ทั่วไป

ยิ่งแข่ง-ยิ่งฉาบฉวย!! อนาถ.."การศึกษาไทย" จอง ร.ร.ตั้งแต่เด็กยังไม่คลอด

Manager Online
อัพเดต 20 ก.ย 2561 เวลา 12.49 น. • เผยแพร่ 20 ก.ย 2561 เวลา 12.49 น. • MGR Online

เป็นเด็กมันเหนื่อย กดดันยัดเยียดโรงเรียนให้ พ่อแม่คิดหนักต้องจองโรงเรียนอนุบาลให้ลูกตั้งแต่อยู่ในท้อง ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาสับเละการศึกษาตอนนี้คือความสำเร็จอันฉาบฉวย

เด็ก=เหยื่อการศึกษาไทย

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

“สงสารเด็กสมัยนี้จังเลยค่ะ อยู่อนุบาลก็ต้องมาเรียนพิเศษกันแล้ว” หัวข้อกระทู้พันทิปที่ถูกตั้งขึ้น ผ่านสามชิกเว็บไซต์ชื่อ คุณ Miss PERFECT โดยเจ้าของกระทู้ระบุว่า คนรู้จักหลายคน จองโรงเรียนให้ลูกกันตั้งแต่พึ่งคลอด และมีหลายคนให้ลูกเรียน พิเศษเพื่อเตรียมเข้าสาธิต หรือติวเข้าโรงเรียนอื่นกันตั้งแต่อนุบาล

เมื่อการแข่งขันเรื่องการเรียนของเด็กเกิดขึ้นตั้งแต่ยังไม่คลอดออกจากท้องแม่ ยิ่งพ่อแม่มีฐานนะ ยิ่งต้องแข่งขันกันมากขึ้น ความกดดันทั้งหลายจึงดันมาตกที่เด็กต้องแบกรับภาระหน้าที่ในการโดนยัดเยียด ไม่เพียงเท่านี้เด็กในวัยอนุบาลต้องไปเรียนพิเศษอย่างหนักเพื่อที่จะสอบเข้าโงเรียนดัง

การศึกษาไทยดูเหมือนว่ายิ่งแข่งขันยิ่งหลงทางแม้กระทั่งเด็กที่ยังไม่คลอดก็จำเป็นต้องมีโรงเรียน ทีมข่าว MGR Liveจึงติดต่อไปสอบถาม กรองทอง บุญประครอง ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก ในฐานะที่คลุกคลีเกี่ยวกับเด็กมายาวนาน

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

“คนไทยลืมนึกถึงเป้าหมาย เพราะเป้าหมายไม่ชัดเจนว่ากำลังทำอะไรเพื่ออะไร คำว่าการศึกษาคือเพื่อพัฒนาให้มนุษย์เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์สามารถอยู่กับโลกได้ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่าไร สามารถมีคุณค่าต่อตนเองต่อผู้อื่น สังคม ประเทศชาติได้ แต่ไทยไม่ได้คิดอย่างนั้น ไม่ปลูกฝังสิ่งที่เด็กๆควรได้รับ

การศึกษาไทยเรายังมุ่งมั่นเรื่องการไม่เคารพชีวิตเด็ก แล้วมองแค่ว่าเขาเป็นแค่กลจักรหนึ่ง เป็นแค่ฟันเฟืองหนึ่งที่สำคัญที่จะไปช่วยกันประกอบหรือทำให้ประเทศชาติเราเจริญก้าวหน้า ตอนนี้ประเทศเราต้องการคนที่มีอาชีพแบบนี้เข้ามาขับเคลื่อนประเทศ มีความรู้เรื่องนี้มาขับเคลื่อน แต่เด็กยังไม่โต พอโตขึ้นความรู้เหล่านี้ประเทศชาติไม่ได้ต้องการ แล้วใครรับผิดชอบชีวิตเขา แล้วเขาก็ไปทางอื่นไม่เป็นแล้ว “

นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก ยังเสริมอีกว่า ประเด็นเรื่องการเข้าโรงเรียนเป็นระบบการจัดการของผู้ใหญ่ทำไมต้องให้กระทบเด็กตกเป็นเหยื่อของโรงเรียน เรื่องเหล่านี้มีมานานนับสิบๆ ปี

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

“ปัญหามันหนักขึ้นเรื่อยๆ ข้อสอบก็ยากขึ้นเรื่อยๆ เงินที่ต้องอุดหนุนโรงเรียนก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ผลกระทบมันมากกว่านั้น เกิดค่านิยมใหม่ว่าถ้าการเรียนรู้ที่มีคุณภาพเขาต้องสอนให้เด็กแล้วสอบเข้าได้แล้วจะถือว่าโรงเรียนฉันสามารถเอาหน้าเด็กไปขึ้นป้ายไวนิลหน้าโรงรียนได้เขียนชื่อได้ แสดงว่าโรงเรียนมีคุณภาพซึ่งไม่ใช่

พ่อแม่ไม่อยากโทษเพราะเขาไม่ใช่นักการศึกษาเขามีสิทธิ์ที่จะยังไม่เข้าใจ จะโทษนักการศึกษามากกว่า รู้อยู่เต็มออกว่ามันคือสิ่งที่สร้างผลกระทบกับเด็ก ทำไมจึงยังทำอยู่เราเรียกร้องที่จรรยาบรรณไม่พอ จึงจำเป็นต้องเรียกพ.ร.บ.กฏหมายบางอย่างเข้ามาควบคุม

เด็กไม่ได้ต้องการมาวัดหรือประเมินว่าเขาเก่งไม่เก่ง เด็กต้องการแค่โอกาสที่สมองเขาจะลุกขึ้นมาทำงานมาตอบโต้กับสถานการณ์ต่างๆ มาจับสัมผัสแล้วรู้สึกยังไงจะตอบสนองยังไงเห็นถานณการณ์ตรงหน้าเป็นอย่างไรแค่นั้น แม้กระทั่งพ่อแม่เดี๋ยวนี้ ไปติวที่ไหนดีๆ ไม่บอกเพื่อนกลัวเพื่อนไปติวด้วยจึงกลายเป็นคู่แข่ง จะเห็นได้ว่าสังคมเรากำลังบ่มเพาะนิสัยเห็นแก่ตัว นิสัยที่ไม่เอื้ออารีต่อกันให้เกิดขึ้นในตัวเด็กรุ่นใหม่ ไม่แปลกใจที่ทุกวันนี้มันเป็นอย่างนี้จริงๆ”

ดิ้นรนจอง ร.ร. ค่านิยมผิดๆ ในสังคมไทย!!

ยิ่งโตยิ่งเหนื่อยคงใช้ไม่ได้กับสังคมทุกวันนี้ เพราะเด็กที่ยังไม่ออกมาสู่โลกกว้างต้องมีชื่อที่โรงเรียนใดสักแห่งหนึ่ง ที่ไม่รู้ว่าตัวตนที่แท้จริงมีความชอบทางด้านนี้หรือไม่ หากบางครั้งผลลัพธ์ที่ออกมา อาจจะไม่ได้เป็นตามที่พ่อแม่หรือสังคมคาดหวัง

เมื่อการศึกษาไทยติดกับดักของการแข่งขัน สะท้อนถึงการศึกษาในบ้านเราว่ายังขาดในเรื่องคุณภาพที่ทั่วถึง ทีมข่าว จึงติดต่อไปสัมภาษณ์ ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล อาจารย์วิชาการสอนสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะที่คลุกคลีในวงการศึกษามายาวนาน

“ในการจองลูกเข้าอนุบาลเป็นภาพที่ปรากฏให้เห็น มีปัญหาเรื้อรังที่ไม่ถูกแก้ โดดเฉพาะอย่างยิ่ง ปล่อยให้ทุกคนดิ้นรนกันเอง ครอบครัวไหนพร้อมก็ดิ้นรนมากหน่อย ครอบครัวไหนมีเงินก็ส่งลูกไปเรียนโรงเรียนอนุบาลที่มีแววว่าจะสอนเด็กให้สอบเข้าโรงเรียนดังได้ ซึ่งผิดธรรมชาติของการเลี้ยงเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็กต้องเรียน อ่าน เขียน ควรที่จะไปเรียนอย่างมีความสุข

ปัญหาที่สังคมเผชิญมาตลอด30-40ปี นับวันช่องว่างความเลื่อมล้ำด้านคุณภาพการศึกษายิ่งห่างกว้างมากขึ้น เป็นความเชื่อว่าอยากเข้าโรงเรียนมีคุณภาพต้องจ่ายแพง เพราะโรงเรียนสังกัด สพฐ.ทั่วไปที่อาจจะเป็นโรงเรียนขนาดกลาง ขนาดเล็ก คนไม่เชื่อมั่นเรื่องคุณภาพและไม่คิดจะแก้ปัญหา ปล่อยให้อยู่ในวัฒนธรรมหรือโคงสร้างที่ยิ่งด้อยคุณภาพ”

ผศ.อรรถพล ยังเสริมอีกว่า ระบบการศึกษาค่านิยมที่เปลี่ยนไปของสังคมไทยต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนแปลง นิยามความสำเร็จด้านการศึกษาเป็นไปอย่างฉาบฉวยเพราะชื่อสาขามหาวิทยาลัยเป็นตัวตั้ง จริงๆ มันอาจจะไม่ใช่เป้าหมายการศึกษาจริงๆ ของเด็กก็ได้ จึงมีผลอย่างมากในการทำลายเด็ก

“เชื่อว่าการศึกษาคือสิ่งที่ดี ที่จะทำให้เด็กเข้าสู่ความมั่นคงของชีวิตทางด้านเศรษฐกิจ การงาน เพราะฉะนั้นพ่อแม่เขาก็ต้องการลงทุนให้ลูกได้เรียนโรงเรียนที่มีคุณภาพที่สุด แต่คุณภาพโรงเรียนบ้านเราในตอนนี้ก็เกิดคำถามในเรื่องความไม่สม่ำเสมอ โรงเรียนดีมันก็จำกัดอยู่แค่บางโงเรียน มีตราการแข่งขันเข้าสูง เพราะเขาไม่เชื่อเรื่องคุณภาพโงเรียนที่มันจะเข้าถึงและรัฐเองก็ไม่ได้มีท่าทีในการมุ่งมั่นลดช่องว่างในการเลื่อมล้ำความคุณภาพ ก็ปล่อยโรงเรียนที่มีชื่อเสียงได้ดึงเด็กเก่งๆ ต่อไป

เราต่างเป็นเหยื่อของกันและกัน ภายใต้ความคิดว่าการศึกษาคือการแข่งขัน พ่อแม่ก็ติดอยู่ภายใต้ค่านิยมแบบนี้ โรงเรียนก็อยู่ภายใต้ค่านิยมแบบนี้ ต่างคนต่างชี้กันแต่หารู้ไม่ทุกคนติดอยู่กับดักว่าเราต้องจ่ายเพิ่มเพื่อให้มีคุณภาพที่ดี ต้องทำความเข้าใจเรื่องการศึกษาควบคู่กับกฏหมาย”

ดูข่าวต้นฉบับ
ความเห็น 27
  • ช.พิพัฒน์
    มันผิดเมื่อปี2542ที่ปฏิรูปการศึกษาเป็นต้นมา ครูไม่รับรู้การปฏิรูป ครูหลายคนปึก ไม่สอน เพราะ หน่วยเหนือบอกว่า ให้เด็กเรียนตามความต้องการ สอนแบบชายเซนเตอร์ แจกใบงาน เรียนจากครูตู้ อย่าสอนแบบนกแก้ว ครูรับทำตาม ผล เด็กยุคปี42ตอนนี้ย่าจะอายุ30กว่าปี เปนไง ดูเอา เทียบมาเลย์เกาหลี อย่าเทียบสิงคโปร์ ไกลกันมาก การมี สมศ มาประเมิน วางเกณฑ์ ประกันคุณภาพ มึงบ้าให้ครูสร้างขยะ ประกันคุณภาพ เด็กสอบเข้ามหาลัยไม่ได้ เอามาสอนใหม่รึเปล่า เด็กเสพยา รร รับคืนมาอบรมใหม่รึเปล่า ไหนว่าประกันคุณภาพ เบื่อๆ
    20 ก.ย 2561 เวลา 13.46 น.
  • Ran
    พ่อแม่ท่านทราบไหมว่า เกรด4 ที่ลูกท่านได้มานะเป็นความรู้จริงๆเท่าไร ดีใจกับลูกที่ได้เกรด4. แล้วต้องส่งลูกเรียนพิเศษทำไม ระบบอุปถัมป์มันกินลึกไปหมดแล้ว เสียเงินให้ลูกเข้าโรงเรียนดัง แล้วออกมาคุยว่าลูกเก่ง สนับสนุนเงินให้โรงเรียน ลูกได้เกรด4 แต่ความเป็นจริง ลูกได้อะไร ผู้ปกครองได้หน้า. ลูกเป็นภาระสังคม เรื่องจริงๆนะครับ ประสบการณ์ตรงๆ
    20 ก.ย 2561 เวลา 14.21 น.
  • yui
    พ่อแม่มันเว่อร์ไปเอง จริงๆ แล้วถ้ามีเวลากันนะ สอนลูกเองเก่งกว่าอีก คนสมัยปู่ย่าตายาย จบแค่ ป.4 อ่านหนังสือเก่งมาก แต่เด็กสมัยนี้ พอให้อ่าน แบ๊ะๆๆ แต่ถ้าเล่นเกมในมือถือ อย่างพริ้ว รู้หมดกดตรงไหน
    20 ก.ย 2561 เวลา 14.11 น.
  • สมัยนี้สังคมมีทางเลือกการดำเนินชีวิตมากขึ้น จำนวนเด็กไทยที่เกิดใหม่น้อยลง แต่พ่อแม่วิตกจริตกับการแข่งขันในชีวิตของลูกๆมากเกินไป
    20 ก.ย 2561 เวลา 14.16 น.
  • Adireg
    หลงทางกันใหญ่แล้ว จัดการการศึกษาต้อง ดูผลสำเร็จให้มาก ต้องไม่ดูความโก้หรู
    20 ก.ย 2561 เวลา 13.27 น.
ดูทั้งหมด