการต่อไปได้

 

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

โดยตำแหน่งที่จะให้รับราชการต่อไปนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นตำแหน่งที่ผู้นั้นครองอยู่เดิม แต่ต้องไม่เป็นการกำหนดตำแหน่งเพิ่มใหม่ เพื่อบรรเทาปัญหาความขาดแคลนบุคลากรในสาขาที่เป็นภารกิจสำคัญของรัฐ และเพื่อรองรับปัญหาการเข้าสู่สังคมสูงวัย จึงได้เสนอร่างกฎ ก.พ. ซึ่งได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมในประเด็นดังกล่าว

 

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

*อ้างอิง: *

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 147
  • ดำเนิน
    ควรลดอายุเกษียรเหลือ 50 ด้วยซ้ำ เพื่อเปิดทางให้เด็กรุ่นใหม่ไฟแรงเข้ามาทำงาน ส่วนคนรุ่นเก่าควรหยุดพักผ่อนไปเลี้ยงหลาน
    23 พ.ค. 2562 เวลา 05.59 น.
  • pawarit
    ปัจจุบัน เทคโนโลยีใหม่ๆ ความรู้ใหม่ๆเกิดขึ้นตลอดเวลา ตำรา หรืองานวิจัยที่ใช้อ้างอิงกันมาก่อนนี้ หล้าหลังตกยุคทันที การนำข้าราชการระดับเชี่ยวชาญ ระดับทรงคุณวุฒิ ในสาขาที่ว่าขาดแคลน ให้ยังอยู่ในระบบต่อไปยิ่งฉุดประเทศชาติให้อยู่กับทีและล้าหลังลงไปเรื่อยๆ เพราะต่อยอดมาจากตำราเดิม ความรู้เดิมๆคำว่า สาขาที่ขาดแคลนในปัจจุบัน ผมว่า ในคนรุ่นเก่าเหล่านี้ ไม่มีแน่ๆโดยเฉพาะเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น สาขาปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งต้องอาศัยมันสมองของเด็กรุ่นใหม่ๆทั้งนั้น
    22 พ.ค. 2562 เวลา 14.28 น.
  • Ker The Kop
    แก่ๆเน่าๆ เกาะเก้าอี้แน้น คนที่จะเข้าทำยังมีอีกเยอะ กะตายคาเก้าอี้ไอพวกเดกนาย
    22 พ.ค. 2562 เวลา 12.41 น.
  • K.325.🙍
    พวกนี้เงินเดือนเยอะนะ เปลืองงบเปล่า? เงินเดือนท่านคนเดียว จ้างเด็กใหม่ได้ 2-3 คน ท่านอยู่ไปๆๆ อายุพ้นเกณท์เสียภาษี หวานเลย
    22 พ.ค. 2562 เวลา 12.36 น.
  • แม่เรือง
    แล้วคนรุ่นใหม่จะไปทำมาหากินอะไรอุตส่ารำ่เรียนกันจนหน้าดำเค่งเครียดผลสุดท้ายไปให้คนแก่ทำงานต่อครูตำรวจทหารแพทย์พยาบาลก็เข้ายากเข้าเย็นเวลาไปสอบไปเป็นหมื่นเอาไม่กี่คนแล้วก็มาบอกว่าขาดบุคลากรก็ทำไมไม่รับเขาเข้าทำงานเร่าคนนะความสามารถไม่ห่างกันหลอก
    22 พ.ค. 2562 เวลา 11.00 น.
ดูทั้งหมด