SMEs-การเกษตร

พยาบาล ไม่มีความสุขในการทำงาน คิดลาออกจากอาชีพ ร้อยละ 70.8

เส้นทางเศรษฐี
อัพเดต 21 ม.ค. 2566 เวลา 19.04 น. • เผยแพร่ 21 ม.ค. 2566 เวลา 02.04 น.

พยาบาล ไม่มีความสุขในการทำงาน คิดลาออกจากอาชีพ ร้อยละ 70.8

วิกฤต COVID-19 ที่ผ่านมา นับเป็นประสบการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ที่ทำให้ทุกคนบนโลกต้องปรับตัวในการดำเนินชีวิตในแทบทุกด้าน เช่นเดียวกับ วิชาชีพพยาบาล ที่ต้องพบรอยสะดุดจากความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เนื่องจากการทำงานที่ต้องสัมผัสกับผู้ป่วย อีกทั้งยังต้องประสบกับภาวะต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานจนมีความคิดจะลาออก ซึ่งกลายเป็นปรากฏการณ์เกือบทั่วโลก

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

รศ.ดร.รักชนก คชไกร อาจารย์ประจำภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย ได้เปิดเผยถึงผลสำรวจวิจัยจากพยาบาลวิชาชีพกว่า 2,000 รายทั่วประเทศไทยเมื่อประมาณ 3 ปีที่ผ่านมา ก่อนช่วงวิกฤต COVID-19 พบว่า มีพยาบาลวิชาชีพที่ประสบปัญหาจากการทำงานจนมีความคิดจะลาออกถึงร้อยละ 70.8

ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่พบคล้ายคลึงกันเกือบทั่วโลก โดยสาเหตุส่วนใหญ่ เกิดจากความไม่พึงพอใจความเหมาะสมของสิ่งแวดล้อมในการทำงาน อาทิ ที่ประเทศโปแลนด์ สำรวจพบ พยาบาลวิชาชีพที่ประสบปัญหา จนมีความคิดจะลาออกถึงร้อยละ 50 ในขณะที่ทางแอฟริกาใต้พบร้อยละ 55

รศ.ดร.รักชนก ชี้ว่า สาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งที่ทำให้พยาบาลวิชาชีพไทยต้องประสบปัญหาจากการทำงานจนมีความคิดจะลาออก เนื่องจากไม่มีความสุขในการทำงาน การขาดอัตรากำลัง ประกอบกับสถานการณ์การเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ของประชาชนไทยมีมากขึ้น ทำให้ภาระงานหนักมากเกินไป

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

แม้ที่ผ่านมาจะมีการส่งเสริมสุขภาวะ แต่เมื่อได้พิจารณาถึงภาระงานของพยาบาลวิชาชีพไทย พบว่า พยาบาลบางแห่งต้องปฏิบัติหน้าที่มากที่สุดถึง 12 เวรต่อสัปดาห์ บางรายขาดการพักผ่อนที่เพียงพอจนถึงขั้นประสบอุบัติเหตุขับรถหลับใน

จากนโยบายที่ผ่านมา แม้จะมีการให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมสุขภาวะทางกาย และสุขภาวะทางปัญญา แต่ยังไม่ค่อยเด่นชัดในเรื่องการส่งเสริมที่ครอบคลุมสุขภาวะด้านจิตใจ

ซึ่งทางออกสำคัญที่ รศ.ดร.รักชนก ได้นำเสนอเพื่อลดปัญหาดังกล่าว ได้แก่ การสร้างสภาวะแวดล้อมที่ดีในการปฏิบัติงาน โดยการลดเครียดจากการปฏิบัติงาน การลดภาระที่เกินจำเป็นนอกเหนือจากการใช้ทักษะทางวิชาชีพ การเพิ่มความปลอดภัยในทำงาน และการให้ค่าตอบแทนที่สมเหตุผล

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

นอกจากนี้ จากการสำรวจที่ผ่านมา ยังพบรอยสะดุดสำคัญ จากการยอมรับความเป็นอิสระในการปฏิบัติงานทางวิชาชีพ ซึ่งหากได้รับการแก้ไขโดยส่งเสริมให้เกิดเอกสิทธิ์ หรืออิสระทางวิชาชีพในการปฏิบัติงาน ก็จะสามารถเพิ่มความมั่นคงทางวิชาชีพมากขึ้นได้

คุณภาพชีวิตที่ดี จะนำไปสู่ผลการปฏิบัติที่ดี วิชาชีพพยาบาลไม่ได้เป็นเพียง “ผู้ดูแล” แต่จำเป็นต้องได้รับการดูแลทั้งสุขภาวะทางกาย สุขภาวะใจ และสุขภาวะทางปัญญา เช่นเดียวกับวิชาชีพอื่นๆ เพื่อให้เกิดความสมดุลในการดำเนินชีวิต ลบรอยสะดุด และทำให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนาวิชาชีพต่อไป

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 6
  • Mossi
    เอาจริงนะ คือคุณพยายาลเค้างานหนักมาก เเต่รายได้เค้าอ่ะ มันไม่สมกับการที่หนักหนาขนาดนี้ คุณควรเพิามเงินเดทอนให้บุคคลากรทางการแพทย์ให้สมกับสิ่งที่เค้าทำ เค้าจะได้มีคุณภาพชีวิตต่างๆที่ดีขึ้นอย่างน้อยเค้าจะรู้ว่างานหนักเเต่ได้อะไรกลับมา
    23 ม.ค. 2566 เวลา 00.15 น.
  • Nick
    เอกชนเงินเดือนจ่ายหนักไม่ใช่เหรอ?
    22 ม.ค. 2566 เวลา 23.31 น.
  • Jaruwat Varodom
    #รร.สอนทำธุรกิจ (ฟรี) : Business Academy (Free) : แนวทางทำธุรกิจรูปแบบต่างๆ การเงิน การลงทุน •ติดต่อ...•Connect) • 089-789 4708 https:// line. me/peGd8 klizu_ , htps:// call.whatsapp.com #Financial finance business investment Consul tant.•เปลี่ยนความคิด=สร้างรายได้ไม่จำกัด. Wisdom Change to growth •(3 ปีสู่อิสระภาพด้านเวลา/การเงิน) : 3 Yrs. To freedom.
    21 ม.ค. 2566 เวลา 12.44 น.
  • m.pongsak
    มีงานไหน บ้าง ที่ทำแล้ว ไม่เหนื่อย ไม่เบื่อ..อยากรู้ จัง ?
    21 ม.ค. 2566 เวลา 05.25 น.
  • BP
    เป็นอาชีพที่เสมอตัวและถูกด่า เท่านั้น
    21 ม.ค. 2566 เวลา 04.33 น.
ดูทั้งหมด